รวม 20 เรื่อง กองทัพอากาศไทย

1474
รวม 20 เรื่อง กองทัพอากาศไทย
รวม 20 เรื่อง กองทัพอากาศไทย
เนื้อหา ซ่อน

1.กองทัพอากาศไทย คือ

กองทัพอากาศไทย (Royal Thai Air Force) เกิดขึ้นภายหลังจากการจัดตั้งกองทัพอากาศฝรั่งเศส ที่ถือได้ว่าเป็นกองทัพอากาศที่ก่อตั้งเป็นลำดับแรก ๆ ของเอเชีย ซึ่งจะมีการเปิดรับสมัครเข้าร่วมกองทัพอากาศไทย อยู่ทุกปี ตามแต่ละความต้องการของปี และหน่วยงานนั้นๆไป โดยตัวกองทัพมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพอากาศ การป้องกันราชอาณาจักร และดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังกองทัพอากาศตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม

2.ประวัติ กองทัพอากาศไทย

จุดเริ่มต้นของกองทัพอากาศ ที่มีแนวความคิดให้มีเครื่องบินใช้ในราชการได้เริ่มขึ้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยเกิดเมื่อชาวเบลเยี่ยมชื่อ Van Den Born ได้นำเครื่องบินแบบออร์วิลไรท์มาแสดงการบินในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ณ สนามม้าสระปทุม เพื่อเป็นการแสดงการบินสู่สายตาประชาชนชาวไทยในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1911) จอมพล สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบกทรงเห็นความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องจัดหาอากาศยานไว้ป้องกันประเทศ จึงได้ทรงดำริจัดตั้งกิจการการบินขึ้นเป็นแผนกหนึ่งของกองทัพบก อยู่ที่สนามราชกรีฑาสโมสร (สนามม้าสระปทุม) อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน และส่งนายทหารไปเรียนวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส จำนวน 3 นายประกอบด้วย

  • นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุนี สุวรรณประทีป) ต่อมาเป็น พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ
  • นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข) ต่อมาเป็น
  • นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ นายร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต ทั้งสามท่านได้เข้าเรียนที่บริษัทนีเออร์ปอร์ต (Nieuport Company) ในเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2454

ต่อมา หลังจากท่านทั้งสามสำเร็จวิชาการบิน ก็ได้ซื้อเครื่องบิน 2 แบบ 8 ลำ คือ Nieuport และ Breguet แบบละ 4 ลำ โดยระยะแรกได้ใช้สนามม้าสระปทุมเป็นสนามบิน แต่ด้วยปัญหาบางประการทำให้สนามม้าสระปทุมไม่สามารถรองรับกิจการการบินที่เติบโตขึ้นได้ จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ จึงได้ทรงย้ายที่ตั้งแผนกการบิน มาที่ตำบลดอนเมืองในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2457 และทรงยกฐานะแผนกการบิน เป็น กองบินทหารบก ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 ต่อมากระทรวงกลาโหมจึงได้ยึดถือวันนี้เป็น วันที่ระลึกกองทัพอากาศ นั่นเอง

ในปัจจุบัน กองทัพอากาศมีกำลังทางอากาศทั้งสิ้น 11 กองบิน กับ 1โรงเรียนการบิน โดยมีอากาศยานรวมเกือบถึง 320 ลำ

3.ภารกิจตามกฎหมาย กองทัพอากาศไทย

ภารกิจตามกฎหมาย ของ กองทัพอากาศไทย คือ การที่กองทัพอากาศมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพอากาศ และป้องกันราชอาณาจักร พร้อมการพัฒนาประเทศและแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดความขัดแย้งในระดับต่างๆ โดยดำรงระดับความพร้อมของขีดความสามารถอยู่ตลอดเวลา ด้วยการเสริมสร้างศักยภาพกำลังทางอากาศให้มีคุณภาพ และครอบครองเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับมิตรประเทศและดำรงความเข้มข้นในความรับผิดชอบต่อภารกิจตามกฎหมายโดยเฉพาะในการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ และการพัฒนาประเทศตามแนวคิดทางยุทธศาสตร์

