20 เรื่อง สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง

1172
20 เรื่อง สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
20 เรื่อง สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
เนื้อหา ซ่อน

สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง คือ

สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง คือ สถานวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย โดยจะมีภารกิจในการประศาสน์วิทยาการทางด้านสังคมจิตวิทยา สงครามการเมือง การปฏิบัติการข่าวสาร แก่ข้าราชการทหาร ตำรวจ พลเรือน พนักงานองค์กรรัฐ และบุคลากรอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยจะมีผู้อำนวยการสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

ประวัติ สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง

กองบัญชาการทหารสูงสุด (กรมเสนาธิการกลาโหมในขณะนั้น) ได้ริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนสงครามจิตวิทยา เพื่อทำการเปิดการศึกษาอบรมให้กับนายทหารผู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานด้านนี้โดยเฉพาะขึ้นเป็นรุ่นแรก (รุ่นพิเศษ) เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2498 และถูกสิ้นสุดลงในวันที่ 27 พฤษภาคม 2498 โดยใช้เวลาศึกษาอบรมรวม 23 วัน ซึ่งมีความมุ่งหมายที่จะให้นายทหารที่จบการศึกษาไปแล้ว สามารถเตรียมการจัดตั้งหน่วยรับผิดชอบดำเนินงานด้านนี้ได้โดยตรง จึงกำหนดให้วันเปิดการศึกษาครั้งแรกของหลักสูตร คือวันที่ 4 พฤษภาคม 2498 เป็นวันสถาปนาหน่วยนั่นเอง

หลังจากนั้นการปฏิบัติการจิตวิทยา ได้มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการปฏิบัติการของฝ่ายเราและฝ่ายตรงข้ามที่ต่างก็ใช้การปฏิบัติการจิตวิทยาอย่างกว้างขวางและได้ผลมาโดยลำดับ จึงจำเป็นที่จะต้องให้ข้าราชการระดับบริหารที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านนี้เข้ารับการศึกษาอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจ และเพื่อให้มีขีดความสามารถในการตอบโต้และปฏิบัติการจิตวิทยาในเชิงรุกแก่ฝ่ายตรงข้าม แต่เนื่องจากทางโรงเรียนสงครามจิตวิทยาไม่สามารถตอบสนองความต้องการของทางราชการได้อย่างเต็มที่เพราะการดำเนินงานกระทำได้ภายในขอบเขตจำกัด ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับวิวัฒนาการด้านวิชาการ และความต้องการของสถานการณ์ในปัจจุบันขณะนั้นทางราชการจึงได้พิจารณาจัดตั้ง “สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง” ขึ้นแทนโรงเรียนสงครามจิตวิทยา โดยถูกกำหนดให้เป็นสถาบันการศึกษาที่ขึ้นตรงต่อกรมยุทธการทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2521

เมื่อในปี พ.ศ. 2525 ได้มีคำสั่งจากกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ 185/25 ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2525 และคำสั่งกองบัญชาการทหารสูงสุด (เฉพาะ) ที่ 71/2526 ลงวันที่ 19 มกราคม 2526 ให้มอบการบังคับบัญชา สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง กรมยุทธการทหาร ขึ้นกับ สำนักงานสารนิเทศ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองบัญชาการทหารสูงสุด โดยจะมีพิธีส่งและรับมอบการบังคับบัญชาขึ้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2526 ดังนั้นสถาบันจิตวิทยาความมั่นคงจึงเป็นหน่วยขึ้นตรงต่อ สำนักงานสารนิเทศ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองบัญชาการทหารสูงสุด นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ต่อมาในวันที่ 29 สิงหาคม 2533 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ กำหนดหน้าที่ของส่วนราชการ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2533 และคำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ 55/34 เรื่องแก้ไขอัตรากองบัญชาการทหารสูงสุด ให้สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง สำนักงานสารนิเทศ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองบัญชาการทหารสูงสุด ให้ขึ้นการบังคับบัญชากับสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2534

