รวม 20 เรื่อง โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

985
รวม 20 เรื่อง โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
รวม 20 เรื่อง โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
เนื้อหา ซ่อน

1.โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า คือ

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า คือ สถาบันอุดมศึกษาที่สร้างผู้นำให้มีความรู้ มีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม และอุดมการณ์ ซึ่งจะมีการเปิดรับสมัครสอบเข้าโรงเรียนนายร้อย ในทุกๆปี โดยตัวโรงเรียนสังกัดอยู่ในกรมยุทธศึกษาทหารกองทัพบก ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก

2.ประวัติ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้านั้น กำเนิดขึ้นพร้อมๆ กับกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ โดยมีจุดเริ่มจากการจัดตั้งทหารมหาดเล็กเด็กที่ถูกเรียกวว่า “ทหารมหาดเล็กไล่กา” ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้ขยายกำลังขึ้นโดยฝึกข้าหลวงเดิมให้เป็นทหารมหาดเล็กสมทบกับพวกมหาดเล็กไล่การวม 24 คน จึงถูกเรียกทหารในชุดนี้ว่า “ทหาร 2 โหล” ต่อมาก็ได้เพิ่มจำนวนทหารมหาดเล็กขึ้นเป็น 72 คน เป็นกองทหารมหาดเล็กสำหรับรักษาพระองค์อย่างใกล้ชิด

ต่อมาในปี พ.ศ. 2423 ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้งกรมทหารหน้าขึ้น นี่จึงเป็นจุดกำเนิด “คะเด็ตทหารหน้า” ขึ้นอีกแห่ง และได้เร่งปรับปรุงกิจการทหารโดยลำดับ เมื่อเจริญกว้างขวางและเป็นแบบแผนขึ้นบ้างแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จัดตั้งโรงเรียนสอนวิชาทหารสำหรับทหารบกทั่วไปขึ้น โดยจะให้ใช้พื้นที่บริเวณหลังพระราชวังสราญรมย์เป็นสถานที่ตั้ง โดยทำการรวมคะเด็ตทหารมหาดเล็ก คะเด็ตทหารหน้า นักเรียนแผนที่ และส่วนที่เป็นทหารสก๊อตเข้าด้วยกัน และใช้ชื่อรวมว่า “คะเด็ตสกูล” สำหรับนักเรียนเรียกว่า “คะเด็ต” ด้วยเหตุนี้ในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาทรงกระทำพิธีเปิดโรงเรียนคะเด็ตสกูลอย่างเป็นทางการ โดยมีนายพันเอกนิคาล วอลเกอร์ (Nical Walger) เป็นผู้บังคับการคนแรก

หลังจากนั้นหลายปีต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าสถานที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกคับแคบ ทั้งยังไม่เพียงพอแก่การที่จะผลิตนักเรียนเพิ่มขึ้นทันกับความต้องการของสถานการณ์ในช่วงเวลานั้น จึงทำการโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่ดินติดถนนราชดำเนินนอก เป็นเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่เศษ เพื่อก่อสร้างโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม เสร็จแล้วพระองค์ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงกระทำพิธีเปิดโรงเรียนในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2452 ต่อมาถึงแม้โรงเรียนนายร้อยชั้นปฐม และโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยมได้ดำเนินการมาด้วยดี แต่เศรษฐกิจของชาติตกต่ำลง ทางกระทรวงกลาโหมจึงให้รวมโรงเรียนนายร้อยทั้งสองนี้เข้าด้วยกันดดยมีชื่อเรียกว่า “โรงเรียนนายร้อยทหารบก” ซึ่งตัวโรงเรียนจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมยุทธศึกษาทหารบก

จนมาถึงวัยที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2491 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนนายร้อยทหารบก เป็น “โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า” จนชื่อของโรงเรียนแห่งนี้ถูกใช้มาจนถึงปัจจุบัน

3.หลักสูตรการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

หลักสูตรการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จะมีดังต่อนี้

  1. วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
  2. วิศวกรรมเครื่องกล
  3. วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
  4. วิศวกรรมโยธา
  5. วิศวกรรมแผนที่
  6. วิทยาศาสตรบัณฑิต
  7. วิทยาการคอมพิวเตอร์
  8. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  9. ศิลปศาสตรบัณฑิต
  10. สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา

4.ต้นไม้ประจำโรงเรียน

ดอกไม้ประจำโรงเรียน โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า คือ จำปีสิรินธร เป็นพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลก ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น นักวิชาการ 10 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทยเป็นผู้ค้นพบ ซึ่งมีลักษณะลำต้นใหญ่สูง โดยประมาณ 20 – 30 ม. และตัวใบเหมือนจำปีทั่วไป แต่ใหญ่กว่า ส่วนตัวดอกขาวสีนวล มีกลีบดอกประมาณ 12-15 กลีบ และเมื่อดอกโรยแล้วจะมีเมล็ดเป็นช่ออยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยพล.อ.หญิงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นผู้มอบ “จำปีสิรินธร” ให้เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เพื่อความเป็นสิริมงคล

