รวม 20 เรื่อง โรงเรียนนายสิบทหารบก

1270
รวม 20 เรื่อง โรงเรียนนายสิบทหารบก
รวม 20 เรื่อง โรงเรียนนายสิบทหารบก
เนื้อหา ซ่อน

1.โรงเรียนนายสิบทหารบก คือ

โรงเรียนนายสิบทหารบก คือ โรงเรียนหลักที่ใช้เพื่อผลิตนายทหารชั้นประทวนให้กับกองทัพบก จะมีการประกาศเปิดรับเข้าโรงเรียนนายสิบทหารบก ทุกปี โดยใช้เวลาในการศึกษา 1 ปี โดยในช่วง 6 เดือนแรกจะเน้นศึกษาวิชาทหารแต่ก็จะมีวิชาการเล็กๆน้อยๆที่ร.ร.นายสิบทหารบก หลังจากนั้นจึงจะให้นักเรียนนายสิบเลือกเหล่าที่ตนเองต้องการศึกษาตามลำดับคะแนนของ 6 เดือนแรก แล้วจึงเริ่มศึกษาต่อ ณ โรงเรียนเหล่าสายวิทยาการอีกจำนวน 6 เดือน จึงได้รับการแต่งตั้งยศเป็นสิบตรี

2.ประวัติ โรงเรียนนายสิบทหารบก

ในสมัยปี พ.ศ. 2424 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนสำหรับให้การศึกษาแก่ผู้ที่จะเป็นนายร้อย นายสิบขึ้นมาในกรมมหาดเล็ก โดยโรงเรียนทั้งสองแห่งต่างแยกกันดำเนินการออกไป จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่าการแยกกันดำเนินการทำให้ขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมโรงเรียนทั้งสองแห่งเข้าด้วยกัน เรียกว่า “โรงเรียนทหารสราญรมย์” และได้ตราข้อบังคับสำหรับโรงเรียนขึ้นเรียกว่า “บัญญัติโรงเรียนทหารสราญรมย์” ข้อบังคับฉบับนี้แสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้พระราชทานกำเนิดวิชาชีพทหารขึ้นในสังคมไทย และวางรากฐานทางการทหารไว้อย่างมั่นคง นับตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนนายสิบ ได้มีการพัฒนาปรับปรุง และปิดอัตรารวมทั้งยุบเลิกหลายครั้ง เพื่อทำให้สอดคล้องกับสภาวะความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและการทหารของประเทศ

ต่อมาในวันที่ 23 มิ.ย. 2510 กองทัพบกได้อนุมัติให้จัดตั้งโรงเรียนนายสิบทหารบกขึ้นอีกครั้ง โดยครั้งนี้ให้ขึ้นการบังคับบัญชาต่อกรมยุทธศึกษาทหารบก ซึ่งมีที่ตั้งปกติ ณ ค่ายธนะรัชต์ โรงเรียนนายสิบทหารบกจึงถูกยึดถือวันที่ 23 มิ.ย. ของทุกปี ให้เป็นวันสถาปนาของหน่วยนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

3.ภารกิจหลัก โรงเรียนนายสิบทหารบก

ภารกิจหลัก โรงเรียนนายสิบทหารบก คือ การที่ให้การฝึกศึกษาแก่นักเรียนนายสิบทหารบกตามหลักสูตรที่กองทัพบกกําหนด โดยมีผู้บัญชาการโรงเรียนนายสิบทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

4.ความมุ่งหมาย โรงเรียนนายสิบทหารบก

ความมุ่งหมาย โรงเรียนนายสิบทหารบก คือการเตรียมบุคลากรของกองทัพ ให้เป็นผู้นำในระดับยุทธศาสตร์และผู้บริหาร ที่มีวิสัยทัศน์ มีจริยธรรม มีอุดมการณ์ที่ยึดมั่นต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

5.ส่วนราชการโรงเรียนนายสิบทหารบก

ส่วนราชการโรงเรียนนายสิบทหารบก สามารถแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ได้ดังนี้

