ประเภทของข้าราชการไทย

905
ประเภทของข้าราชการไทย
ประเภทของข้าราชการไทย

ข้าราชการ คือ บุคคลที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งให้รับราชการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ตามหน่วยงาน และความสามารถ ซึ่งจะมีการรับสมัครข้าราชการแตกต่างกันออกไปตามความต้องการในแต่ละหน่วยงานนั้นๆ โดยส่วนในองค์กรที่บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานอยู่นั้นจะเรียกว่า “ส่วนราชการ” และตัวข้าราชการนั้นจะรับเงินเดือนจากกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ของประเทศไทย

ข้าราชการนั้นเกิดขึ้นมาจาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงวางระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นครั้งแรก โดยให้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกสรรผู้มีความรู้ความสามารถเข้ารับราชการ โดยจะกำหนดให้มีข้าราชการ 3 ประเภท ดังนี้

  1. ข้าราชการพลเรือนสามัญ เป็น ข้าราชการที่ถูกรัฐบาลบรรจุแต่งตั้งไว้ตามระเบียบฯ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ได้แก่
    • ชั้นสัญญาบัตร
    • ชั้นราชบุรุษ
  2. ข้าราชการพลเรือนวิสามัญ เป็น บุคคลที่รัฐบาลจ้างไว้ให้ทำการเฉพาะอย่าง หรือระยะเวลาชั่วคราว ตั้งแต่พ.ศ. 2518เป็นต้นมา เปลี่ยนให้เรียกว่าลูกจ้างประจำ
  3. เสมียนพนักงาน เป็น ข้าราชการชั้นต่ำ ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือนตามอัตราที่ตั้งไว้

ประเภทของข้าราชการไทยในปัจจุบัน

  • ข้าราชการพลเรือน (ข้าราชการพลเรือนสามัญ และข้าราชการพลเรือนในพระองค์)
  • ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
  • ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
  • ข้าราชการทหาร
  • ข้าราชการตำรวจ
  • ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
  • ข้าราชการฝ่ายอัยการ
  • ข้าราชการรัฐสภา
  • ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
  • ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
  • ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  • ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
  • ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
  • ข้าราชการการเมือง
  • ข้าราชการส่วนท้องถิ่น
  • พนักงานอื่นของรัฐ
    • พนักงานรัฐวิสาหกิจ
    • พนักงานราชการ
    • พนักงานมหาวิทยาลัย
    • พนักงานกระทรวงสาธารณสุข
    • พนักงานองค์การมหาชนและองค์การของรัฐอื่นที่ไม่ใช่ส่วนราชการ
    • ลูกจ้างประจำ