รวม 20 เรื่อง วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

1767
รวม 20 เรื่อง วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
รวม 20 เรื่อง วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
เนื้อหา ซ่อน

1.วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า คือ 

วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า คือ สถาบันผลิตแพทย์ทหารแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ถูกก่อตั้งเป็นสถาบันแพทยศาสตร์ลำดับที่ 7 ของประเทศ โดยจะดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรมแพทย์ทหารบก และดำรงสถานะสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล

2.ประวัติวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า 

วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (วพม.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2518 ด้วยพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระกระแสพระบรมราชาโชวาทในคราวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงดนตรี ณ หอประชุมราชแพทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2516 เหตุเพราะความจำเป็นที่ทางราชการทหารจะต้องจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นเอง เพื่อที่จะได้ผลิตบัณฑิตแพทย์ที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่กองทัพละประเทศชาติ ผลผลิตของ วพม.นั้น ได้ปฏิบัติหน้าที่และผลงานต่างๆ ไว้มากมายทั้งภายในและภายนอกประเทศที่เป็นประโยชน์และนำมาซึ่งชื่อเสียงแก่กองทัพและประเทศชาติ

3.วิสัยทัศน์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า 

” โรงเรียนแพทย์ชั้นนำในเอเชียที่เชี่ยวชาญ ด้านเวชศาสตร์ทหาร “

4.พันธกิจ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า 

จัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตแพทย์ที่มีคุณภาพระดับสากล ผลิตผลงานวิจัยระดับนานาชาติที่มีมาตรฐานสูง โดยเฉพาะด้านเวชศาสตร์ทหาร สร้างสรรค์บริการทางวิชาการที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย และแบบธรรมเนียมทหาร 

5.คำขวัญ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า 

” วิชายอด  วินัยเยี่ยม  เปี่ยมคุณธรรม “

6.ค่านิยม วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า 

  • สามัคคี มีวินัย ใส่ใจผู้เรียน ผลงานเป็นเลิศ 
  • สามัคคี : มุ่งเน้นบุคคลากร 
  • มีวินัย : ภาวะผู้นำ ความซื่อสัตย์ ระบบเกียรติศักดิ์ จรรยาบรรณวิชาชีพ 
  • ใส่ใจผู้เรียน : มุ่งเน้นผู้เรียน ใช้ข้อมูลในการทำงาน ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ มุ่งเน้นอนาคต สร้างสรรค์นวัตกรรม และความคล่องตัว 
  • ผลงานเป็นเลิศ : มุ่งเน้นผลลัพธ์ 

7.ตราสัญญาลักษณ์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า 

ตราสัญญาลักษณ์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า คือ พระมหาพิชัยมงกุฎสีทอง เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระมหากษัตริย์ มีรัศมี 17 แฉกล้อมแสดงถึงความรุ่งโรจน์กึ่งกลางพระมหาพิชัยมงกุฎมีเครื่องหมายอุณาโลม 

ผู้ออกแบบ คือ พันเอกหญิง ศาสตราจารย์ทิพย์ ศรีไพศาล พันเอก สุชินทร์ แหลมทอง และข้าราชการเวชนิทัศน์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า 

8.เพลงประจำวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า 

  • อินทนิล และ แพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า 
  • ดอกไม้ประจำวิทยาลัย 
  • ดอกอินทนิล 
  • สีประจำวิทยาลัย 

9.ที่อยู่ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า 

วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าตั้งอยู่ที่ 317 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

10.สิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการกีฬา

  • สนามฟุตบอลหญ้าเทียม
  • สนามเทนนิส
  • สระว่ายน้ำ
  • โรงพลศึกษา
  • Fitness room

11.หอพักใน วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า 

สำหรับนักเรียนแพทย์ที่ต้องการจะอยู๋ประจำในวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า จะมีการจัดหอพักไว้ให้ 2 หอ และยังมีอาคารกองการปกครอง ที่มีโรงประกอบเลี้ยง เพื่อจัดทำอาหารให้ นพท. สำหรับ ปี 2 – 3 วันละ 3 มื้ออีกด้วย