หลังจากได้ใช้หลักสูตรการปฏิบัติการจิตวิทยาฝ่ายอำนวยการมานาน ได้ถูกมีการปรับปรุงเนื้อหาวิชามาอย่างต่อเนื่องตามความเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์มาจนถึงปัจจุบัน เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2555 ผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้อนุมัติให้เปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็นหลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง โดยมีการฝึกอบรมปีละ 1 รุ่น ระยะเวลา 22 สัปดาห์ และยังเพิ่มเติมเนื้อหาวิชาการปฏิบัติการข่าวสารในหลักสูตรและมีการฝึกร่วมกับวิทยาลัยเสนาธิการทหาร เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดและสามารถกำหนดแนวทางการการปฏิบัติการข่าวสารได้ โดยจะมุ่งเน้นในเรื่องการปฏิบัติการจิตวิทยาและการประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้สถาบันจิตวิทยาความมั่นคงมีความมุ่งหวังให้นักศึกษาสามารถนำแนวทาง ตามหลักสูตรไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลก่อให้เกิดความมั่นคง และประโยชน์ต่อประเทศไทยให้มากที่สุด

ภารกิจ สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง

สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย มีภารกิจในการประศาสน์วิทยาการทางด้านสังคม จิตวิทยา สงครามการเมือง การปฏิบัติการข่าวสาร แก่ข้าราชการทหาร ตำรวจ พลเรือน ตลอดจนพนักงานองค์กรรัฐ และบุคลากรอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ศึกษาวิจัยและพัฒนาหลักนิยมด้านสังคม จิตวิทยา สงครามการเมือง การปฏิบัติการข่าวสาร ให้เป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงแห่งชาติ โดยมีผู้อำนวยการสถาบันจิตวิทยาความมั่นคงเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

ขอบเขตความรับผิดชอบและหน้าที่สำคัญ

  • พิจารณาเสนอแนะนโยบาย แผนและโครงการเกี่ยวกับการสังคม จิตวิทยา สงครามการเมือง การปฏิบัติการข่าวสารที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ
  • ให้การศึกษาอบรมด้านสังคม จิตวิทยา การปฏิบัติการข่าวสารแก่ข้าราชการทหาร ตำรวจ พลเรือน รัฐวิสาหกิจ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนและบุคคลอื่น ตามนโยบายที่ได้รับ
  • ดำเนินการฝึกอบรมและพัฒนาสัมพันธ์ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
  • ฝึกอบรมพัฒนาสัมพันธ์ระดับสูงให้กับผู้บริหารจากทุกภาคส่วน
  • ดำเนินการวิจัยและพัฒนาด้านการศึกษาที่เกี่ยวกับสังคม จิตวิทยา การปฏิบัติการข่าวสาร ประเมินผลการศึกษา จัดทำสถิติ ทะเบียนประวัติ รายงานผลการศึกษา รายงานเอกสารศึกษาเป็นคณะและงานด้านสารสนเทศ
  • ดำเนินการส่งเสริมให้มีความร่วมมือและประสานการปฏิบัติทางด้านวิชาการปฏิบัติการข่าวสาร โดยเฉพาะการปฏิบัติการจิตวิทยาและการประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง
  • ดำเนินงานเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามแนวทางการศึกษา

สัญลักษณ์ สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง

สัญลักษณ์สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง คือเข็มจิตวิทยาความมั่นคง มีลักษณะเป็นรูปโล่ซ้อนทับบนคบเพลิง พื้นโล่จะแบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วยสีดำ สีเทาและสีขาว โดยเป็นรูปจักรมีสมอขัดในจักรด้านซ้ายขวามีรูปปีกนกกางล้อมรอบทั้งหมดนี้ด้วยช่อชัยพฤกษ์ ซ้อนทับตรงกลางโล่ และยังมีแพรแถบสีทองเป็นแผ่นครึ่งวงกลมมีตัวอักษรบาลีเขียนไว้ว่า “สจฺเจนาลิกวาทินํ”

ความหมายของส่วนประกอบแต่ละส่วนมีดังนี้

  • คบเพลิง หมายถึง ความรู้ ความรุ่งเรือง เจริญก้าวหน้า
  • รูปโล่ หมายถึง เกราะป้องกันอันตราย
  • สีดำ หมายถึง แหล่งของการโฆษณาชวนเชื่อที่ปกปิด
  • สีเทา หมายถึง แหล่งของการโฆษณาชวนเชื่อที่คลุมเครือ
  • สีขาว หมายถึง แหล่งของการโฆษณาชวนเชื่อที่เปิดเผย
  • จักร หมายถึง เป็นสัญญาลักษณ์ของกองทัพบก
  • สมอ หมายถึง เป็นสัญญาลักษณ์ของกองทัพเรือ
  • ปีกนกกาง หมายถึง เป็นสัญญาลักษณ์ของกองทัพอากาศ
  • ช่อชัยพฤกษ์ หมายถึง กองบัญชาการกองทัพไทยเป็นหน่วยรวมการบังคับบัญชา อำนวยการและประสานกิจการของกองทัพทั้งสาม
  • อักษรคำบาลี สจฺเจนาลิกวาทินํ พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง

คำขวัญ สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง

“สจฺเจนาลิกวาทินํ” พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง

ปรัชญา สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง

การปฏิบัติการจิตวิทยา นำพาสู่ความมั่นคงของชาติ

วิสัยทัศน์ สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง

เป็นองค์กรชั้นนำ ในการประศาสน์วิทยาการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ ด้านการปฏิบัติการข่าวสาร เพื่อความมั่นคงของชาติ

ปณิธาน สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง

มุ่งผลิตนักปฏิบัติการข่าวสาร ให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงของชาติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนกองการศึกษา สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง

กองการศึกษา มีหน้าที่เตรียมการและดำเนินการจัดการศึกษาหลักสูตรของสถาบัน ประเมินผลและรายงานผลการศึกษา แบ่งส่วนราชการออกเป็น

  • แผนกแผนการศึกษา มีหน้าที่เสนอแนะนโยบาย วางแผนโครงการ แผนการฝึก แผนการศึกษาอบรม การศึกษาดูงานภายในประเทศและต่างประเทศ
  • แผนกเตรียมการ มีหน้าที่ด้านงานธุรการต่างๆ เตรียมการดำเนินกรรมวิธี และดำเนินการเกี่ยวกับการเปิด – ปิดการศึกษา เป็นที่ปรึกษาและประสานงานการปฏิบัติในกิจกรรมของนักศึกษา
  • แผนกประเมินผล มีหน้าที่จัดทำสถิติ ทะเบียนประวัติของนักศึกษาในหลักสูตรของสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง ติดต่อประสานงานวิทยากรผู้บรรยาย รายงานผลการศึกษาเป็นส่วนรวม ประเมินผลนักศึกษาหลังจบการศึกษาไปแล้ว ประเมินผลหลักสูตร ประเมินอาจารย์

ส่วนกองวิทยาการ สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง

กองวิทยาการ มีหน้าที่ดำเนินการวิจัยและพัฒนาหลักนิยมการปฏิบัติการข่าวสาร สังคมจิตวิทยาและสงครามการเมือง ส่งเสริมให้มีความร่วมมือและประสานการปฏิบัติการด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ การเผยแพร่วิทยาการของหน่วย แบ่งส่วนราชการออกเป็น

  • แผนกวิจัยและพัฒนาหลักนิยม มีหน้าที่วิจัยและพัฒนาหลักนิยม กำหนดหลักสูตรการศึกษา ในเรื่องการปฏิบัติการข่าวสาร สังคมจิตวิทยาและสงครามการเมือง และอื่นๆตามผู้บังคับบัญชามอบหมาย
  • แผนกเอกสารศึกษาและสารสนเทศ มีหน้าที่ดำเนินการด้านเอกสารศึกษา จัดเก็บรักษา เผยแพร่ รวมทั้งวิเคราะห์พัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการประชาสัมพันธ์

ส่วนกองสนับสนุน สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง

กองสนับสนุน มีหน้าที่ในการธุรการ การสารบรรณ การกำลังพล การสถิติและทะเบียนประวัติการบริการและสนับสนุน การรักษาความปลอดภัย