5.ความรับผิดชอบ / ความทันสมัย / ความภักดี ของโรงเรียน

  • มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ทั้งต่อตนเอง สังคมและประเทศชาติ พร้อมที่จะเสียสละ
    ความสุขส่วนตัวเพื่อให้ภารกิจที่ได้รับมอบหมายสำเร็จ
  • มีความรู้เท่าทันโลก ทันสถานการณ์ สามารถนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้เพื่อให้เกิด
    ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน
  • มีความจงรักภักดีพร้อมที่จะอุทิศตนเพื่อรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

6.วิสัยทัศน์

“วิสัยทัศน์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า คือ สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทางทหารที่ผลิตนายทหาร สัญญาบัตรหลักชั้นนำในระดับหมวด เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ”

7.ปรัชญา

“ปรัชญา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า คือ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่สร้างผู้นำให้มีความรู้ มีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม และอุดมการณ์ความรักชาติ”

8.ปณิธาน

“ปณิธาน โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า คือ มุ่งผลิตนายทหารสัญญาบัตรที่มีคุณลักษณะ และขีดความสามารถที่กองทัพบกต้องการ และเป็นที่ยอมรับของสังคม”

9.เอกลักษณ์

“เอกลักษณ์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า คือ สถาบันผลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักของกองทัพบก”

10.อัตลักษณ์

“ อัตลักษณ์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า คือ สุภาพบุรุษ นักรบ นักพัฒนา ที่มีความเป็นผู้นำ ยึดมั่นอุดมการณ์ เทิดทูน ชาติ ศาสน์กษัตริย์”

11.พันธกิจ

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มีพันธกิจที่ต้องปฏิบัติได้แก่

  • ผลิตนักเรียนนายร้อยให้เป็นนายทหารสัญญาบัตรหลักตรงตามคุณลักษณะที่กองทัพบกต้องการ
  • เทิดทูนและดำรงไว้ซึ่ง สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
  • ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีทางทหาร
  • สร้างองค์กรความรู้ทางวิชาการ วิชาทหาร การวิจัย และการเสริมสร้างคุณลักษณะผู้นำทางทหาร
  • ให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม
  • บริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

12.ตราสัญญลักษณ์ของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

ตราสัญญลักษณ์ของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เริ่มต้นในรัชช่วงสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ เสวกเอก หม่อมเจ้าประวิช ชุมสายพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม ผูกตราประจำประเทศขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2416 โดยอิงกับหลักการผูกตราของทางยุโรปที่เรียกกันว่า Heraldry ตรานี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ตราแผ่นดิน” โดยจะมีลักษณะดังต่อไปนี้

