รวม 20 กรมสอบสวนคดีพิเศษ

1212
รวม 20 กรมสอบสวนคดีพิเศษ
เนื้อหา ซ่อน

1.กรมสอบสวนคดีพิเศษ คือ

กรมสอบสวนคดีพิเศษ (Department of Special Investigation) คือ หน่วยงานของรัฐ ที่สังกัดอยู่ในกระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่เพื่อป้องกัน ปราบปราม และควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

2.กรมสอบสวนคดีพิเศษ ก่อตั้งขึ้นเมื่อไหร่

กรมสอบสวนคดีพิเศษ ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Department of Special Investigation มีชื่อย่อว่าที่ถูกเรียกกันบ่อยครั้งคือ DSI

3.คณะกรรมการคดีพิเศษ

คณะกรรมการคดีพิเศษชุดปัจจุบัน (2 มกราคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน)

  1. นาย ธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
  2. นาย สราวุธ เบญจกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินการธนาคาร
  3. พลตำรวจเอก ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
  4. พลตำรวจโท ปัญญา เอ่งฉ้วน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสอบสวนคดีอาญา
  5. นาย รวี ประจวบเหมาะ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านความมั่นคงประเทศ
  6. ดร. มานะ นิมิตรมงคล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
  7. ดร. ภาสกร ประถมบุตร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  8. ดร. พันธุ์ทิพย์ นวานุช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
  9. ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์

4.อำนาจหน้าที่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ

กรมสอบสวนคดีพิเศษมีบทบาทภารกิจดังต่อไปนี้

  • รับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • ป้องกัน ปราบปราม สืบสวน และสอบสวนคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการคดีพิเศษประกาศกำหนดหรือตามมติของคณะกรรมการคดีพิเศษ ตลอดจนปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับ ความผิดทางอาญาที่เป็นคดีพิเศษ
  • ศึกษา รวบรวม จัดระบบ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ และเพื่อป้องกัน ปราบปราม สืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษ
  • จัดให้มีการศึกษา อบรม และพัฒนาระบบงานการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษการพัฒนาความรู้และการประเมินสมรรถภาพการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้างของกรม และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ หรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษหรือไม่
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมายและระเบียบที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมและงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

5.ภารกิจ กรมสอบสวนคดีพิเศษ

ภารกิจกรมสอบสวนคดีพิเศษ คือ การป้องกัน การปราบปราม การสืบสวนและการสอบสวนคดีความผิดทางอาญาที่ต้องดำเนินการสืบสวนและสอบสวนโดยใช้วิธีการพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ

6.อำนาจหน้าที่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ

  1. รับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  2. ป้องกัน ปราบปราม สืบสวน และสอบสวนคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการคดีพิเศษประกาศกําหนดหรือตามมติของคณะกรรมการคดีพิเศษ ตลอดจนปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาที่เป็นคดีพิเศษ
  3. ศึกษา รวบรวม จัดระบบ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ และเพื่อป้องกัน ปราบปราม สืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษ
  4. จัดให้มีการศึกษา อบรม และพัฒนาระบบงานการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษการพัฒนาความรู้และการประเมินสมรรถภาพการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้างของกรม และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษหรือไม่
  5. ดําเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมายและระเบียบที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของกรมและงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
  6. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

7.ตราสัญลักษณ์กรมสอบสวนคดีพิเศษ

ตราสัญลักษณ์กรมสอบสวนคดีพิเศษ

8.เหตุที่ต้องก่อตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ

จากสถานการณ์ของโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วการพัฒนาด้านเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจสังคมการเมืองวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมตลอดถึงการก่ออาชญากรรมต่างๆ โดยอาชญากรรมที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่ามหาศาล ละการใช้ช่องว่างของกฎหมายปิดบังความผิด ทั้งยังส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยตรงเป็นจำนวนมาก ทั้งยังมีอิทธิพลและเครืองข่ายองค์กร ที่โยงใยทั้งภายในและภายนอกประเทศทำให้ยากต่อการสืบสวนสอบสวน จึงต้องมีการจัดตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษขึ้นมา โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษแห่งราชอาณาจักรไทย (Department of Special Investigation) หรือ ดีเอสไอ DSI) เป็นหน่วยงานของรัฐ สังกัด กระทรวงยุติธรรม เพื่อป้องกัน ปราบปราม และควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

9.วิสัยทัศน์ (Vision)

เป็นองค์การหลักในการบังคับใช้กฎหมายกับอาชญากรรมพิเศษตามมาตรฐานสากล” โดยกำหนดความหมายของวิสัยทัศน์ ดังนี้