12.สิทธิที่จะได้รับขณะกำลังศึกษาและเมื่อจบการศึกษา 

  • นักเรียนแพทย์ทหาร (นพท.) มีสภาพเป็นนักเรียนทหารของกองทัพบก มีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่านักเรียนนายร้อย (นนร.) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 
  • นักเรียนแพทย์ทหารชายจะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร ตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 และนักเรียนแพทย์ทหารหญิงก็จะได้รับการบรรจุรับราชการตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 หากได้รับบรรจุเข้าสังกัดกองทัพ 
  • นักเรียนแพทย์ทหารได้รับการจัดสถานที่พัก เครื่องนอน เครื่องแต่งกาย เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง อุปกรณ์การเรียน การรักษาพยาบาล และสิทธิอื่นๆ ตามที่ทางราชการกำหนด 
  • นักเรียนแพทย์ทหารเข้าศึกษาโดยไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียน และค่าหน่วยกิตใดๆ ทั้งสิ้นตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 จนจบการศึกษา ทั้งนี้ตามที่ระเบียบวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้ากำหนดไว้ในแต่ละปี 
  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้ามีทุนการศึกษาให้กับนักเรียนแพทย์ทหารที่มีผลการเรียนดี หรือที่มีปัญหาทางด้านการเงิน 
  • เมื่อจบการศึกษาจะได้รับพระราชทานปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมหิดล ในกรณีสำเร็จการศึกษาและบรรจุเข้ารับราชการทหาร จะได้รับพระราชทานกระบี่พร้อมกับนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (เฉพาะเพศชาย) 
  • นักเรียนแพทย์ทหาร ทุนกองทัพบกจะได้รับพระราชทานยศเป็นนายทหารสัญญาบัตร (ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี) และบรรจุเข้ารับราชการเป็นแพทย์ทหารในสังกัดกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ หรือกองบัญชาการทหารสูงสุด
  • นักเรียนแพทย์ทหาร ทุนสาธารณสุข หากไม่ได้รับบรรจุเป็นแพทย์ทหารเข้าสังกัดกองทัพ จะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นแพทย์สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เช่นเดียวกับแพทย์ที่จบจากสถาบันพลเรือนอื่นๆ
  • ผู้ที่มีผลการเรียนดีตลอดหลักสูตร มีทุนกองทัพบกสนับสนุนให้ไปศึกษาต่อเพิ่มเติม ณ ต่างประเทศ

13.การรับบุคคลเข้าศึกษา วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า 

การรับบุคคลเข้าศึกษา วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า นั้นสามารถติดตามข่าวสารและสมัครได้ที่เว็บไซต์ http://www.pcm.ac.th/

14.คุณสมบัติ การรับสมัคร

คุณสมบัติ ของการสมัครเข้าเป็นนักเรียนแพทย์ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า มีดังนี้

  • คุณสมบัติต้องผ่านตามเกณฑ์การรับสมัคร ของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย
  • อายุไม่เกิน 20 ปี
  • คะแนนสอบ O-NET
  • คะแนนสอบ 9 วิชาสามัญ
  • มีคุณสมบัติเพิ่มเติมตามเกณฑ์การเป็นนักเรียนแพทย์ทหาร หรือนักศึกษาแพทย์ (นพท.) ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าที่กำหนดเอาไว้
  • ชาย ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 160 เซนติเมตร น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 50 กิโลกรัม
  • หญิง ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 40 กิโลกรัม

15.เครื่องแบบนักเรียนแพทย์ทหาร

เครื่องแบบนักเรียนแพทย์ทหารจะมีทั้งหมด 10 ช

  1. เครื่องแบบปกติขาว
  2. เครื่องแบบปกติกากีแกมเขียวคอแบะ
  3. เครื่องปบบปกติกากีแกมเขียวคอพับ
  4. เครื่องแบบปกติกากีนวลแกมเขียวคอพับ
  5. เครื่องแบบฝึก
  6. เครื่องแบบสนาม
  7. เครื่องแบบครึ่งยศ
  8. เครื่องแบบเต็มยศ
  9. เครื่องแบบสโมสร
  10. เครื่องแบบชุดปฏิบัติงาน แบบ ก และ ข