4.ภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย กองทัพอากาศไทย

ภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย ของ กองทัพอากาศไทยนั้นจะให้มีความพร้อมปฏิบัติการทั้งในส่วนของยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย สามารถไปปฏิบัติงานร่วมกับต่างประเทศได้ พร้อมกำลังพลในรูปของหน่วยบิน/หน่วย-ชุดปฏิบัติการ/เจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญประเภทต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายร่วมกับกำลังของต่างประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างเป็นลำดับ ได้แก่ การรักษาสันติภาพ การช่วยเหลือมนุษยธรรม และการบรรเทาภัยพิบัติ

5.วิสัยทัศน์ กองทัพอากาศไทย

กองทัพอากาศไทยต้องการพัฒนาสู่ “กองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค” หรือ “O​ne of the Best Air Forces in ASEAN” ซึ่งอีกนัยหนึ่ง คือ เป็นกองทัพอากาศที่มีขีดความสามารถในทุกมิติอยู่ในระดับ 1 ใน 3 ของภูมิภาคอาเซียน บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าการก้าวไปสู่วิสัยทัศน์กองทัพอากาศอย่างเป็นระบบเป็นรูปธรรม และมีความยั่งยืนกองทัพอากาศจึงได้กำหนดจุดเน้นของทิศทางการพัฒนาในแต่ละระยะไว้ 3 ระยะ ดังนี้

  • ระยะที่ 1 พ.ศ.2551-2554 กองทัพอากาศดิจิตอล (Digital Air Force : DAF) มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการรบและการปฏิบัติการที่มิใช่การรบเพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามในทุกรูปแบบ โดยกองทัพอากาศต้องสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเป็นหลัก และบูรณาการเทคโนโลยีกำลังทางอากาศ เทคโนโลยีเครือข่าย และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจของกองทัพอากาศเป็นไปอย่างรวดเร็ว เหมาะสม ทันตามความต้องการในทุกสถานการณ์ อันจะเป็นพื้นฐานการพัฒนาสู่การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลา
  • ระยะที่ 2 พ.ศ.2555-2558 กองทัพอากาศที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Air Force : NCAF) มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการรบและการปฏิบัติการที่ไม่ใช่การรบ เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามในทุกรูปแบบรวมถึงภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในยุคสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง โดยกองทัพอากาศต้องสามารถประยุกต์แนวคิดการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCO) ได้อย่างสมบูรณ์ และต้องสามารถใช้เทคโนโลยีเครือข่ายและระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีได้บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง
  • ระยะที่ 3 พ.ศ.2559-2562 กองทัพอากาศจะขับเคลื่อนไปสู่ การเป็น “กองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค” โดยสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิตอลและแนวคิดการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCO) ในการปฏิบัติการรบและการปฏิบัติการที่มิใช่การรบ เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามในทุกรูปแบบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด

6.พันธกิจ ในการเตรียมความพร้อมกองทัพอากาศไทย

กองทัพอากาศต้องเตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติภารกิจภายใต้ การจัดโครงสร้างกำลังรบและส่วนสนับสนุนที่เหมาะสมภายใต้การบริหารจัดการ การฝึกอบรม การพัฒนากำลังพล และการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ ให้สามารถที่จะวางกำลังหน่วยปฏิบัติการในระดับต่างๆ ได้อย่างเต็มความสามารถ โดยในยามปกติจัดฐานที่ตั้งเป็นฐานบินปฏิบัติการหลัก ฐานบินปฏิบัติการหน้า ฐานบินปฏิบัติการพิเศษ ฐานบินปฏิบัติการสำรอง และสนามบินเฉพาะกิจ รวมถึงการประกอบกำลังที่มีหน่วยตัดสินตกลงใจ โดยมีศูนย์ปฏิบัติการในแต่ละระดับ สามารถบัญชาการและควบคุมตามที่ได้รับมอบอำนาจ เพื่ออำนวยการปฏิบัติการใช้กำลังทางอากาศทั้งในประเทศและนอกประเทศ