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการศึกษา หลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการศึกษา หลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. คุณสมบัติทั่วไป
    • ไม่ติดราชการจำเป็นหรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่อื่นใด โดยเฉพาะการเดินทางไปราชการทั้งในประเทศและต่างประเทศในระหว่างการศึกษาหลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง
    • ไม่อยู่ในระหว่างการศึกษา/อบรมในสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และ/หรือทำกิจกรรมในหลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง
    • มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เป็นโรคที่ขัดต่อการศึกษา
    • สำหรับสุภาพสตรีต้องไม่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์
    • มีความรู้ภาษาอังกฤษดี
    • ได้รับความไว้วางใจเข้าถึงเอกสารชั้นความลับ “ลับมาก”
  2. คุณสมบัติเฉพาะ จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
    • นายทหารชั้นสัญญาบัตร-
      • อายุไม่เกิน 54 ปีบริบูรณ์นับถึงปีเข้ารับการศึกษา
      • มีชั้นยศตั้งแต่ พ.ท., น.ท., ขึ้นไป สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
      • หรือสำเร็จการศึกษาหลักสูตรเสนาธิการจากโรงเรียนเสนาธิการเหล่าทัพ หรือเทียบเท่า หรือปฏิบัติหน้าที่ ในกองฝ่ายอำนวยการ หรือบุคคลที่หน่วยมีแผนบรรจุให้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการปฏิบัติการข่าวสาร
    • นายตำรวจชั้นสัญญาบัตร
      • อายุไม่เกิน 54 ปีบริบูรณ์นับถึงปีเข้ารับการศึกษา
      • ต้องมีชั้นยศ พ.ต.อ.ขึ้นไป สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาของทหาร หรือพลเรือนทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือสำเร็จการศึกษาหลักสูตรเสนาธิการ จากโรงเรียนเสนาธิการเหล่าทัพ หรือหลักสูตรผู้กำกับ
    • ข้าราชการพลเรือน หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
      • อายุไม่เกิน 54 ปีบริบูรณ์นับถึงปีเข้ารับการศึกษา
      • ข้าราชการ ระดับชำนาญการพิเศษ (ระดับ 8 เดิม) หรือเทียบเท่าขึ้นไป
        • สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าขึ้นไป
        • ทำหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไปที่เกี่ยวกับประชาชน และสื่อมวลชน หรืองานด้านฝ่ายอำนวยการอื่น ๆ
    • ภาคเอกชน
      • ผู้ที่องค์กรเอกชนตามกฎหมายหรือองค์กรเอกชนซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไป ได้คัดสรรตามกฎเกณฑ์ที่องค์กร นั้นได้วางไว้แล้วเสนอชื่อมา
      • สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรี หรือเทียบเท่าขึ้นไป
      • อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 54 ปีนับถึงปีเข้ารับการศึกษา
      • เป็นผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงาน ซึ่งมีประสบการณ์ด้านการจัดการและบริหารองค์กร
      • ประกอบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและมีสถานภาพมั่นคง
      • มีจิตสาธารณะสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์และสังคม
      • มีจรรยาบรรณในการประกอบกิจการ ไม่เคยประพฤติเสียหายทางด้านธุรกิจ ด้านสังคม กฎหมาย
      • เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

การกรอกข้อมูลสมัคร สวจ. สำหรับข้าราชการทหาร

การกรอกข้อมูลในการสมัครสำหรับข้าราชทหารการจะมีดังนี้

  • กรอกข้อมูลในใบสมัคร
  • จัดกระดาษตามรูปแบบที่ถูกต้อง
  • ปริ้นเอกสาร ตรวจสอบข้อมูล
  • ลงลายมือชื่อ เพื่อรับรองเอกสาร
  • สแกนเอกสาร ที่ลงลายมือชื่อแล้ว

ขั้นตอนการลงทะเบียนออนไลน์ สำหรับข้าราชการทหาร

  1. ไฟล์เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการสมัครเข้ารับการศึกษา ดังนี้
    • ใบสมัครขอเข้ารับการศึกษาที่ลงลายมือชื่อแล้ว
    • สำเนาบัตรประชาชน/บัตรประจำตัวข้าราชการ พร้อมลงลายมือชื่อสำเนาถูกต้อง
    • สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมลงลายมือชื่อสำเนาถูกต้อง
    • สำเนาปริญญาบัตร หรือ สำเนาใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) พร้อมลงลายมือชื่อสำเนาถูกต้อง
    • ไฟล์ภาพถ่ายสี .JPEG ขนาด 480×640 pixels พื้นหลังสีขาว หน้าตรงไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตา ชุดสุภาพ
    • ใบรับรองแพทย์ (จากสถานพยาบาลของรัฐ)
    • สำเนาทะเบียนรถยนต์(กรณีนำมาจอดในพื้นที่ระหว่างศึกษา)เพื่อทำบัตรผ่านเข้า – ออก พร้อมลงลายมือชื่อสำเนาถูกต้อง
  2. เข้าเว็บไซต์ของทางสถาบันและเลือกหลักสูตรที่ต้องการสมัคร
  3. กดลงทะเบียนออนไลน์
  4. ทำตามขั้นตอนที่กำหนด

การกรอกข้อมูลสมัคร สวจ. สำหรับภาคเอกชน

การกรอกข้อมูลในการสมัครสำหรับภาคเอกชนการจะมีดังนี้

  • การกรอกข้อมูล
  • กรอกข้อมูลใน
  • ใบสมัคร
  • แบบตรวจสอบประวัติบุคคล (รปภ.1)
  • หนังสือขอเข้ารับการศึกษา
  • หนังสือรับรองและคำรับรอง
  • จัดกระดาษตามรูปแบบที่ถูกต้อง
  • ปริ้นเอกสารทั้ง 4 ฉบับ ตรวจสอบข้อมูล
  • ลงลายมือชื่อ เพื่อรับรองเอกสาร
  • สแกนเอกสารทั้ง 4 ฉบับ ที่ลงลายมือชื่อแล้ว แยกเป็น 4 ฉบับ

