รวม 20 เรื่อง กองทัพไทย

808
รวม 20 เรื่อง กองทัพไทย
รวม 20 เรื่อง กองทัพไทย

1.กองทัพไทย

กองทัพไทย (Royal Thai Armed Forces) คือ กองทัพของราชอาณาจักรไทยทั้งหมด โดยสามารถแบ่งกองทัพออกเป็น 3 เหล่าทัพ ได้แก่ กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ

2.หน้าที่ของกองทัพไทย

กองทัพไทย มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ปี พ.ศ.2551 ในมาตรา 15 บัญญัติว่าเอาไว้ “กองทัพไทย มีหน้าที่ เตรียมกำลังกองทัพไทย การป้องกันราชอาณาจักร และดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังทหาร ตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม มีผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบ” กับในมาตรา 17 บัญญัติไว้ให้ กองทัพไทย มีโครงสร้างการจัดดังนี้

  • กองบัญชาการกองทัพไทย
  • กองทัพบก
  • กองทัพเรือ
  • กองทัพอากาศ
  • ส่วนราชการอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

3.ประวัติ กองทัพไทย

กองบัญชาการทหารสูงสุดนั้น ได้ถูกจัดตั้งขึ้นมาแล้วถึง 2 ครั้ง โดยในครั้งแรกเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2483 ด้วยเหตุการพิพาทในอินโดจีน – ฝรั่งเศษ และในครั้งถัดมาจากการที่ไทยเข้าร่วมสงครามมหาเอเชียบรูพา เพื่อช่วยในการทำหน้าที่ด้านบัญชาการรบ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 ทางราชการได้เห็นถึงความจำเป็ฯในการจัดตั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นการถาวรขั้น เพื่อทำหน้าที่ในการเตรียมกำลังรบและป้องกันประเทศ จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงกรมเสนาธิการกลาโหมเป็นกองบัญชาการทหารสูงสุด และยังทำการปรับปรุงและเพิ่มหน่วยงานต่างๆขึ้น เพื่อให้สามารถดำเริรงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศุกราช 2503

โดยในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการจัดการส่วนราชการในกระทรวงกลาโหมใหม่ ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช 2551 ถูกประกาศใช้เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551 ตามมาครา 17 ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ ทำให้กองบัญชาการทหารสูงสุดได้ถูกแปรสภาพเป็ฯกองบัญชาการกองทัพไทย โดยกระทรวงกลสโหมมีหน้าที่ควบคุม อำนวยการ สั่งการ และกำกับดูแลการดำเนินงานของส่วนราชการในกองทัพไทย ในการจัดเตรียมกำลัง การป้องกันราชอาณาจักรไทย และคอยดำเนินการทั้งหมดเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม ให้ได้ประสทิธิภาพสูงสุด โดยจะมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้รับผิดชอบ

4.หน่วยงานของกองทัพไทย

  • กระทรวงกลาโหม
  • กองบัญชาการกองทัพไทย
  • กองทัพบก
  • กองทัพเรือ
  • กองทัพอากาศ
  • ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพไทย (ผู้บัญชาการทหารสูงสุดดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพไทย)

5.ภารกิจ ของกองทัพไทย

ภารกิจ ของกองทัพไทย คือ การรับผิดชอบการวางแผน พัฒนาและดำเนินการเกี่ยวกับระบบควบคุมบังคับบัญชากองทัพไทย ให้สามารถติดต่อเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งในระดับรัฐบาล ระดับกระทรวง และหน่วยงานในกระทรวงกลาโหมตลอดจนแบ่งมอบความรับผิดชอบในการดำเนินการให้กับกองทัพ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

6.พันธกิจ ของกองทัพไทย

  • ปกป้อง เทิดทูร พิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์และส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  • อำนวยการการปฏิบัติการร่วมของทุกเหล่าทัพ และเสริมสร้างขีดความสามารถในการป้องกันประเทศจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ
  • สนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาสำคัญของชาติการพัฒนาประเทศ และการช่วยเหลือประชาชน
  • คุ้มครอง และพิทักษ์รักษาผลประโยชน์แห่งชาติ
  • เสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงกับประเทศเพื่อบ้านกลุ่มประเทศอาเซียนมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ
  • สนับสนุนการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศโดยยึดหลักมนุษยธรรมและสันติวิธี
  • ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพภายใต้กรอบของสหประชาชาติเพื่อธำรงเกียรติและศักดิ์ศรีในประชาคมโลก

7.อำนาจหน้าที่ ของกองทัพไทย

อำนาจหน้าที่ ของกองบัญชาการกองทัพไทย คือ การมีหน้าที่ควบคุมอำนวยการ สั่งการและกำกับดูแลการดำเนินงาน ของส่วนราชการในกองทัพไทย ในการเตรียมกำลังการป้องกันราชอาณาจักรไทย และการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

