ความรู้พื้นฐานในงานฝ่ายอํานวยการ

2152
iTestNine100_191002_0009
iTestNine100_191002_0009

ฝ่ายอํานวยการ คือ ผู้ที่จะทําหน้าที่ช่วยเหลือผู้บังคับบัญชาให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างราบรื่น และสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างสมบูรณ์ รวมถึงการให้ข้อมูลข่าวสาร ประสานงาน วิเคราะห์ข้อมูล และให้ข้อเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชาในการตกลงใจเพื่อการปฏิบัติงานในภารกิจใดๆก็ตาม โดยการจัดทําแผนหรือคําสั่ง และการดําเนินการให้แผนหรือคําสั่งไปถึงมือผู้ปฏิบัติได้ทันต่อเวลา เพื่อสามารถปฏิบัติตามแผน หรือคําสั่งของผู้บังคับบัญชาได้อย่างถูกต้องตรงตามความต้องการหรือวัตถุประสงค์นั้นๆ ทั้งยังมีหน้าที่คอยติดตามกํากับดูแลปฏิบัติงานแทนผู้บังคับบัญชา เพื่อช่วยให้ผู้บังคับบัญชาสามารถทราบสถานการณ์ หรือปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติภารกิจได้อีกด้วย

ประเภทของฝ่ายอํานวยการ

ประเภทของฝ่ายอํานวยการ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

  1. ฝ่ายอํานวยการประสานงาน หรือฝ่ายอํานวยการหลัก คือ ฝ่ายอํานวยการที่คอยรับผิดชอบงานอํานวยการหลักของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ 5 สายงาน ได้แก่ งานกําลังพล, งานข่าว, งานแผนงานและยุทธศาสตร์, งานส่งกําลังบํารุง และงานชุมชนมวลชนสัมพันธ์ ในการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายอํานวยการประสานงานหรือฝ่ายอํานวยการหลักนั้นจะต้องเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้บังคับบัญชาในการตกลงใจในการปฏิบัติงาน โดยการให้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการให้ข้อเสนอแนะการจัดทําแผน และการกํากับดูแลการบริหารของหน่วยงานอันได้แก่ กําลังพล งบประมาณ สิ่งอุปกรณ์ และระเบียบวิธีการปฏิบัติงาน ได้ถูกใช้ไปอย่างเป็นประโยชน์สูงสุด และจะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้อย่างสมบูรณ์ สามารถแก้ป้ญหาที่เกิดขึ้นใน สังคม ชุมชน หรือพื้นที่รับผิดชอบได้อย่างถูกต้องและทันต่อเวลา
  2. ฝ่ายอํานวยการพิเศษ คือ ผู้ที่รับผิดชอบในการคอยช่วยเหลือผู้บังคับบัญชาด้วยการปฏิบัติงานในหน้าที่ ที่ต้องการความชํานาญเฉพาะด้าน ตามสาขาวิชาชีพเทคนิค และงานในหน้าที่อื่นๆ ที่ถึงแม้จะมีขอบเขตน้อยกว่าหน้าที่ของฝ่ายอํานวยการประสานงานหรือฝ่ายอํานวยการหลัก แต่จะมีลักษณะเฉพาะเจาะจงกว่า และยังมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเรื่องเทคนิคด้านต่างๆ เช่น การสื่อสาร การประมวลผลข้อมูลฯลฯ การให้ความช่วยเหลือต่อผู้บังคับบัญชาของฝ่ายอํานวยการพิเศษ การให้ข้อมูลข่าวสาร และข้อเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเทคนิค
  3. ฝ่ายอํานวยการประจําตัว คือ ผู้ที่ต้องรับผิดชอบการให้ความช่วยเหลือผู้บังคับบัญชาในเรื่องกิจการเฉพาะนั้นๆ หรืองานในหน้าที่พิเศษ ได้แก่ ตําแหน่งนายเวร หรือนายตํารวจประจําสํานักงานผู้บังคับบัญชา ซึ่งจะคอยปฏิบัติงานโดยตรงต่อผู้บังคับบัญชา โดยจะมีหหน้าที่ความรับผิดชอบในเรื่องต่างๆ ดังนี้
    • คอยช่วยเหลือผู้บังคับบัญชาในการแบ่งเวลาปฏิบัติราชการและกิจกรรมอื่นๆ
    • คอยให้การรักษาความปลอดภัย และอํานวยการความสะดวกแก่ผู้บังคับบัญชา
    • คอยช่วยเหลือในการจัดตารางเวลาของการปฏิบัติราชการ
    • คอยเตรียมการ และดําเนินงานเกี่ยวกับการเดินทางของผู้บังคับบัญชา
    • คอยให้การรับรองผู้มาติดต่อราชการกับผู้บังคับบัญชา
    • คอยช่วยประสานงานที่เกี่ยวข้องกับพิธีการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้บังคับบัญชา
    • คอยช่วยปฏิบัติงานด้านธุรการของผู้บังคับบัญชา
    • คอยช่วยกํากับดูแลเจ้าหน้าที่อื่น ของผู้บังคับบัญชา เช่น พลขับเจ้าหน้าที่ธุรการฯลฯ

พันธกิจของฝ่ายอํานวยการตํารวจ

พันธกิจของฝ่ายอํานวยการตํารวจนั้นจะหมายถึง หน้าที่ของฝ่ายอํานวยการตํารวจที่จะต้องปฏิบัติอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง โดยถือได้ว่าเป็นหน้าที่ที่จะละเว้นการปฏิบัติไม่ได้ในการทําหน้าที่ฝ่ายอํานวยการตํารวจ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายอํานวยการในสายงานใดๆก็ตาม อันได้แก่งานในหน้าที่ร่วม 5 ประการของฝ่ายอํานวยการ ได้แก่

  • การให้ข้อมูลข่าวสาร
  • การวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร (การประมาณการ)
  • การให้ข้อเสนอแนะการทําแผน
  • การกํากับดูแลการปฏิบัติตามแผน

ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ถือว่าเป็นหัวใจในการปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ของฝ่ายอํานวยการ โดยหากมีการละเลยข้อใดข้อหนึ่งอาจสางผลให้เกิดความผิดพลาดหรือความล้มเหลวในการปฏิบัติงานในที่สุด