ผนกธุรการ แผนกกําลังพล แผนกยุทธการและการข่าว แผนกส่งกําลังบํารุงแผนกประเมินผลและสถิติ มีหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชา อํานวยการกิจการภายในโรงเรียนนายสิบทหารบก และจัดให้มีสํานักงานประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของหน่วย

  1. กองบัญชาการ ประกอบด้วยแผนกธุรการ แผนกกําลังพล แผนกยุทธการและการข่าว แผนกส่งกําลังบํารุงแผนกประเมินผลและสถิติ มีหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชา อํานวยการกิจการภายในโรงเรียนนายสิบทหารบก และจัดให้มีสํานักงานประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของหน่วย
  2. กรมนักเรียนประกอบด้วย กองบังคับการกรมนักเรียน, 3กองพันนักเรียน และ 1หมวดสนับสนุน มีหน้าที่ปกครองบังคับบัญชาและฝึกอบรม ปลูกฝังนิสัย วินัย และจัดการฝึกเบื้องต้นให้กับนักเรียนนายสิบทหารบก
  3. กองการศึกษา ประกอบด้วยแผนกเตรียมการ แผนกวิชาสามัญแผนกวิชาทั่วไป แผนกวิชาอาวุธและหลักยิงแผนกวิชายุทธวิธี แผนกวิชาการรบพิเศษ แผนกวิชายานยนต์แผนกวิชาสื่อสาร และแผนกห้องสมุด มีหน้าที่ดําเนินจัดการฝึกศึกษาให้กับนักเรียนนายสิบทหารบกตามที่หลักสูตรกําหนด
  4. กองบริการประกอบด้วย แผนกพลาธิการ แผนกยุทธโยธา แผนกขนส่ง แผนกสรรพาวุธ แผนกเครื่องช่วยฝึกและกองร้อยบริการ มีหน้าที่ให้การสนับสนุนการฝึกศึกษานักเรียนนายสิบรวมทั้งจัดการฝึกหลักสูตรของทหารกองประจําการและการฝึกตามวงรอบประจําปีของหน่วย
  5. หน่วยตรวจโรคประกอบด้วยกองบังคับการ ส่วนตรวจโรคและรักษาโรค ส่วนเภสัชกรรม และส่วนทันตกรรมมีหน้าที่ดําเนินการเรื่องเวชกรรมป้องกัน การปฐมพยาบาล และการรักษาพยาบาลขั้นต้น ให้กับกําลังพลโรงเรียนนายสิบทหารบก

6.การแยกเหล่าของ โรงเรียนนายสิบทหารบก

ในปัจจุบันโรงเรียนนายสิบทหารบก จะมีการแยกเหล่าของออกเป็น 13 เหล่า โดยให้นักเรียนเลือกศึกษาโดยจะเรียงตามลำดับคะแนนที่ได้จากการเรียน ณ โรงเรียนนายสิบทหารบก ซึ่งใน 13 เหล่าที่มีให้เลือกนั้น จะมีดังต่อไปนี้

  1. เหล่าทหารราบ
  2. เหล่าทหารม้า
  3. เหล่าทหารปืนใหญ่
  4. เหล่าทหารช่าง
  5. เหล่าทหารสื่อสาร
  6. เหล่าทหารการสัตว์
  7. เหล่าทหารขนส่ง
  8. เหล่าทหารสรรพาวุธ
  9. เหล่าทหารพลาธิการ
  10. เหล่าทหารการเงิน
  11. เหล่าทหารสารบรรณ
  12. เหล่าทหารแพทย์
  13. เหล่าทหารการข่าว

