รวม 20 เรื่อง โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

1380
รวม 20 เรื่อง โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
รวม 20 เรื่อง โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
เนื้อหา ซ่อน

1.โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช คือ

โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เป็นสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาของกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ กองทัพอากาศไทย จะประกาศเปิดรับสมัครเข้าโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ในทุกๆปี โดยตัวโรงเรียนนั้นจะมีหน้าที่อำนวยการศึกษา ฝึกอบรม และปกครองนักเรียนนายเรืออากาศ เสนอแนะหลักสูตร และกำหนดแนวการสอน

โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราชจะมีผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศฯ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ บังคับบัญชาการดำเนินการศึกษาวิชาการและการทหาร รวมทั้งการฝึกฝน ด้านทฤษฎี และปฏิบัติ โดยยึดถือตามระเบียบวินัยที่ได้บัญญัติไว้ ดำเนินการฝึกฝน ระเบียบประเพณี มารยาท จริยธรรม ความเป็นผู้นำ และพัฒนาบุคลิก ความเป็นนักเรียนนายเรืออากาศ ปกครองดูแลนักเรียนนายเรืออากาศ ผู้ที่ศึกษาในโรงเรียนนายเรืออากาศฯ เรียกว่า นักเรียนนายเรืออากาศ

2.ประวัติ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

ประวัติโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราชเริ่มขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2493 กองทัพอากาศรับบุคลากรที่ผลิตจากสถาบันการศึกษาอื่นๆและมหาวิทยาลัยเข้ามาทำงานในกองทัพอากาศ ต่อมาภารกิจและกิจการของกองทัพอากาศมีมากขึ้น รวมกับยังไม่มีสถาบันที่จะผลิตนายทหารสัญญาบัตรของตนเอง นอกจากนี้กองทัพอากาศยังต้องการนายทหารที่มีความรู้เฉพาะสาขาวิชามากกว่าด้านความรู้ทั่วไป จึงได้เตรียมการเริ่มตั้ง “โรงเรียนนายเรืออากาศ” เพื่อผลิตนายทหารหลักให้กับกองทัพอากาศขึ้น แต่ด้วยงบประมาณที่จำกัดประกอบกับปัญหาบางประการจึง ทำให้การก่อตั้งโรงเรียนนายเรืออากาศต้องล่าช้าออกไป

ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ได้ขอเสนอเสนาธิการทหารอากาศว่า นายทหารของกองทัพอากาศนั้น ควรที่จะได้รับการศึกษา และการฝึกฝนตลอดระยะเวลาที่รับราชการอยู่ในกองทัพอากาศ และในปีต่อมา เสนาธิการทหารอากาศได้มีคำสั่งให้กรมยุทธศึกษาทหารอากาศเตรียมโครงการเพื่อเปิดโรงเรียนนายเรืออากาศโดยละเอียด ซึ่งโครงการจัดตั้งโรงเรียนนายเรืออากาศนั้นได้รับนโยบายและความเห็นชอบจากผู้บัญชาการทหารอากาศในขณะนั้น จึงเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะรัฐบาล แล้วต่อมาคณะรัฐมนตรีได้ประชุมลงมติอนุมัติเมื่อ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 แต่ยังไม่พร้อมที่จะทำการเปิดสอนได้

หลังจากนั้นได้ทำการคัดเลือกนักเรียนนายเรืออากาศรุ่นแรก จำนวน 30 นาย ซึ่งได้เข้ามารายงานตัวเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 โดยใช้ตึกเหลือง (กรมสวัสดิการทหารอากาศในปัจจุบัน) และได้จัดให้มีพิธีเปิดโรงเรียนขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 จึงได้ถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนาโรงเรียนนายเรืออากาศ

3.สัญลักษณ์ประจำสถาบัน

สัญลักษณ์ประจำสถาบัน โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราชนั้นจะเป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ มีพระอุณาโลมประดิษฐานอยู่ภายใน ส่วนของยอดพระมหาพิชัยมงกุฎมีพระรัศมีล้อมรอบ เบื้องล่างพระมหาพิชัยมงกุฎเป็นรูปอาร์มมีแถบสีธงไตรรงค์คาดเฉียง มีรูปปีกนกทรงรูปอาร์มไว้ทั้งด้านขวาและซ้าย (ปีกนักบินชั้นที่ 1) และภายใต้รูปอาร์มเป็นรูปดาว 5 แฉก มีช่อชัยพฤกษ์โค้งรองรับอยู่เบื้องล่าง รูปทั้งหมดอยู่ในวงกลมเบื้องล่างมีแพรแถบข้อความว่า “โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช” โดยความหมายของสัญลักษณ์จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้

  • ปีกนักบินชั้นที่ 1 ถือเป็นสัญลักษณ์ของนักบินทหารอากาศ แสดงถึงนักเรียนนายเรืออากาศ ซึ่งสำเร็จออกเป็นนายทหารสัญญาบัตร และจะได้เป็นนักบินของทหารอากาศต่อไป
  • ดาว 5 แฉกสีเงิน จะแสดงถึง ความมีเกียรติ
  • ช่อชัยพฤกษ์ใบสีทอง จะแสดงถึง ความสำเร็จในด้านการศึกษาของนักเรียนนายเรืออากาศ
  • วงกลมสีฟ้า และแถบปลายแฉกสะบัดสีเหลือง โดยสีฟ้า-เหลือง เป็นสีประจำโรงเรียน

4.โครงสร้างหน่วยงาน

โครงสร้างหน่วยงานของ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราชจะมีดังต่อไปนี้

  • กองบัญชาการ
  • กองการศึกษา
  • กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์
  • กองบริการ
  • กองวิชาทหาร
  • กองพลศึกษา
  • กองเทคโนโลยีและสารสนเทศ
  • กองสถิติและประเมินผล
  • กองส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย
  • แผนกการเงิน

5.หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต มี 5 สาขาวิชา ได้แก่

  • สาขาวิศวกรรมอากาศยาน
  • สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ

6.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต มี 2 สาขาวิชา ได้แก่

  • สาขาคอมพิวเตอร์
  • สาขาวัสดุศาสตร์ทางการทหารและอากาศยาน

7.วิสัยทัศน์ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

“เป็นสถาบันหลักที่ผลิตผู้นำและแหล่งองค์ความรู้ด้านการบินแห่งชาติ”

8.ภารกิจ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช มีหน้าที่วางแผนการปฏิบัติ อำนวยการ ประสานงาน กำกับการ และดำเนินการ เกี่ยวกับการศึกษา การฝึกอบรม และประเมินผลแก่นักเรียนนายเรืออากาศ รวมทั้งสนับสนุน การผลิตบุคลากรด้านการบิน มีผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

9.เครื่องหมายราชการของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

เครื่องหมายราชการ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ มีพระอุณาโลมประดิษฐานอยู่ภายใน ส่วนยอดพระมหาพิชัยมงกุฎมีพระรัศมีล้อมรอบ เบื้องล่าง พระมหาพิชัยมงกุฎเป็นรูปอาร์มมีแถบสีธงไตรรงค์คาดเฉียง มีรูปปีกนกทรงรูปอาร์มไว้ทั้งด้านขวา และซ้าย และภายใต้รูปอาร์มเป็นรูปดาว 5 แฉก มีช่อชัยพฤกษ์โค้งรองรับอยู่เบื้องล่าง รูปทั้งหมด อยู่ในวงกลมเบื้องล่างมีแพรแถบข้อความว่า “โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช”