8.ค่านิยม ของกองทัพไทย

  • ความจงรักภักดีและการปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด
  • การปฏิบัติการร่วม
  • การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
  • ความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานและสังคม
  • การสร้างความเชื่อถือศรัทธา

9.ค่านิยมหลัก ของกองทัพไทย

  • ความเป็นทหารอาชีพ
  • ความจงรักภักดี
  • ความกล้าหาญ
  • การทำงานเป็นทีม

10.ส่วนบังคับบัญชา ของกองทัพไทย

  • สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย
  • สำนักเลขานุการ กองบัญชาการกองทัพไทย
  • สำนักงานจเรทหาร
  • สำนักงานตรวจสอบภายในทหาร
  • สำนักงานพระธรรมนูญทหาร
  • สำนักสวัสดิการทหาร
  • สำนักยุทธโยธาทหาร
  • ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและความมั่นคง
  • ศูนย์ไซเบอร์ทหาร

11.ส่วนเสนาธิการร่วม ของกองทัพไทย

  • กรมกำลังพลทหาร
  • กรมข่าวทหาร
  • กรมยุทธการทหาร
  • กรมส่งกำลังบำรุงทหาร
  • กรมกิจการพลเรือนทหาร
  • กรมการสื่อสารทหาร
    • ศูนย์การโทรคมนาคมทหาร
    • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศทหาร
    • สำนักแผนและอำนวยการสื่อสาร
    • กองฝึกอบรมกรมการสื่อสารทหาร
  • สำนักงานปลัดบัญชีทหาร

12.ส่วนปฏิบัติการ ของกองทัพไทย

  • หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
  • ศูนย์รักษาความปลอดภัย
  • ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล

13.ส่วนการศึกษา ของกองทัพไทย

  • สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
    • วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
    • วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
    • ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์
    • สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
    • โรงเรียนเตรียมทหาร
    • โรงเรียนช่างฝึมือทหาร

14.ส่วนกิจการพิเศษ ของกองทัพไทย

  • กรมสารบรรณทหาร
  • กรมการเงินทหาร
  • กรมแผนที่ทหาร
  • กรมยุทธบริการทหาร
    • สำนักงานแพทย์ทหาร
  • กรมกิจการชายแดนทหาร

15.ผู้บริหาร กองทัพไทย

  • ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
    • พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี
  • รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด (1)
    • พลเอก ชัยชนะ นาคเกิด
  • รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด (2)
    • พลเอก ชูชาติ บัวขาว
  • รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด (3)
    • พลเรือเอก พัชระ พุ่มพิเชฎฐ์
  • รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด (4)
    • พลอากาศเอก วันชัย นุชเกษม

16.เครื่องหมายราชการ กองบัญชาการกองทัพไทย

เครื่องหมายราชการ กองบัญชาการกองทัพไทย จะเป็นรูปจักมีสมอขัดในจักร โดยด้านซ้ายขวามีรูปปีกนกกาง และล้อมรอบทั้งหมดนี้ด้วยช่อชัยพฤกษ์ ซึ่งตัวเครื่องหมายในแต่ละส่วนนั้นมีความหมายดังนี้

  • จักร : เป็นสัญลักษณ์ของกองทัพบก
  • สมอ : เป็นสัญลักษณ์ของกองทัพเรือ
  • ปีกนกกาง : เป็นสัญลักษณ์ของกองทัพอากาศ
  • ช่อชัยพฤกษ์ : แสดงความหมายว่า กองบัญชาการกองทัพไทย เป็นหน่วยรวมการบังคับบัญชา อำนวยการและประสานกิจการของกองทัพทั้งสามไม่จำกัดขนาดและสี

17.กองทัพไทย เปิดรับสมัครสอบเมื่อไหร่

กองบัญชาการกองทัพไทยนั้นจะเปิดรับสมัครเข้ากองทัพทุกๆปี โดยการสอบคัดเลือกบุคคลพลเรือนเพื่อบรรจุเข้ารับราชการในกองบัญชาการกองทัพไทย จะอยู่ในช่วงเดือน เม.ย. – พ.ค. สามารถติดตามข่าวสารการรับสมัครทหารได้ที่ https://nine100.com/category/soldier/military-recruitment/

18.คุณสมบัติสมัครเข้า กองทัพไทย

คุณสมบัติสมัครเข้า กองทัพไทย มีดังต่อไปนี้

  1. เป็นบุคคลพลเรือนชายหรือหญิง นายทหารประทวน ทหารกองหนุน ลูกจ้าง พลอาสาสมัครหรือพนักงานราชการ โดยมีเกณฑ์อายุดังนี้
    • ผู้สมัครสอบตําแหน่งนายทหารสัญญาบัตร จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 35 ปี
    • ผู้สมัครสอบต่ำแหน่งนายทหารประทวน จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 30 ปี
  2. ไม่เป็นผู้เข้ารับการตรวจเลือกเข้าเป็นทหารกองประจําการ หรือผู้ที่ขอผ่อนผัน เข้ารับการคัดเลือกเป็นทหารกองประจําการในปีที่สมัครสอบ
  3. ไม่เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างรับราชการเป็นทหารกองประจําการ (ทหารเกณฑ์)
  4. เป็นผู้มีวุฒิทางการศึกษา/สาขาวิชา เพศ คุณลักษณะเฉพาะ และคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่ทางราชการกําหนดไว้ ในตําแหน่งที่จะสมัครสอบ
  5. มีสัญชาติไทยโดยการเกิดตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ
  6. มีอวัยวะ รูปร่าง ลักษณะท่าทาง ขนาดของร่างกายเหมาะสมแก่การเป็นทหารและ ไม่เป็นโรคตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
  7. ผู้สมัครสอบเพศชาย จะต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 155 ซม. และผู้สมัครสอบ เพศหญิงจะต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 150 ซม. มีดัชนีความหนาของร่างกาย (Body Mass Index) ไม่เกิน 30 กก./ตรม. ไม่เป็นโรคเท้าแบน และไม่มีลักษณะตาบอดสี
  8. ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรม ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือเป็นบุคคลล้มละลาย ตามคําพิพากษาของศาล
  9. ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างเป็นจําเลยในคดีอาญา และไม่เคยต้องคําพิพากษาโทษจําคุก เว้นแต่ความผิดฐานลหุโทษ หรือความผิดอันเป็นการกระทําโดยประมาท
  10. ไม่อยู่ในระหว่างพักราชการหรือสํารองราชการเนื่องจากความผิด หรือหนีราชการ
  11. ไม่เป็นผู้เคยถูกปลดเพราะความผิด หรือถูกไล่ออกจากราชการ
  12. ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติด หรือสารเคมีเสพติดให้โทษ
  13. ไม่เป็นผู้ที่มีรอยสักบนร่างกายที่เห็นเด่นชัด
  14. ไม่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์
  15. สําหรับนายทหารประทวน ลูกจ้าง พลอาสาสมัคร หรือพนักงานราชการในสังกัด ของส่วนราชการกระทรวงกลาโหม ที่สมัครสอบจะต้องมีหนังสือรับรองความประพฤติ และได้รับอนุญาตจาก หน่วยต้นสังกัดในระดับกองพันหรือเทียบเท่าขึ้นไป
  16. พระภิกษุหรือสามเณร ทางกองบัญชาการกองทัพไทยไม่รับสมัครสอบ และไม่อาจ ให้เข้าสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเข้ารับราชการได้

19.การเกณฑ์ทหาร เข้ากองทัพไทย

การเกณฑ์ทหารเข้ากองทัพไทย เป็น กฎหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 โดยกำหนดหน้าที่นี้ให้เฉพาะเพศชายที่มีสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมายมีหน้าที่ต้องเข้ารับราชการทหารด้วยตนเองทุกคน

ชายไทยทุกคนต้องไปแสดงตัวตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน ในช่วงอายุย่างเข้า 18 ปี และจะมีสภาพเป็นทหารกองเกิน หลังจากนั้นกองทัพจะทำการเรียกเกณฑ์ทหารกองเกินชายในช่วงอายุย่างเข้า 21 ปี จะต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจเลือกเข้ากองประจำการ โดยมีวิธีจำแนกออกเป็นสี่จำพวกตามความสมบูรณ์ของร่างกายบุคคลนั้นๆ ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์มีผู้ประงสงค์สมัครเข้ากองประจำการจนเต็มแล้วนั้น ก็จะไม่มีการจับสลากเกิดขึ้น แต่หากยังมีผู้สมัครเข้าไม่พอ และมีผู้คนให้เลือกมากกว่าจำนวนที่ต้องการ ก็จะใช้วิธีจับสลาก ใบดำ-ใบแดง แทน โดยผู้ที่จับได้ใบแดงก็จะต้องเข้าเป็นทหารกองประจำการ

20.ติดต่อ กองทัพไทย

  • กองบัญชาการกองทัพไทยตั้งอยู่ที่ 127 ซอย แจ้งวัฒนะ 7 ถนน แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
  • โทรศัพท์ 0-2572-1234 ,0-2572-1227
  • หมายเลขโทรสาร 0-2572-1520
  • ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) : [email protected]