7.สัญลักษณ์ประจำ โรงเรียนนายสิบทหารบก

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน​จะมีลักษณะเป็นกลีบ ปลายแหลมเชื่อมติดกันเป็นแฉก ชี้ไปทุกทิศทุกทาง รูปดอกจัน แสดงถึงนักเรียนนายสิบที่เมื่อสำเร็จออกไปรับราชการ จะต้องออกไปจากโรงเรียนแยกย้ายกันไปทุกทิศทุกทางทั่วประเทศ เพื่อไปรับใช้ชาติ และประชาชน ลักษณะกลีบดอก หมายถึงสถาบันโรงเรียนนายสิบทหารบกที่โอบอุ้ม ผลก็คือนักเรียนนายสิบทหารบก มีความหมายเตือนใจ ไม่ให้ลืมตนว่ามาจากใหน และรำลึกถึงเกียรติยศชื่อเสียงของตนเอง รวมถึงสถาบันด้วย ความหมายที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ลักษณะของดอกจันส่วนใหญ่มี 5 แฉกมีลักษณะคล้ายดาวเป็นเครื่องหมายยศของของนายทหารสัญญาบัตร ซึ่งถือเป็นความสำเร็จสูงสุดของผู้ที่จบจากสถาบันแห่งนี้

8.ความหมายของตรา โรงเรียนนายสิบทหารบก

ความหมายของตราโรงเรียน จะประกอบไปด้วย

  • จัก และคบเพลิง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกรมยุทธศึกษาทหารบก ซึ่งจักร หมายถึง กองทัพบก
  • คบเพลิง หมายถึง แสงสว่างของปัญญา ความรู้
  • ดอกจัน คือ นักเรียนนายสิบทหารบก
  • แพรแถบที่ระบุนามหน่วย หมายถึง โรงเรียนนายสิบทหารบก ที่หน่วยขึ้นตรงของกรมยุทธศึกษาทหารบก

9.การแบ่งกองร้อย ในโรงเรียนนายสิบทหารบก

ปัจจุบัน โรงเรียนนายสิบทหารบก ได้กองพันนักเรียนออกเป็น 3 กองพัน กองร้อยนักเรียน 12 กองร้อย และแต่ละกองร้อยจะมีสัตว์ที่เป็นชื่อเรียกกองร้อยแต่ละกองร้อย ดังนี้

  • พัน 1 ร้อย 1 (ร้อยกระทิง)
  • พัน 1 ร้อย 2 (ร้อยสิงโต)
  • พัน 1 ร้อย 3 (ร้อยอินทรี)
  • พัน 1 ร้อย 4 (ร้อยคชสาร)
  • พัน 2 ร้อย 1 (ร้อยจงอาง)
  • พัน 2 ร้อย 2 (ร้อยฉลาม)
  • พัน 2 ร้อย 3 (ร้อยจระเข้)
  • พัน 2 ร้อย 4 (ร้อยอาชา)
  • พัน 3 ร้อย 1 (ร้อยเสือโคร่ง)
  • พัน 3 ร้อย 2 (ร้อยเลียงผา)
  • พัน 3 ร้อย 3 (ร้อยผึ้งหลวง)
  • พัน 3 ร้อย 4 (ร้อยหมูป่า)

10.ประเภทบุคคลที่จะรับสมัคร

ประเภทบุคคลที่จะรับสมัคร ได้แก่

  • บุคคลพลเรือน เพศชาย
  • ทหารกองประจำการ (ทุกผลัด)
  • พลทหารประจำการ ( พลอาสาสมัคร ) ในสังกัดกองทัพบก
  • อาสาสมัครทหารพราน ในส่วนของกองทัพบก

11.คุณสมบัติของผู้สมัครเข้า โรงเรียนนายสิบทหารบก

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้า โรงเรียนนายสิบทหารบก จะมีดังต่อไปนี้