7.พันธกิจ ใการใช้กำลังกองทัพอากาศไทย

กองทัพอากาศจะมีพันธกิจในการใช้กำลังทางอากาศในยามปกติคือ การเฝ้าตรวจระวังภัยทางอากาศ ซึ่งรวมถึงการควบคุมเส้นทางสัญจรเข้าออกรอบประเทศ ในยามสงครามก็พร้อมที่จะใช้กำลังทางอากาศในการดำเนินกลยุทธ์ร่วมกับหน่วยกำลังอื่นๆ ทั้งการปฏิบัติสงครามอันเป็นการใช้กำลังในการป้องกันประเทศ การพิทักษ์ผลประโยชน์แห่งชาติ และการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในทุกระดับ ขณะเดียวกันกองทัพอากาศก็พร้อมที่จะใช้กำลังกองทัพอากาศเพื่อการพัฒนาประเทศและการช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสำคัญของชาติในยามวิกฤติต่าง ๆ เช่น การบรรเทาสาธารณภัยอันเกิดจากอุบัติภัยหรือภัยพิบัติจากธรรมชาติ การต่อต้านอาชญากรรม การปราบปรามยาเสพติด การสำรวจและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการฟื้นฟูภัยพิบัติสาธารณะต่าง ๆ

8.กองบัญชาการ กองทัพอากาศไทย

  • แผนกสนับสนุนกองบัญชาการกองทัพอากาศ
  • ศูนย์อำนวยการเครื่องบินพระราชพาหนะ
  • ศูนย์อำนวยการเฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะ
  • ศูนย์การสงครามทางอากาศ
  • สำนักงานพัฒนาระบบราชการกองทัพอากาศ

9.ส่วนบัญชาการ กองทัพอากาศไทย

  • สำนักงานเลขานุการกองทัพอากาศ
  • กรมสารบรรณทหารอากาศ
    • พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
  • กรมกำลังพลทหารอากาศ
  • กรมข่าวทหารอากาศ
  • กรมยุทธการทหารอากาศ
  • กรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ
  • กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ
  • กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทหารอากาศ
  • สำนักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ
  • กรมการเงินทหารอากาศ
  • กรมจเรทหารอากาศ
  • สำนักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ
  • สำนักงานนิรภัยทหารอากาศ
  • สำนักงานพระธรรมนูญทหารอากาศ

10.ส่วนการศึกษา กองทัพอากาศไทย

  • กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ
    • วิทยาลัยการทัพอากาศ
    • โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ
    • โรงเรียนนายทหารอากาศอาวุโส
    • โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง
    • โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับหมวด
    • โรงเรียนครูทหาร
    • โรงเรียนนายทหารชั้นประทวน
    • โรงเรียนจ่าอากาศ
    • ศูนย์ภาษา
    • ศูนย์ทดสอบบุคคล
    • โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