การกรอกข้อมูลสมัคร สวจ. สำหรับภาคเอกชน

  1. ไฟล์เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการสมัครเข้ารับการศึกษา ดังนี้
    • ใบสมัครขอเข้ารับการศึกษาที่ลงลายมือชื่อแล้ว
    • แบบตรวจสอบประวัติบุคคล (รปภ.1)ที่ลงลายมือชื่อแล้ว
    • หนังสือขอเข้ารับการศึกษาที่ลงลายมือชื่อแล้ว
    • หนังสือรับรองและคำรับรองที่ลงลายมือชื่อแล้ว
    • สำเนาบัตรประชาชน/บัตรประจำตัวข้าราชการ พร้อมลงลายมือชื่อสำเนาถูกต้อง
    • สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมลงลายมือชื่อสำเนาถูกต้อง
    • สำเนาปริญญาบัตร หรือ สำเนาใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) พร้อมลงลายมือชื่อสำเนาถูกต้อง
    • ไฟล์ภาพถ่ายสี .JPEG ขนาด 480×640 pixels พื้นหลังสีขาว หน้าตรงไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตา ชุดสุภาพ
    • ใบรับรองแพทย์ (จากสถานพยาบาลของรัฐ)
    • สำเนาทะเบียนรถยนต์(กรณีนำมาจอดในพื้นที่ระหว่างศึกษา)เพื่อทำบัตรผ่านเข้า – ออก พร้อมลงลายมือชื่อสำเนาถูกต้อง
    • สำเนาหนังสือจดทะเบียน บริษัท พร้อม ลงลายมือชื่อสำเนาถูกต้อง
  2. เข้าเว็บไซต์ของทางสถาบันและเลือกหลักสูตรที่ต้องการสมัคร
  3. กดลงทะเบียนออนไลน์
  4. ทำตามขั้นตอนที่กำหนด

การกรอกข้อมูลสมัคร สวจ. สำหรับข้าราชการพลเรือน

การกรอกข้อมูลในการสมัครสำหรับข้าราชการพลเรือนจะมีดังนี้

  • กรอกข้อมูลใน
  • ใบสมัคร
  • หนังสือขอเข้ารับการศึกษา
  • จัดกระดาษตามรูปแบบที่ถูกต้อง
  • ปริ้นเอกสารทั้ง 2 ฉบับ ตรวจสอบข้อมูล
  • ลงลายมือชื่อ เพื่อรับรองเอกสาร
  • สแกนเอกสารทั้ง 2 ฉบับ ที่ลงลายมือชื่อแล้ว แยกเป็น 2 ฉบับ

ขั้นตอนการลงทะเบียนออนไลน์ สำหรับข้าราชการพลเรือน

  1. ไฟล์เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการสมัครเข้ารับการศึกษา ดังนี้
    • ใบสมัครขอเข้ารับการศึกษาที่ลงลายมือชื่อแล้ว
    • หนังสือขอเข้ารับการศึกษาที่ลงลายมือชื่อแล้ว
    • สำเนาบัตรประชาชน/บัตรประจำตัวข้าราชการ พร้อมลงลายมือชื่อสำเนาถูกต้อง
    • สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมลงลายมือชื่อสำเนาถูกต้อง
    • สำเนาปริญญาบัตร หรือ สำเนาใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) พร้อมลงลายมือชื่อสำเนาถูกต้อง
    • ไฟล์ภาพถ่ายสี .JPEG ขนาด 480×640 pixels พื้นหลังสีขาว หน้าตรงไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตา ชุดสุภาพ
    • ใบรับรองแพทย์ (จากสถานพยาบาลของรัฐ)
    • สำเนาทะเบียนรถยนต์(กรณีนำมาจอดในพื้นที่ระหว่างศึกษา)เพื่อทำบัตรผ่านเข้า – ออก พร้อมลงลายมือชื่อสำเนาถูกต้อง
  2. เข้าเว็บไซต์ของทางสถาบันและเลือกหลักสูตรที่ต้องการสมัคร
  3. กดลงทะเบียนออนไลน์
  4. ทำตามขั้นตอนที่กำหนด

ติดต่อ สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง

ติดต่อสถาบันจิตวิทยาความมั่นคงได้ที่ 62 อาคารสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง ในบริเวณสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ถนนวิภาวดีรังสิต เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400