  • ต้องสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเรียนจบสายสามัญ สายอาชีพที่เทียบเท่า
  • เป็นชายไทย อายุตั้งแต่ 18 ปี ถึง 22 ปี ไม่รับสมัครผู้ที่มีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ซึ่งต้องเข้ารับการตรวจเลือกทหารกองประจำการ และผู้ที่ขอผ่อนผันทุกกรณี ยกเว้นผู้ที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 3 (รด.ปี 3) ขึ้นไป
  • สำหรับทหารกองประจำการ, พลทหารประจำการ (พลอาสาสมัคร) และ อาสาสมัครทหารพราน ในส่วนของกองทัพบกต้องมีอายุไม่เกิน 24 ปี (ถ้าสมัครนักเรียนนายสิบเหล่าทหารราบจะต้องประจำการมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี)
  • ผู้สมัครต้องมีสัญชาติไทยและบิดา มารดา มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตรหรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้
  • มีร่างกาย รูปร่าง ลักษณะท่าทาง และขนาดของร่างกายเหมาะแก่การเป็นทหาร ไม่เป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
  • เป็นชายโสด และไม่เป็นผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว
  • ไม่อยู่ในสมณะเพศ
  • ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างเป็นจำเลยในคดีอาญา และไม่เคยต้องคำพิพากษาโทษจำคุก เว้นแต่ความผิดในลักษณะลหุโทษ หรือ ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
  • ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างพักราชการเนื่องจากความผิด หรือหนีราชการ
  • ไม่เป็นผู้ถูกปลดเพราะความผิดต่างๆ หรือถูกไล่ออกจากราชการ
  • ไม่เคยทุจริตในการสมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก
  • ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติด หรือสารเคมีเสพติดที่ให้โทษ
  • จำเป็นต้องว่ายน้ำได้เป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 25 เมตร

12.วิธีการสมัครสอบ โรงเรียนนายสิบทหารบก

วิธีการสมัครสอบ โรงเรียนนายสิบทหารบก จะมี 2 วิธีได้แก่

  1. สามารถสมัครทางออนไลน์ และสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ http://nco.rta.mi.th/nco/
  2. สามารถเดินทางไปสมัครได้ด้วยตนเอง ที่กรมยุทธศึกษาทหารบก ตามวันและเวลาที่กำหนดรับสมัครในช่วงเวลาแต่ละปี

13.หลักฐานในการสมัคร โรงเรียนนายสิบทหารบก

หลักฐานการสมัคร ผู้สมัครจะต้องยื่นหลักฐานต่อหน่วยรับสมัคร ดังต่อไปนี้

  • ใบสมัครสีขาว สำหรับบุคคลพลเรือน ทหารกองประจำการ สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองทัพเรือ และ กองทัพอากาศ สมัครด้วยตนเองเท่านั้น (ไม่ใช้รูปถ่าย กองอำนายการรับสมัครจะถ่ายรูปให้วันสมัคร)
  • ใบสมัครสีฟ้า สำหรับ ทหารกองประจำการ, พลอาสาสมัคร และอาสาสมัครทหารพรานในส่วนของกองทัพบกหากมิได้มาสมัครด้วยตนเองให้กรอกใบสมัคร พร้อมส่งรูปถ่ายหน้าตรงเป็นไฟล์ดิจิตอล JPEG ขนาด 320×240 ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตา และต้องเป็นรูปถ่ายไว้ไม่เกิน 3 เดือน ( บันทึกชื่อรูปโดยใช้หมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และรวบรวมเป็นหน่วยใส่แผ่นซีดีส่งมอบให้คณะกรรมการ ) และเอกสารที่กำหนด ส่งผ่านหน่วยต้นสังกัด
  • ใบสมัครสีเหลือง สำหรับ ทหารกองหนุน สมัครด้วยตนเองเท่านั้น (ไม่ใช้รูปถ่าย)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด พร้อมตัวจริง
  • หลักฐานแสดงคุณวุฒิ สำเนาประกาศนียบัตร หรือระเบียนแสดงผลการเรียน ( รบ.) หรือใบรับรองการศึกษาอย่างใดอย่างหนึ่ง จำนวน 1 ชุด พร้อมตัวจริง
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดง วัน เดือน ปี เกิด ที่ชัดเจนและระบุสัญชาติของบิดา มารดา ผู้ให้กำเนิด ในกรณีที่ทะเบียนบ้านไม่มีชื่อบิดา มารดา อยู่ในฉบับเดียวกัน จะต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา มาเพิ่มเติมด้วย
  • เอกสารการเปลี่ยน ชื่อ – นามสกุล (ถ้ามี) ในกรณีที่บิดา มารดาถึงแก่กรรม และไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ให้นำหลักฐานใบมรณบัตร หรือหลักฐานอื่นของทางราชการมาประกอบ เพื่อแสดงสัญชาติของบิดาหรือมารดาด้วย
  • สำเนา สด.8, สด.9 หรือ สด.43 แล้วแต่กรณี จำนวน 1 ชุด พร้อมตัวจริง
  • ทหารกองประจำการ พลอาสาสมัคร อาสาสมัครทหารพราน จะต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติม คือ หนังสือรับรองความประพฤติและยินยอมให้เข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก ของผู้บังคับบัญชา ระดับผู้บังคับกองพัน หรือเทียบเท่าขึ้นไป