16.การเรียนการสอนวิชาแพทย์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

การเรียนการสอนวิชาแพทย์ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 

  • ชั้นเตรียมแพทย์ (ปี 1) ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้นิสิตเตรียมแพทย์ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าศึกษาที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นระยะเวลา 1 ปี การศึกษาจะอยู่ในความรับผิดชอบตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ชั้นปรีคลินิก (ปี 2-3) จะมีการจัดการเรียนการสอน ณ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (เดิมการเรียนการสอนใช้สถานที่สถาบันพยาธิวิทยา กรมแพทย์ทหารบก ในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า) เป็นเวลา 2ปีก่อน
  • ชั้นคลินิก (ปี 4-6) จะใช้สถานที่ของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เป็นเวลา 3 ปี 

17.การฝึกวิชาทหารและเวชศาสตร์ทหาร 

การฝึกวิชาทหารและเวชศาสตร์ทหารจะมีการจัด “วิชาทหาร”และ “เวชศาสตร์ทหาร” ไว้ในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต ดังนี้ 

  • การฝึกพื้นฐานทางการทหาร เป็นการฝึกวินัยทหารทั่วไป บุคคลท่ามือเปล่า บุคคลท่าอาวุธ วิชาอาวุธศึกษา วิชาแผนที่และเข็มทิศ โดยฝึกวินัยทหารทั่วไปและบุคคลท่ามือเปล่าที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ส่วนบุคคลท่าอาวุธ วิชาอาวุธศึกษา วิชาแผนที่และเข็มทิศ จะทำการฝึกที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (รร.จปร.) 
  • ทักษะทางการแพทย์ในสนามรบ เป็นการสอนการจัดกำลังพลของหมวดเสนารักษ์ การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บในสนามรบ ทบทวนการฝึกพื้นฐาน ฝึกการซุ่มโจมตีและเล็ดลอดหลบหนี โดยเรียนภาคทฤษฎีที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า และฝึกภาคสนามที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 
  • ปฏิบัติการเพชราวุธ เป็นการสอนในรายวิชา “เวชปฏิบัติการยุทธ” เป็นการฝึกการจัดการบริการสายแพทย์ในระดับหน่วยและระดับกองพล ภายใต้สถานการณ์จำลองการรบต่างๆทั้งกลางวันและกลางคืน เป็นเวลาติดต่อกัน72ชั่วโมง เพื่อให้นักเรียนแพทย์ทหารได้ฝึกฝนและสัมผัสกับประสบการณ์การจัดหน่วย การดูแลผู้ป่วย และการส่งกลับผู้บาดเจ็บในสนามรบ ทั้งการใช้เปลสนาม รถพยาบาล รถศัลยกรรมเคลื่อนที่ และการส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศด้วยเฮลิคอปเตอร์ 

18.วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ภาควิชา ชั้นปรีคลินิก 

วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ภาควิชา ชั้นปรีคลินิก ได้แก่

  • ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ 
  • ภาควิชาชีวเคมี 
  • ภาควิชาสรีรวิทยา 
  • ภาควิชาเภสัชวิทยา 
  • ภาควิชาจุลชีววิทยา 
  • ภาควิชาพยาธิวิทยา 
  • ภาควิชาปรสิตวิทยา 
  • ภาควิชาเวชศาสตร์ทหารและชุมชน 

19.วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ภาควิชา ชั้นคลินิก

วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ภาควิชา ชั้นคลินิก ได้แก่

  • ภาควิชาอายุรศาสตร์ 
  • ภาควิชาศัลยศาสตร์ 
  • ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ 
  • ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา 
  • ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ 
  • ภาควิชาจิตเวชและประสาทวิทยา 
  • ภาควิชาวิสัญญีวิทยา 
  • ภาควิชารังสีวิทยา 
  • ภาควิชาจักษุวิทยา 
  • ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา 
  • ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน 
  • ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู 
  • ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว 

20.ติดต่อ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า