  • ส่วนบนสุดตรงกลาง คือ ภาพพระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี หมายถึงความเป็นพระมหากษัตริย์ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกฎเป็นภาพจักรและตรีไขว้ เรียกว่า ตรามหาจักรี อันเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องหมายแทนนามราชวงศ์จักรี ความหมายโดยรวมจึงแปลว่า พระมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี
  • ทางด้านซ้ายและขวาของพระมหาพิชัยมงกฎเป็นรูปฉัตร 7 ชั้น อันเป็นเครื่องหมายแห่งราชาธิปไตย ที่เป็นฉัตร 7 ชั้น ก็เพราะว่าเป็นฉัตรสำหรับใช้ประกอบกับนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ฉัตร 9 ชั้น) ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงพระราชอิสริยศของพระมหากษัตริย์ การใช้รูปดังกล่าวจึงเป็นการประกาศให้รู้ว่า ดินแดนสยามอยู่ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ผู้เป็นสยามินทราธิราช
  • ใต้ลงมาเป็นรูปโล่แบ่งออกเป็น 3 ห้อง โดยส่วนบนแบ่งเป็น 1 ห้อง ส่วนล่างเป็น 2 ห้อง มีความหมายดังนี้
    • ห้องด้านบนเป็นภาพช้าง 3 เศียร หมายถึง สยามเหนือ, สยามกลาง และสยามใต้ พื้นโล่เป็นสีเหลือง
    • ห้องล่างด้านขวาเป็นภาพช้างเผือก หมายถึงประเทศราชลาวล้านช้าง (กรุงศรีสัตนาคนหุต) พื้นโล่เป็นสีแดง
    • ห้องล่างด้านซ้ายเป็นภาพกริชคดและกริชตรงไขว้กัน หมายถึง หัวเมืองประเทศราชมลายู พื้นโล่เป็นสีชมพู
  • ความหมายโดยรวมของรูปสัญลักษณ์ภายในโล่จึงหมายถึงขอบขัณฑสีมาทั้งหมดของประเทศสยามในเวลานั้น
  • ต่อจากฉัตรทางด้านขวาเป็นภาพคชสีห์ประคองฉัตร ส่วนทางด้านซ้ายเป็นภาพราชสีห์ประคองฉัตร คชสีห์หมายถึงข้าราชการฝ่ายกลาโหม ซึ่งเป็นใหญ่ทางฝ่ายทหาร ส่วนราชสีห์หมายถึง ข้าราชการฝ่ายมหาดไทย ซึ่งเป็นใหญ่ทางฝ่ายพลเรือน ทั้งสองฝ่ายนี้มีหน้าที่ป้องกันพระราชอาณาจักรและค้ำจุนพระราชบัลลังก์
  • ส่วนขอบโล่ด้านล่างสุดล้อมรอบด้วยพระมหาสังวาลนพรัตน์รัตนราชวราภรณ์ หมายถึง พระพุทธศาสนา มีที่มาจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระมหาสังวาลนพรัตน์รัตนราชวราภรณ์ก็นับเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดนี้ด้วย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดให้พระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการที่กระทำคุณงามความดีต่อชาติอย่างใหญ่หลวง โดยเงื่อนไขสำคัญในการพระราชทานนั้นกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า จะพระราชทานให้แก่บุคคลที่เป็นพุทธมามกะเท่านั้น
  • ส่วนใต้พระมหาสังวาลนพรัตน์รัตนราชวราภรณ์ คือ สายสร้อยจุลจอมเกล้าพร้อมดวงตรา หมายถึงการบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ อันเป็นภาษิตของเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้น เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบแก่ผู้ที่ปฏิบัติราชการด้วยความซื่อสัตย์ต่อแผ่นดิน และพระบรมราชวงศ์ และบุตรทายาทของผู้ปฏิบัติราชการ โดยพระราชทานสืบสกุลลงไปจนสิ้นสายบุตรชายเพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล และเพื่อให้ผู้สืบสกุลกระทำความชอบต่อแผ่นดิน และสามัคคีกันรับใช้ชาติให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
  • ส่วนล่างสุดของภาพ คือ คาถาภาษาบาลี จารึกบนแพรแถบด้วยอักษรไทย เป็นข้อความว่า “สพฺเพสํ สงฺฆภูตานํ สามคฺคี วุฑฺฒิสาธิกา” แปลว่า “ความพร้อมเพรียงของบุคคลทั้งปวงผู้อยู่เป็นหมวดหมู่กัน ย่อมเป็นเครื่องทำความเจริญให้สำเร็จ” คาถาบทนี้เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ซึ่งได้ใช้เป็นข้อเตือนใจประจำโรงเรียนเตรียมทหารในเวลาต่อมาอีกด้วย
  • เครื่องหมายอื่นๆ ที่แทรกอยู่ในตรา แต่เห็นได้ไม่สู้ชัดเจนนัก คือ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้ง 5 อันเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยสมบูรณ์ ดังบรรยายต่อไปนี้
    • ตรงกลางภาพส่วนบนสุดเป็นภาพพระมหาพิชัยมงกุฎ
    • บนมุมซ้ายด้านบนของโล่เป็นส่วนหนึ่งของพระแสงขรรค์ชัยศรี และพระแส้หางจามรี
    • บนมุมขวาด้านบนของโล่เป็นส่วนหนึ่งของธารพระกรไม้ชัยพฤกษ์ และพัดวาลวิชนี
    • ส่วนฉลองพระบาทเชิงงอนแยกอยู่ริมฐานฉัตรด้านละ 1 ข้าง
    • เบื้องหลังตราแผ่นดินที่มีลักษณะเป็นจีบคล้ายผ้าม่าน คือ ฉลองพระองค์ครุยทอง
  • องค์พระราชลัญจกรตราแผ่นดินนั้นเป็นตรากลม มีอักษรตามขอบพระราชลัญจกรจารึกไว้ว่า “สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามกุฎ พระจุลจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม”

13.ค่านิยม โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

ค่านิยมโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า นั้นจะต้องเป็นผู้นำทหารที่คุณลักษณะผู้นำ 14 ประการดังนี้

  1. มีบุคลิก ลักษณะท่าทางที่สง่างาม (Bearing)
  2. รู้จักกาละเทศะ (Tact)
  3. ยึดมั่นในความยุติธรรม (Justice)
  4. มีความซื่อสัตย์สุจริต (Integrity)
  5. มีความกล้าหาญ (Courage)
  6. มีความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ (Decisiveness)
  7. มีความอดทนทั้งร่างกายและจิตใจ (Endurance)
  8. มีความกระตือรือล้น (Enthusiasm) ในการทำงาน
  9. รักการแสวงหาความรู้ (Knowledge)
  10. สามารถใช้ประสบการณ์และความรู้ของตนเองในการพินิจพิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง (Judgment) เหมาะสม
  11. มีความคิดริเริ่ม (Initiative) ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
  12. ได้รับความไว้วางใจ (Dependability) จากผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา
  13. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ไม่เอาเปรียบผู้อื่น (Unselfishness)
  14. มีความภักดี (Loyalty) ต่อเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา หน่วยงานของตนเอง ตลอดจนกองทัพและประเทศชาติ

14.ช่วงระยะเวลาในการสมัครเข้า โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

ช่วงระยะเวลาในการสมัครเข้า โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าจะอยู่ในเดือน ธันวาคม – กุมภาพันธ์

15.วิธีการสมัครเข้า โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

สามารถสมัครผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ crma.ac.th

16.คุณสมบัติของผู้สมัคร

คุณสมบัติของผู้สมัคร ได้แก่

  • เป็นบุคคลพลเรือนชาย อายุ 16-18 ปีบริบูรณ์
  • มีวุฒิการศึกษาจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หรือเทียบเท่า

17.จุดมุ่งหมายในการฝึกและศึกษาด้านวิชาทหาร

จุดมุ่งหมายในการฝึกและศึกษาด้านวิชาทหาร ในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จะแบ่งออกเป็นชั้นปี ดังนี้

  • ชั้นปีที่ 1 ทำการฝึกและศึกษาวิชาทหารเบื้องต้นในระดับบุคคล เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถเป็นบุคคล และหลักพื้นฐานการรบ
  • ชั้นปีที่ 2 ทำการฝึกและศึกษาวิชาทหารในระดับหัวหน้าชุดยิง และผู้บังคับหมู่ปืนเล็กเพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการน าหน่วยระดับหัวหน้าชุดยิงและผู้บังคับหมู่ปืนเล็ก
  • ชั้นปีที่ 3 ทำการฝึกและศึกษาวิชาทหารในระดับผู้บังคับหมวด เพี่อให้มีความสามารถในการน าหน่วยระดับหมวด และความรู้ที่จ าเป็นในการปฏิบัติการทางทหาร
  • ชั้นปีที่ 4 ทำการฝึกและศึกษาวิชาทหารในเรื่องที่จ าเป็นส าหรับการเป็นผู้น าหน่วย และวิชาการแขนงอื่นๆเพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการน าหน่วยทหารขนาดเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ชั้นปีที่ 5 ทำการฝึกและศึกษาวิชาทหารเพิ่มเติมในเรื่องที่จ าเป็นอื่นๆ ในการรับราชการ การดูงาน การฝึกปฏิบัติงานตามหน้าที่ และการฝึกเพิ่มเติมพิเศษส าหรับผู้บังคับหน่วย เพื่อให้มีความรู้ใน

18.สิ่งที่ได้รับช่วงที่เป็นนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

สิ่งที่ได้รับช่วงที่เป็นนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ได้แก่

  • ไม่มีค่าที่พัก ค่าเล่าเรียน ค่าอาหาร และค่ารักษาพยาบาล
  • ได้รับเครื่องแต่งกาย และอุปกร์การศึกษาต่างๆ
  • ได้รับเงินเดือน และเบี้ยเลี้ยง จำนวนเงินที่ได้รับจะแตกต่างกันออกไปตามชั้นปี
  • มีทุนการศึกษาสนับสนุนผู้เรียนดี และมีความประพฤติดี
  • มีสิทธิจะได้รับทุนคัดเลือกไปศึกษาต่อในสถาบันทหารของต่างประเทศ

19.สิ่งที่ได้รับเมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

สิ่งที่ได้รับเมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ได้แก่

  • รับการแต่งตั้งยศเป็นร้อยตรี
  • สามารถบรรจุเข้าทำงานอยู่ในกองทัพบกได้ตามความรู้และความสามารถ
  • ได้รับพระราชทานกระบี่ และปริญญาบัตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
  • ผู้ที่มีผลการเรียนโดดเด่นและมีความประพฤติดีนั้น มีสิทธิ์สอบคัดเลือกเข้าไปศึกษาต่อต่างประเทศ ด้วยทุนของกองทัพบก

20.ติดต่อ

  • ที่อยู่ : โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ถนนสุวรรณศร ตำบลพรหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก 26001
  • เบอร์โทรศัพท์ : 0-3739-3010-4 หรือ 0-2241-2691-4