14.คะแนนเพิ่มพิเศษสำหรับผู้สมัคร โรงเรียนนายสิบทหารบก

คะแนนเพิ่มพิเศษสำหรับผู้สมัครเข้าโรงเรียนนายสิบทหารบกนั้น จะได้รับต่อเมื่อตรงตามเงื่อนไขต่อไปนี้

  1. ต้องเป็นผู้สำเร็จหลักสูตรการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 5
  2. ต้องเป็นบุตรของผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ หรือเหรียญกล้าหาญ
  3. ต้องเป็นบุตรของทหาร ข้าราชการ หรือคนงาน ที่ประสบอันตรายถึงทุพพลภาพในขณะปฏิบัติราชการในหน้าที่ หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่ หรือต้องบาดเจ็บถึงตายเพราะเหตุนั้น
  4. ต้องเป็นบุตรของทหาร ข้าราชการ หรือคนงาน ซึ่งได้กระทำหน้าที่ในระหว่างเวลาที่มีการรบหรือสงคราม หรือมีการปราบปรามการจลาจล หรือในระหว่างที่มีพระบรมราชโองการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งมีสิทธิได้นับเวลาราชการเป็นทวีคูณตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
  5. ต้องเป็นนักกีฬาทีมชาติ หรือนักกีฬาทีมเยาวชนแห่งชาติ นักกีฬาเขตการศึกษา นักกีฬาทีมเขต (กีฬาแห่งชาติ) และนักกีฬากองทัพบก
  6. ต้องเป็นทหารกองประจำการที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการสนาม มาไม่น้อยกว่า 120 วัน ก่อนที่จะเดินทางมาสมัคร

15.หลักฐานเพิ่มเติมเพื่อขอรับสิทธิพิเศษในการสมัคร

หลักฐานเพิ่มเติมเพื่อขอรับสิทธิพิเศษหรือสิทธิคะแนนเพิ่ม ผู้สมัครซึ่งมีความประสงค์ขอรับสิทธิพิเศษ จะต้องยื่นหลักฐานเพิ่มเติม ในวันรับสมัคร ได้แก่

  • หลักฐาน แสดงว่าผู้สมัครสำเร็จหลักสูตรการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 5 ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร ซึ่งออกโดยศูนย์การกำลังสำรอง หรือ ศูนย์ฝึก/หน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหารของ มณฑลทหารบก, จังหวัดทหารบก เท่านั้น
  • หลักฐานแสดงว่าเป็นบุตรของผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ หรือเหรียญกล้าหาญ
  • หลักฐานแสดงว่าเป็นบุตรของทหาร ข้าราชการ หรือคนงาน ซึ่งต้องประสบอันตรายถึงทุพพลภาพ ในขณะปฏิบัติราชการในหน้าที่ หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่ หรือต้องบาดเจ็บถึงตายเพราะเหตุนั้น ซึ่งได้รับบำเหน็จบำนาญพิเศษ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือได้รับเงินค่าทำขวัญตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยคนงาน
  • หลักฐานแสดงว่าเป็นบุตรของทหาร ข้าราชการ หรือคนงาน ซึ่งได้กระทำหน้าที่ในระหว่างเวลาที่มีการรบ หรือสงคราม หรือ มีการปราบปรามการจลาจล หรือในระหว่างที่มีพระบรมราชโองการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งมีสิทธิได้นับเวลาราชการเป็นทวีคูณตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
  • หลักฐานแสดงว่า เป็นนักกีฬาทีมชาติ นักกีฬาทีมเขต (กีฬาแห่งชาติ) นักกีฬาทีมเยาวชนแห่งชาติ นักกีฬาเขตการศึกษา นักกีฬาทีมสโมสร (เฉพาะถ้วย ก.) และนักกีฬากองทัพบก ซึ่งออกให้โดยคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย การกีฬาแห่งประเทศไทย กรมพลศึกษา สมาคมการกีฬาแต่ละประเภท หรือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนากีฬากองทัพบก
  • ผู้ขอรับสิทธิตาม ข้อก่อนหน้า จะต้องแยกเขียนใบสมัครขอสิทธินักกีฬาในวันสมัคร พร้อมแสดงใบรับรองวุฒิบัตรสำหรับนักกีฬาแต่ละระดับต่อคณะกรรมการรับสมัครพร้อมสำเนา 1 ชุด ผู้ขอใช้สิทธินักกีฬาทุกระดับ จะต้องผ่านการทดสอบความสามารถทางกีฬา ตามวัน เวลา และสถานที่ ที่กรมยุทธศึกษาทหารบกกำหนด
  • หลักฐานแสดงว่าเป็นทหารกองประจำการที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการสนาม ไม่น้อยกว่า 120 วัน ก่อนวันที่จะสมัครเข้ารับการสอบคัดเลือก

16.การทดสอบภาควิชาการ

การทดสอบภาควิชาการ เป็นขั้นตอนแรกในการสอบภาควิชาการ เนื้อหา ม.ปลาย โดยจะมีวิชาที่ใช้ในการสอบดังนี้

  • คณิตศาสตร์
  • วิทยาศาสตร์
  • ภาษาไทย
  • ภาษาอังกฤษ

17.การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย

การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย เป็นขั้นตอนต่อมาหลังผ่านการทดสอบด้านวิชาการ โดยในการทดสอบด้านนี้นั้น จะทำการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ด้วยวิธีดังนต่อไปนี้

  • ว่ายน้ำ 25 เมตร
  • ดึงข้อ, ลุกนั่ง, ดันพื้น
  • วิ่ง 1000 เมตร

18.การสอบสัมภาษณ์และการตรวจร่างกาย

การสอบสัมภาษณ์ เข้าเป็นนายสิบทหารบกนั้นจะเป็นการวัดขนาดร่างกาย พิจารณารูปร่าง ท่าทาง ท่วงทีวาจา รวมถึงความว่องไว และไหวพริบ ตลอดไปจนคุณลักษณะอื่นๆ ที่เป็นคุณษณะลักษณะที่เหมาะสม

19.สถานที่ศึกษา โรงเรียนนายสิบทหารบก

สถานที่ศึกษา โรงเรียนนายสิบทหารบกนั้นแต่เดิมตั้งอยู่ภายใน ค่ายธนะรัชต์ หมู่ที่ 3 ต.เขาน้อย อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77160

ปัจจุบันได้ย้ายไปที่ค่ายโยธินศึกษามหามงกุฎ (ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย เดิม) ต.หนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77110

20.โอกาสได้เข้าเรียนต่อที่ โรงเรียนเตรียมทหาร

สำหรับผู้ที่มีผลการเรียนดีในแต่ละปีนั้นจะมีโควตาให้นักเรียนเพื่อศึกษาต่อที่ โรงเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ซึ่งผู้ที่จะรับเลือกนั้นจำเป็นต้องมีผลการเรียนที่ดี โดยจะเรียงจากลำดับจากคะแนนที่สอบได้จากโรงเรียนนายสิบทหารบก

ขอบคุณภาพจาก โรงเรียนนายสิบทหารบก