10.คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าเรียน

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าเรียนนั้นจะมีดังต่อไปนี้

  • สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า(ต้องมีหนังสือเทียบวุฒิการศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ)สำหรับหลักสูตรปริญญาบัตรวิชาชีพ ต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาปีที่ 3
  • อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี และไม่เกิน 18 ปี ในปีที่จะเข้ารับการศึกษาเป็นนักเรียนเตรียมทหาร
  • มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและบิดา มารดามีสัญชาติไทยโดยการเกิดแต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตรหรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดก็ได้
  • มีอวัยวะรูปร่างลักษณะท่าทางและขนาดของร่างกายเหมาะสมแก่การเป็นทหารไม่เป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารและตามที่กองทัพไทยกำหนดรายละเอียดตามผนวกท้ายระเบียบการทั่วไป
  • เป็นชายโสด ไม่เคยมีความประพฤติเสื่อมเสียทางเพศหรือติดต่อได้เสียกับหญิงถึงขั้นที่จะถือว่าเป็นภรรยาโดยกฎหมาย
  • เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดีมีอุดมการณ์ เลื่อมใสในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และมีผู้ปกครองดูแลรับผิดชอบ
  • ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย
  • ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
  • ไม่เป็นผู้ที่เคยถูกให้ออกหรือไล่ออก จากโรงเรียนเหล่าทัพ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ และโรงเรียนเตรียมทหาร เพราะความผิดหรือถูกถอนทะเบียนจากความเป็นนักเรียนเตรียมทหาร
  • ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติด หรือสิ่งเสพติดที่ผิดกฎหมาย หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • บิดามารดาและผู้ปกครองเป็นผู้มีอาชีพอันชอบธรรมหรือมีหลักฐาน
  • เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองให้สมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารแล้ว
  • ต้องมีผู้ปกครองหรือผู้ค้ำประกันซึ่งสามารถรับรองข้อความและพันธกรณี ตามที่กองทัพไทยกำหนด
  • ต้องไม่มีพันธกรณีผูกพันกับองค์กรของรัฐบาลหรือเอกชน อันจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

11.วิธีการสมัครและค่าธรรมเนียมในการสอบ

วิธีการสมัครและค่าธรรมเนียมในการสอบ จะมีดังต่อไปนี้

  • สมัครสอบได้ทางเว็บไซต์ http://www.nkrafa.rtaf.mi.th ไม่เว้นวันหยุดราชการยกเว้นวันสุดท้ายที่เปิดรับสมัครถึงเวลา 16.00 น.
  • ค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ จำนวน 400 บาท(สี่ร้อยบาทถ้วน) การชำระค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ ดำเนินการโดยนำแบบฟอร์มการช าระเงินพร้อมค่าสมัครสอบจำนวน 400 บาทไปชำระผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส ทั้งนี้การสมัครสอบจะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อ ผู้สมัครสอบได้ชำระค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบแล้วเท่านั้น และจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบให้ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้นผู้สมัครสอบที่ชำระเงินแล้วสามารถตรวจสอบรายชื่อ สถานที่สอบ และพิมพ์บัตรประจำตัวสอบ ได้ที่เว็บไซต์ http://www.nkrafa.rtaf.mi.th ตามวันและเวลาที่จะประกาศให้ทราบ
  • ค่าตรวจร่างกาย ตามที่คณะกรรมการแพทย์กำหนดและในกรณีที่แพทย์ต้องตรวจพิเศษนอกเหนือจากการตรวจปกติ ผู้รับการตรวจจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้นอัตราค่าตรวจปกติรายละ 1,000 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน)
  • ค่าพิมพ์ลายนิ้วมือ ตรวจสอบประวัติอาชญากรรมเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ มีอัตราค่าธรรมเนียมและค่าดำเนินการรายละ 120 บาท (หนึ่งร้อยยี่สิบบาทถ้วน)

12.การยื่นหลักฐานการสมัครสอบและคะแนนเพิ่มพิเศษ

ผู้สมัครสอบที่สอบผ่านรอบแรกวิชาการจะต้องยื่นหลักฐานให้แก่เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ในวันที่ประกาศผลสอบรอบแรกและรายงานตัว ดังนี้

  • สำเนาเอกสารแสดงผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 หรือเทียบเท่า
  • สำเนาทะเบียนบ้านผู้สมัคร บิดาและมารดาผู้ให้กำเนิด คนละ 1 ฉบับ หากผู้สมัครมีบิดามารดา ที่มีชื่อหรือนามสกุลในหลักฐานต่างๆ ไม่ตรงกัน ต้องแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน (โดยแก้ไขที่อำเภอ/เขต) พร้อมแนบสำเนาหลักฐานการแก้ไขมาแสดงด้วย
  • เอกสารการเปลี่ยน ชื่อ -สกุล ของผู้สมัครและบิดา มารดา (ถ้ามี)
  • กรณีที่บิดาหรือมารดาถึงแก่กรรม และไม่มีชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้าน ให้นำหลักฐานใบมรณบัตรและหนังสือที่ทางราชการออกให้ เพื่อแสดงสัญชาติของบิดา มารดา
  • กรณีที่ ปู่-ย่า หรือ ตา-ยาย ของผู้สมัครไม่มีสัญชาติไทย ให้นำหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้มาแสดง
    • สูติบัตรของบิดาหรือมารดาของผู้สมัคร
    • หนังสือรับรองที่ออกโดยนายทะเบียนท้องที่ของสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในท้องที่นั้นรับรองว่าบิดาหรือมารดาของผู้สมัครมีสัญชาติไทยโดยการเกิด
  • หลักฐานการได้รับคะแนนเพิ่มพิเศษ (ถ้ามี)

13.การทดสอบวิชาการ

การสอบวิชาการ แบ่งเป็น 4 วิชา ใช้เวลาสอบ 4ชั่วโมง (คะแนนรวม 700 คะแนน)

  • วิชาภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 160 คะแนน
  • วิชาภาษาไทยและวิชาสังคมศึกษา คะแนนเต็ม 100 คะแนน
  • วิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนเต็ม 220 คะแนน
  • วิชาคณิตศาสตร์ คะแนนเต็ม 220 คะแนน

14.เกณฑ์การพิจารณาการสอบวิชาการ

เกณฑ์การพิจารณาการสอบวิชาการ จะจัดเรียงลำดับตามคะแนนรวมวิชาการจากมากไปหาน้อย โดยถ้าคะแนนรวมเท่ากันให้เปรียบเทียบคะแนนวิชาวิทยาศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษาไทยและวิชาสังคมศึกษาตามลำดับ

15.การสอบรอบสอง

การสอบรอบสอง ผู้เข้าสอบรอบสอง คือผู้ที่มีรายชื่อสอบผ่านวิชาการและรายงานตัวเข้าสอบรอบสองไว้แล้วเท่านั้น โดยต้องเข้ารับการสอบทุกรายการดังต่อไปนี้

  • การทดสอบความถนัดและวิภาววิสัย
  • การสอบพลศึกษา
  • การสอบสัมภาษณ์
  • การตรวจร่างกายและทดสอบสุขภาพจิต
    • การตรวจร่างกาย
    • การทดสอบสุขภาพจิต
    • การปฏิบัติในการตรวจร่างกายและทดสอบสุขภาพจิต