  • การบังคับใช้กฎหมาย หมายถึง การใช้อำนาจการสืบสวนสอบสวนตามที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม
  • อาชญากรรมพิเศษ หมายถึง อาชญากรรมซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากอาชญากรรมพื้นฐาน เป็นอาชญากรรมที่มีความสำคัญและจำเป็นต้องได้รับความสนใจเป็นกรณีพิเศษ โดยมีความละเอียดและซับซ้อน ยุ่งยาก และร้ายแรง อาทิ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (White Collar Crime) องค์กรอาชญากรรม (Organization Crime) อาชญากรรมข้ามชาติ (Transnational Crime)
  • มาตรฐานสากล หมายถึง หลักเกณฑ์มาตรฐานที่เป็นไปตามเกณฑ์ตัวชี้วัดหลักนิติธรรมขององค์การสหประชาชาติ (The United Nations Rule of Law Indicators) ประกอบด้วย หลักประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, หลักความเที่ยงตรง เป็นกลาง ความรับผิดชอบและความโปร่งใส, หลักการคุ้มครองบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการถูกละเมิด และหลักศักยภาพ โดยมีการประเมินด้วยตัวชี้วัด (KPIs) จำนวน 7 ตัว ได้แก่
    • การบรรลุเป้าหมายและผลผลิต
    • ความเชื่อมั่นจากสังคม
    • การทำงานที่ยึดถือเป้าหมายและความรับผิดชอบร่วมกัน
    • ความโปร่งใส
    • ความพร้อมด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ
    • ความพร้อมด้านทรัพยากรบุคคล
    • ประสิทธิภาพในการบริหารงาน

ทั้งนี้ การดำเนินการตามมาตรฐานดังกล่าว อยู่บนหลักพื้นฐานของมาตรา 29 (ว่าด้วยการรับโทษทางอาญา) และมาตรา 68 (ว่าด้วยสิทธิของบุคคลในกระบวนการยุติธรรม) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

10.พันธกิจ (Mission)

“ป้องกัน ปราบปราม สืบสวน สอบสวนและดำเนินคดีพิเศษอย่างมีประสิทธิภาพด้วยความเป็นธรรม”

11.เป้าหมาย (Goals)

เป้าประสงค์ (Goals)

  • การสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษที่มีมาตรฐาน
  • กระบวนการสนับสนุนที่เสริมสร้างประสิทธิภาพการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษที่เป็นรูปธรรม
  • ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเชื่อมั่นในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมพิเศษ
  • อัยการเห็นพ้องกับความเห็นของพนักงานสอบสวนในส านวนคดีพิเศษ
  • ศาลพิพากษาสอดคล้องกับส านวนคดีพิเศษ
  • มูลค่าทรัพย์สินและผลประโยชน์ของรัฐ เอกชน และประชาชนได้รับการปกป้อง รักษา เรียกคืน
  • บุคลากรเชี่ยวชาญในงานมีคุณธรรม จริยธรรม และมีความผาสุก
  • มีวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งสู่การอ านวยความยุติธรรม
  • ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลที่เชื่อมโยง ทันสมัย และปลอดภัย
  • มีนวัตกรรมและเครื่องมือสนับสนุนการสืบสวนสอบสวนที่มีประสิทธิภาพ และทันสมัย
  • การป้องกันอาชญากรรมพิเศษอย่างเป็นระบบ
  • ประชาชนรับรู้ เข้าใจ ภารกิจกรมสอบสวนคดีพิเศษ และตระหนักถึงภัยอาชญากรรมพิเศษ๑๓) ประชาชนทั่วไปรู้เท่าทัน และไม่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมพิเศษ๑๔) การพัฒนาองค์การของกรมสอบสวนคดีพิเศษตามหลักธรรมาภิบาล

12.ผลสัมฤทธิ์ (Result)

  1. เป็นที่เชื่อถือ ศรัทธาของสังคมในการป้องกันปราบปราม สืบสวนสอบสวนคดีพิเศษ
    • ตัวชี้วัด : ร้อยละความเชื่อมั่นของสาธารณชนที่มีต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษเพิ่มขึ้นทุกปี
  2. ปกป้อง รักษา เรียกคืนทรัพย์สิน และผลประโยชน์ให้แก่รัฐ เอกชน และประชาชน
    • ตัวชี้วัด : มูลค่าทรัพย์สิน/ผลประโยชน์ที่สามารถปกป้อง เรียกคืนให้แก่รัฐ เอกชน และประชาชน
  3. สาธารณชนรู้เท่าทันและไม่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมคดีพิเศษ
    • ตัวชี้วัด : ร้อยละของการรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับอาชญากรรมพิเศษเพิ่มขึ้นทุกปี

13.ยุทธศาสตร์ (Strategic Issue)

  1. พัฒนาระบบการสืบสวนสอบสวนที่มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล (Standard System)
  2. พัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความเป็นมืออาชีพ (Smart Agent)
  3. สร้างเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย (Super Technology)
  4. บูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน (Strong Collaboration)
  5. การบริหารจัดการองค์การเพื่อความยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล (Sustainable Administration)

14.ค่านิยม (Core Value)

“เกียรติศักดิ์ เชี่ยวชาญ ซื่อสัตย์”