11.ส่วนกำลังรบ กองทัพอากาศไทย

  • กองบิน 1 นครราชสีมา
    • ฝูงบิน 102 “Stars”
    • ฝูงบิน 103 “Lightning”
  • กองบิน 2 ลพบุรี
    • ฝูงบิน 201 “Spider”
    • ฝูงบิน 203 “Scorpion”
    • สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล “chandy”
  • กองบิน 4 ตาคลี นครสวรรค์
    • ฝูงบิน 401 “Dragon”
    • ฝูงบิน 402 “Focus”
    • ฝูงบิน 403 “Cobra”
    • ฝูงบิน 404 “Python”
  • กองบิน 5 ประจวบคีรีขันธ์
    • ฝูงบิน 501 “Mosquito”
  • กองบิน 6 ดอนเมือง
    • ฝูงบิน 601 “Lucky”
    • ฝูงบิน 602 “Wihok”
    • ฝูงบิน 603 “Cowboy”
    • ฝูงบิน 604 “Sunny”
    • หน่วยบินเดโชชัย 3 – ฝูงบิน 904 “Starfire”
  • กองบิน 7 สุราษฏร์ธานี
    • ฝูงบิน 701 “Shark”
    • ฝูงบิน 702 “Orca”
  • กองบิน 21 อุบลราชธานี
    • ฝูงบิน 211 “Eagle”
  • กองบิน 23 อุดรธานี
    • ฝูงบิน 231 “Hunter”
  • กองบิน 46 พิษณุโลก
    • ฝูงบิน 461 “Vampire”
  • กองบิน 41 เชียงใหม่
    • ฝูงบิน 411 “Thunder”
  • กองบิน 56 หาดใหญ่ สงขลา*
    • ฝูงบิน 561 “Panther”
  • โรงเรียนการบิน กำแพงแสน
    • ฝูงฝึกขั้นต้น “Chicken”
    • ฝูงฝึกขั้นปลาย “Mustang”
  • กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ
    • หน่วยในระบบป้องกันทางอากาศ
      • ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศกรุงเทพ
      • ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศสุราษฎร์ธานี
      • ศูนย์ควบคุมและรายงานดอยอินทนนท์
      • สถานีรายงานเขาเขียว
      • สถานีรายงานเขาพนมรุ้ง
      • สถานีรายงานภูสิงห์
      • สถานีรายงานเขาจาน
      • สถานีรายงานบ้านเพ
      • สถานีรายงานเขาใหญ่
      • สถานีรายงานพิษณุโลก
      • สถานีรายงานสุรินทร์
      • สถานีรายงานภูเขียว
      • สถานีรายงานภูหมันขาว
      • สถานีรายงานเกาะสมุย
      • สถานีรายงานภูเก็ต
      • สถานีรายงานหาดใหญ่
    • หน่วยในระบบควบคุมทางอากาศยุทธวิธี
      • ศูนย์สนับสนุนทางอากาศโดยตรงที่ 1 ดอนเมือง
      • ศูนย์สนับสนุนทางอากาศโดยตรงที่ 2 นครราชสีมา
      • ศูนย์สนับสนุนทางอากาศโดยตรงที่ 3 พิษณุโลก
      • ศูนย์สนับสนุนทางอากาศโดยตรงที่ 4 นครศรีธรรมราช
      • กองกำลังทางอากาศเฉพาะกิจที่ 9 ปัตตานี
    • ฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม
      • ฝูงบิน 509 หัวหิน
      • ฝูงบิน 206 วัฒนานคร
      • ฝูงบิน 106 อู่ตะเภา
      • ฝูงบิน 207 ตราด
      • ฝูงบิน 237 น้ำพอง**
      • ฝูงบิน 236 สกลนคร
      • ฝูงบิน 238 นครพนม
      • ฝูงบิน 466 น่าน
      • ฝูงบิน 417 เชียงราย
  • หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
  • กรมทหารสารวัตรทหารอากาศ

12.ส่วนส่งกำลังบำรุง กองทัพอากาศไทย

  • กรมช่างอากาศ
  • กรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ
    • สถานีวิทยุกระจายเสียงทหารอากาศ (สนว.กจ.ทอ.)
    • สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพอากาศ (AFCTV หรือ Air Force Channel TV.)
  • กรมสรรพาวุธทหารอากาศ
  • กรมแพทย์ทหารอากาศ
    • โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
    • โรงพยาบาลจันทรุเบกษา
  • กรมพลาธิการทหารอากาศ
  • กรมช่างโยธาทหารอากาศ
  • กรมขนส่งทหารอากาศ

13.ส่วนกิจการพิเศษ กองทัพอากาศไทย

  • ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ
  • กรมสวัสดิการทหารอากาศ
  • สำนักงานผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง (สห.ทอ.)
  • สถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศ

14.รายชื่อสถานบันของ กองทัพอากาศไทย

  • โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
  • โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ
  • โรงเรียนจ่าอากาศ
  • วิทยาลัยการทัพอากาศ
  • โรงเรียนนายทหารอากาศอาวุโส
  • โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง
  • โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับหมวด
  • โรงเรียนนายทหารชั้นประทวน
  • โรงเรียนครูทหาร
  • โรงเรียนการบิน กำแพงแสน
  • วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ

15.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กองทัพอากาศไทย

  • ​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​หน่วยงานภาครัฐ
    • เว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (e-Government Portal)​
    • เว็บไซต์รัฐบาลไทย​​​
  • ส่วนราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม
    • กระทรวงกลาโหม​​
    • กองบัญชาการกองทัพไทย​
    • กองทัพบก
    • กองทัพเรือ​
  • ส่วนโรงเรียนหลักของกระทรวงกลาโหม
    • โรงเรียนนายร้อยพ​ระจุลจอมเกล้าฯ
    • โรงเรียนนายเรือ
    • โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช​​
    • โรงเรียนเตรียมทหาร​
  • หน่วยงานบริการของกองทัพอากาศ​
    • หอสมุ​ดกองทัพอากาศ
    • กองการฌาปนกิจ ทอ.
    • ศูนย์พัฒนากีฬากองทัพอากาศ
    • หอประชุมกองทัพอากาศ
    • ​โครงสร้างพื้นฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ​กองทัพอากาศ
    • พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่​งชาติ
  • สหกรณ์ออมทรัพย์​
    • สหกรณ์ออมทรัพย์ บก.ทอ.​​
  • สมาคม
    • สมาคมแม่บ้านทหารอากาศ
    • มูลนิธิศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร
  • เว็บไซต์ด้านการทหารของมิตรประเทศ
    • U.S. Air Force
    • Royal Air Force​
    • Royal Australian Air Force
    • Republic of Singapore Air Force​

16.วิธีการสมัครทหารอากาศ

วิธีการสมัครทหารอากาศนั้นเปิดรับสมัครสอบทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น สามารถสมัครได้ที่ rtaf-recruit.com ตลอด 24 ชั่วโมง (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)

17.คุณสมบัติที่จำเป็นเพื่อเข้าสมัครทหารอากาศ

คุณสมบัติที่จำเป็นเพื่อเข้าสมัครทหารอากาศ แบ่งออกเป็น 2 ระดับชั้น

  1. สัญญาบัตร (ติดยศ เรืออากาศตรี)
    • อายุ 18-35 ปี
    • วุฒิ ป.โท ในปี 2563 เปิดรับ 3 อัตรา
    • วุฒิ ป.ตรี ในปี 2563 เปิดรับ 87 อัตรา
  2. ประทวน (ติดยศ จ่าอากาศตรี)
    • อายุ 18-30 ปี
    • วุฒิ ปวส. ในปี 2563 เปิดรับ 13 อัตรา
    • วุฒิ ปวช. ในปี 2563 เปิดรับ 438 อัตรา
    • วุฒิ ปวช./ม.6 ในปี 2563 เปิดรับ 367 อัตรา

18.หลักเกณฑ์รับรองคุณวุฒิ เพื่อเข้าสอบคัดเลือกรับราชการในกองทัพอากาศ

หลักเกณฑ์และวิธีการรับรองคุณวุฒิการรับรองคุณวุฒิ มีวิธีการดังต่อไปนี้

  • ต้องเป็นคุณวุฒิการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะจากภาครัฐหรือองค์กรวิชาชีพที่มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย
  • กรณีที่เป็นหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพ ต้องเป็นการจัดหลักสูตรการศึกษาที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ของหน่วยงาน/องค์กรวิชาชีพที่มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายในการรับรองคุณวุฒิการศึกษาของหน่วยงานที่จะบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้
    • เพื่อให้หน่วยงานได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถไม่ต่ํากว่ามาตรฐานที่กําหนดมาปฏิบัติราชการ
    • เพื่อกําหนดเงินเดือนที่ควรได้รับให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของผู้มีคุณวุฒิดังกล่าว โดยคํานึงถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของตําแหน่งที่ต้องใช้คุณวุฒินั้นๆ มาประกอบด้วย
    • เพื่อความถูกต้องในการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการตามคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง

19.​ที่ตั้ง กองทัพอากาศไทย

​ที่ตั้ง ​171 ถนนพหลโยธิน แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210

20.ติดต่อ กองทัพอากาศไทย

  • ​​​​​​​​​ติดต่อสอบถามหรือแสดงความคิดเห็น​​ : Call Center
    • โทร. 0-2534-6000​
    • โทรสาร 0-2534-1930
  • ​​ติดต่อ​​สอบถามเรื่องข่าวประชาสัมพันธ์​ (เฉพาะการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของ ทอ.) : กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ​
    • โทร. 0-2534-1604​
  • ติดต่อ​​สอบถามเรื่องการใช้งานจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (RTAF Mail) : กรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์​
  • ติดต่อ​​สอบถามปัญหาการใช้เครือข่าย ทอ. : กรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
    • โทร. 0-2534-3499, 0-2534-4979​
    • อีเมล์ : ​[email protected]​​​
  • ติดต่อ​​สอบถามความปลอดภัยด้านสารสนเทศ : กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทหารอากาศ​​​​