16.ข้อควรปฏิบัติในการสอบวิชาการ

ข้อควรปฏิบัติในการสอบวิชาการ จะมีดังต่อนี้

  • แต่งกายชุดนักเรียน หรือชุดเครื่องแบบสถาบัน
  • หลักฐานที่ต้องนำมาในวันสอบวิชาการ
    • บัตรประจำตัวประชาชนหรือใบอนุญาตขับขี่โดยบัตรดังกล่าวนั้นต้องไม่หมดอายุ และจะต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ชัดเจน ทั้งรูปถ่ายและตัวอักษร
    • บัตรประจำตัวสอบที่ปรากฏรูปถ่ายของผู้สมัครสอบ ระบุรหัสประจำตัวสอบ สถานที่สอบ ชื่อ สกุล วัน เดือน ปีเกิด เลขประจำตัวประชาชนและลงลายมือชื่อจึงจะถือว่าสมบูรณ์ (พิมพ์สีเท่านั้น)
  • อุปกรณ์ที่อนุญาตให้ผู้สมัครสอบนำเข้าห้องสอบ ได้แก่ ดินสอดำชนิด 2B ขึ้นไปสำหรับระบายกระดาษคำตอบ ยางลบดินสอและผู้สมัครสอบต้องนำบัตรตามข้อ
  • มาในวันสอบวิชาการ หากไม่นำบัตรทั้ง 2 มาแสดงจะไม่อนุญาตให้เข้าสอบ
  • การขาดสอบวิชาการในชุดวิชาใดวิชาหนึ่ง จะถือว่าผู้สมัครสละสิทธิ์ในการสอบคัดเลือก
  • การออกจากห้องสอบ สามารถออกได้เมื่อหมดเวลาสอบแล้วเท่านั้น
  • ผู้สมัครสอบต้องปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำของกรรมการคุมสอบโดยเคร่งครัด

17.การหมดสิทธิ์ในการสอบคัดเลือก

การหมดสิทธิ์ในการสอบคัดเลือก จะมีดังต่อไปนี้

  • เข้าห้องสอบวิชาการหรือการสอบรอบสองช้ากว่าเวลาที่เริ่มต้นสอบหรือทดสอบนาทีจะไม่อนุญาตให้เข้าสอบหรือทดสอบถือว่าหมดสิทธิ์ในการสอบ
  • ขาดสอบวิชาการชุดวิชาใดวิชาหนึ่ง
  • ขาดการทดสอบความถนัดและวิภาววิสัยหรือขาดการสอบพลศึกษาหรือขาดการสอบสัมภาษณ์หรือขาดการตรวจร่างกายและทดสอบสุขภาพจิตรายการใดรายการหนึ่งหรือทุกรายการ
  • ทุจริตในการสอบ หรือช่วยเหลือการทุจริตการสอบ
    • พูดหรือติดต่อสื่อสารในลักษณะต่างๆ กับผู้สมัครสอบคนอื่น
    • ลุกจากที่นั่ง ชะโงกหน้า เหลียวมองกระดาษคำตอบของผู้สมัครสอบคนอื่น
    • วางกระดาษคำตอบในลักษณะเกื้อกูลกับผู้สมัครสอบข้างเคียง
    • ลักลอบนำเอกสารหรืออุปกรณ์ต้องห้ามได้แก่ กระดาษทด กระดาษร่าง ตำราเครื่องคำนวณเลข เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เครื่องประดับ นาฬิกาข้อมือสร้อยคอ แหวน ตุ้มหู อุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะทุกชนิด และอุปกรณ์อื่นๆ ที่กรรมการคุมสอบพิจารณาไม่อนุญาตให้นำเข้า
    • เขียนข้อความใดๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการสอบไว้ตามร่างกาย บนชุดที่สวมใส่หรือบนอุปกรณ์ต่างๆ แล้วนำเข้าห้องสอบ
    • ลอกคำตอบจากผู้อื่น หรือให้ผู้อื่นลอกคำตอบ ทั้งนี้ไม่ว่าจะถูกตรวจพบในระหว่างการสอบหรือภายหลังการสอบเสร็จสิ้นแล้วก็ตาม
    • ทำข้อสอบให้ผู้อื่น หรือให้ผู้อื่นทำข้อสอบให้ ทั้งนี้ไม่ว่าจะถูกตรวจพบในระหว่างการสอบหรือภายหลังการสอบเสร็จสิ้นแล้วก็ตาม
    • แลกกระดาษคำตอบกับผู้อื่น
    • ปัญหาสอบเป็นลิขสิทธิ์ของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ห้ามผู้สมัครสอบคัดลอกหรือนำออกนอกห้องสอบเป็นอันขาด ต้องส่งคืนให้ครบทุกหน้าและทุกแผ่น ผู้ใดฝ่าฝืนจะมีความผิดทางกฎหมาย และถือว่าหมดสิทธิ์ในการสอบคัดเลือก
    • กรณีที่ผู้สมัครสอบได้รับอนุญาตให้ออกจากห้องสอบชั่วคราว เพื่อทำกิจจ าเป็นส่วนตัวจะต้องไม่ทำการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสอบที่กำลังดำเนินอยู่เป็นอันขาด หากฝ่าฝืนให้ถือว่าเป็นการกระทำการทุจริตในการสอบ
    • หากอุปกรณ์การสอบของผู้สมัครสอบ ตก หรือปลิวไปจากโต๊ะสอบ ให้ผู้สมัครสอบที่เป็นเจ้าของ ขออนุญาตเก็บโดยกรรมการคุมสอบจะต้องเป็นผู้เก็บให้ ห้ามผู้สมัครสอบคนอื่นเก็บโดยเด็ดขาดการฝ่าฝืนถือเป็นการกระทำการทุจริตในการสอบ
    • พฤติกรรมอื่นๆ ที่กรรมการคุมสอบพิจารณาแล้ว เห็นว่าเป็นการทุจริตในการสอบ
  • ไม่มีหลักฐานที่ต้องใช้ในการยืนยันตัวตนมาแสดงในวันสอบวิชาการ
  • ตรวจพบการปลอมแปลงเอกสารหลักฐานทุกชนิด
  • เป็นผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดอื่นๆที่กล่าวมา