  • เกียรติศักดิ์ (Dignity) หมายถึง มีความภาคภูมิใจ มีศักดิ์ศรี มีศรัทธาต่อองค์กร ดำรงตนอย่างมีเกียรติและมีศักดิ์ศรี เหมาะสมสถานะ มีวินัยในตนเองมีความรักสามัคคีต่อองค์การและเพื่อนร่วมงาน
  • เชี่ยวชาญ (Specialty) หมายถึง มีความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญอันเกิดจาก การสั่งสมประสบการณ์ในการทำงานจนเป็นที่ยอมรับของบุคลากรทั้งภายในและภายนอก
  • ซื่อสัตย์ (Integrity) หมายถึง มีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต ต่อตนเองและ ผู้อื่นการยึดหลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานยึดมั่น และปฏิบัติตามเศรษฐกิจพอเพียง

15.หน่วยงานในสังกัดกรมสอบสวนคดีพิเศษ

  • หน่วยงานให้มีตามกฎกระทรวงฯ
    • กลุ่มตรวจสอบภายใน
    • กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
  • หน่วยงานตามกฎกระทรวงฯ
    • สำนักงานเลขานุการกรม
    • กองกฎหมาย
    • กองกิจการต่างประเทศและคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ
    • กองคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    • กองคดีการเงินการธนาคารและการฟอกเงิน
    • กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ
    • กองคดีความมั่นคง
    • กองคดีคุ้มครองผู้บริโภค
    • กองคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ
    • กองคดีทรัพย์สินทางปัญญา
    • กองคดีการค้ามนุษย์
    • กองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ
    • กองคดีภาษีอากร
    • กองเทคโนโลยีและศูนย์ข้อมูลการตรวจสอบ
    • กองนโยบายและยุทธศาสตร์
    • กองบริหารคดีพิเศษ
    • กองปฏิบัติการคดีพิเศษภาค
    • กองปฏิบัติการพิเศษ
    • กองพัฒนาและสนับสนุนคดีพิเศษ

16.หน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องโดยตรง

  • สำนักงานรัฐมนตรี
  • สำนักผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม
  • ตรวจสอบภายในระดับกระทรวง
  • ปลัดกระทรวงยุติธรรม
    • สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
    • สำนักงานกิจการยุติธรรม
  • กลุ่มภารกิจด้านอำนวยความยุติธรรม
    • กรมสอบสวนคดีพิเศษ
    • สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
  • กลุ่มภารกิจด้านเสริมสร้างความยุติธรรม
    • กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
    • กรมบังคับคดี
  • กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาพฤตินิสัย
    • กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
    • กรมราชทัณฑ์
    • กรมคุมประพฤติ
  • ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรมที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีฯ
    • สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)
    • สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)
  • ส่วนราชการที่ไม่สังกัดกระทรวงยุติธรรมแต่อยู่ในกำกับดูแล
    • สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
  • หน่วยงานอิสระที่ไม่สังกัดกระทรวงยุติธรรม
    • สถาบันอนุญาโตตุลาการ
    • เนติบัณฑิตยสภา
    • สภาทนายความ

17.คดีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษอยู่ในความรับผิดชอบ

คดีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษอยู่ในความรับผิดชอบ จะเป็นคดีอาชญากรรมพิเศษ ที่อยู่ในคดีอาญาตามกฎหมายกำหนดไว้ในบัญชีท้าย พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 หรือคดีอาญาที่ได้กำหนดเป็นกฎกระทรวงโดยการเสนอแนะของคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) คดีดังกล่าวต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

  1. คดีความผิดทางอาญาที่มีความซับซ้อน จำเป็นต้องใช้วิธีการสืบสวนสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเป็นพิเศษ
  2. คดีความผิดทางอาญาที่มีหรืออาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนความมั่งคงของประเทศความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือระบบเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ
  3. คดีความผิดทางอาญาทีมีลักษณะเป็นคดีความผิดข้ามชาติที่สำคัญหรือเป็นการกระทำขององค์กรอาชญากรรม
  4. คดีความผิดทางอาญาที่มีผู้ทรงอิทธิพลที่สำคัญเป็นตัวการผู้ใช้หรือผู้สนับสนุน
  5. คดีความผิดทางอาญาที่มีพนักงานฝ่ายปกครองชั้นผู้ใหญ่หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ซึ่งมิใชพนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษเป็นผู้ต้องสงสัยเมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าน่าจะได้กระทำความผิดอาญา หรือเป็นผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ต้องหา

18.คุณสมบัติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ

  • คุรศมบัติ
    • มีสัญชาติไทย
    • อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
    • เป็นผู้เลื่อใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
  • ข้อห้าม
    • เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
    • เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่รเฟืองไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
    • เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
    • เป็นผู้บกพร่องในศิลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจในสังคม
    • เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งรับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
    • เป็นบุคคลล้มละลาย
    • เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
    • เป็นผู้เคยถูกลงโทศให้ออกหรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
    • เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ

19.ช่องทางรับฟังความคิดเห็น/แนะนำติชมและแจ้งปัญหา DS

ช่องทางรับฟังความคิดเห็น/แนะนำติชมและแจ้งปัญหา www.dsi.go.th

20.ติดต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ

ติดต่อกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้โดยเดินทางไปที่ 128 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

  • โทรศัพท์ 0-2831-9888
  • โทรสาร 0-2975-9888
  • E-mail [email protected]