18.สวัสดิการขณะเป็นนักเรียนนายเรืออากาศ

สวัสดิการขณะเป็นนักเรียนนายเรืออากาศ จะมีดังนี้

  1. ไม่เสียค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา อาหาร เครื่องแต่งกาย ที่พัก ได้รับเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือนประจำจำนวน 3,079 – 5,340 บาท ตามชั้นปีและหน้าที่บังคับบัญชา
  2. นักเรียนชั้นปีที่ 1 ที่มีผลการศึกษาดีมีสิทธิ์สอบคัดเลือกไปศึกษาในสถาบันทหารหรือมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ปีละ 9 -10 ทุน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ สาธารณรัฐเกาหลี สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เครือรัฐออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และราชอาณาจักรสเปน
  3. ตามหลักสูตรโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช กำหนดให้ นักเรียนทุกคนได้ฝึกเดินอากาศและดูงาน ณ ต่างประเทศรวมทั้งฝึกบินกับเครื่องบินฝึกของกองทัพอากาศ
  4. มีโครงการแลกเปลี่ยนดูงานระหว่างโรงเรียนทหารต่างประเทศ

19.สิ่งที่ได้รับเมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

สิ่งที่ได้รับเมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

  • ได้รับพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตหรือวิทยาศาสตรบัณฑิต
  • ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งยศเป็นว่าที่เรืออากาศตรี ได้รับเงินเดือนไม่น้อยกว่า 16,550 บาท
  • ผู้ที่จบหลักสูตรด้านการบินจากโรงเรียนการบินจะได้รับเงินค่าฝ่าอันตรายเดือนละ 13,200 บาทและเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้บังคับอากาศยาน เดือนละ 15,000 บาท เพิ่มจากเงินเดือนประจำ
  • ผู้ที่มีการศึกษาดี มีสิทธิ์สมัครสอบคัดเลือกทุนกองทัพอากาศ เพื่อไปศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ณ ต่างประเทศ

20.ติดต่อ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช 

โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราชตั้งอยู่ที่ 171/1 ถนนพลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร 10220

ขอบคุณภาพจาก โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช