นายร้อยตำรวจ สายพนักงานสอบสวน และบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ

2085
พนักงานสอบสวน นายร้อยตำรวจ สายสอบสวน

ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรนอกจากนายร้อยตำรวจที่จบสายตรง คือจบจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจแล้วยังมีนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรจำนวนมาก ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเปิดรับสมัครจากบุคคลภายนอก โดยกำหนดคุณสมบัติตามที่ต้องการเมื่อสอบผ่านแล้วก็จะได้บรรจุเป็นข้าราชการตำรวจปฏิบัติงานในสายงานต่าง ๆ และแต่ละสายงานมีบทบาทหน้าที่อย่างไร บทความนี้ nine100.com มีหน้าที่รับผิดชอบของพนักงานสอบสวน มาแนะนำเป็นความรู้

เส้นทางนายร้อยตำรวจ และบทบาทหน้าที่พนักงานสอบสวน

สำหรับเส้นทางสู่การเป็นนายร้อยตำรวจ เชื่อว่าน้อง ๆ และหลายคนที่มีความฝันต้องการรับราชการตำรวจติดดาวบนบ่า ส่วนใหญ่เตรียมความพร้อมโดยการหาข้อมูลศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ทำให้ทราบกันมาบ้างแล้วว่าการเป็นนักเรียนในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ไม่ใช่เฉพาะต้องจบชั้นมัธยมศึกษาสายวิทย์คณิตย์ และสอบตรงเข้าสู่โรงเรียนเตรียมทหาร 2 ปีก่อนเลือกเหล่าตำรวจเท่านั้น แต่การรับราชการเป็นนายร้อยตำรวจ มีหลายเส้นทาง ดังนี้

1. เลือกเรียนระดับมัธยมปลาย เพื่อสอบตรงเข้าเรียนเตรียมทหาร เหล่าตำรวจ

เส้นทางสายนี้เป็นสายตรงในการสมัครสอบนายร้อยตำรวจ การเตรียมตัวหรือเตรียมความพร้อมเริ่มจากเลือกเรียนสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ เมื่อกำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมปลาย ม.4-ม.5 อายุไม่เกิน 15-18 ปี ก็สามารถสมัครสอบเข้าเรียนเตรียมทหารได้ ใช้เวลาเรียน  2 ปี  และเลือกเหล่าตำรวจเพื่อเรียนต่อโรงเรียนนายร้อยตำรวจอีก 4 ปี ตามหลักสูตรที่กำหนด เมื่อจบมาจะได้ติดดาวพระราชทานยศ ร้อยตำรวจตรี (ร.ต.ต.) และรับพระราชทานกระบี่

2. เรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6  สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สอบเข้าโรงเรียนนายร้อย โดยไม่ได้เรียนเตรียมทหาร

สำหรับคนที่เรียนจบระดับมัธยมปลาย หรือ ม.6 สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ที่อายุไม่เกิน 18 ปี สามารถสอบเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจใช้เวลาเรียน 4 ปี ได้โดยไม่ต้องเรียนเตรียมทหาร 2 ปี  ถือเป็นสายตรงอีกหนึ่งเส้นทางของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร

3. สอบนายร้อยตำรวย โดยใช้โควตานายสิบตำรวจ

เส้นทางที่3 สู่นายร้อยตำรวจ เป็นการสอบนายร้อยตำรวย โดยใช้โควตานายสิบตำรวจ คุณสมบัติของผู้สมัครสอบต้องเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ 1 ปี และอายุไม่เกิน 25 ปี สำหรับเส้นทางสายนี้ โดยจะได้เรียนพร้อมกับนักเรียนเตรียมทหารที่เลือกเหล่าตำรวจและนับรุ่นนายร้อยเหมือนกัน

4. เส้นทาง นายร้อยอบรม

เส้นทางสู่นายร้อยตำรวจสายนี้ เปิดโอกาสให้ข้าราชการตำรวจหรือนักเรียนนายสิบตำรวจที่ไม่สามารถสอบนายร้อยตำรวจได้ เมื่อรับราชการตำรวจและมีวุฒิปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ หรือสาขาอื่น ๆ ที่ระบุไว้ในคุณสมบัติผู้สมัครสอบ ก็สามารถใช้วุฒิการศึกษาดังกล่าวสอบนายร้อยได้ ข้อดีของการสอบนายร้อยอบรม คือสามารถสมัครสอบได้ทุกปีจนกว่าจะสอบได้หรือจนอายุครบ 52 ปี

5. บุคคลภายนอกที่มีความรู้ ความสามารถพิเศษ และคุณสมบัติพิเศษ

เส้นทางสู่นายร้อยตำรวจ สำหรับผู้ที่ผู้มีความรู้ ความสามารถพิเศษ และคุณสมบัติพิเศษ โดยเรียนจบระดับจบปริญญาตรีในสาขาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องการ และมีการเปิดสอบในแต่ละปี หรือมีความรู้ความสามารถพิเศษ เช่น แพทย์ตำรวจ ตำรวจวิศวะ ตำรวจสารนิเทศ กองพิสูจน์หลักฐาน ฯลฯ รวมถึงนักกีฬาโควตาพิเศษ ก็มีโอกาสรับราชการนายร้อยตำรวจได้เช่นกัน

นอกจาก 5 เส้นทางสู่การเป็นนายร้อยตำรวจที่มีทั้งนายร้อยตำรวจสายตรง เปิดรับจากบุคคลภายนอกรวมทั้งผู้ที่มีความสามารถพิเศษ การเปิดโอกาสให้นายสิบตำรวจและข้าราชการตำรวจชั้นประทวนที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาที่ต้องการสามารถสอบนายร้อยตำรวจได้จนอายุ 52 ปี ก็ยังมีอีกหนึ่งเส้นทางของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน หากอายุครบ 52 ปีแล้วยังไม่สามารถสอบนายร้อยตำรวจได้ เมื่อติดยศนายดาบดาบตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติก็มีโครงการเลื่อนไหลติดดาวบนบ่า ขึ้นสัญญาบัตรทันทีโดยไม่ต้องสอบ

พนักงานสอบสวน

           หมายถึง สายงานสืบสวนหรือตำแหน่งพนักงานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หมายถึง ข้าราชการตำรวจตั้งแต่ยศร้อยตำรวจตรีขึ้นไป ที่ดำรงตำแหน่งหน้าที่สอบสวนคดีอาญา หรือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(6) ได้บัญญัติให้ความหมายของคำว่า “พนักงานสอบสวน” หมายถึง เจ้าพนักงานที่กฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานในอันที่จะพิสูจน์ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำความผิด

บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานสืบสวน

            ตำแหน่งงานของข้าราชการตำรวจแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มงาน เช่น กลุ่มงานบริหาร กลุ่มงานอำนวยการและสนับสนุน หรือกลุ่มงานเทคนิค ส่วนตำแหน่งงานและหน้าที่ความรับผิดชอบที่เป็นการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาและอยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ก็คือสายงานพนักงานสอบสวนและเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มงานอำนวยการและสนับสนุน บทบาทและอำนาจหน้าที่งานสอบสวน เช่น

  • ทำหน้าที่สอบสวนทั้งฝ่ายผู้เสียาหาย ผู้ถูกกล่าวหา และพยาน
  • ทำหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐาน ที่ได้มาจากี่เกิดเหตุ หรือรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่จะทำได้ เพื่อจะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆอันเกี่ยวกับความผิด
  • ทำสำนวนการสอบสวนเพื่อเสนอฟ้อง ไม่ฟ้อง หรืองดการสอบสวนในคดีอาญาที่เกิดขึ้นไปยังอัยการจังหวัด อัยการคดีเยาวชนและครอบครัวแล้วแต่กรณี
  • พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกผู้เสียหายหรือบุคคลใดซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่าถ้อยคำของเขาอาจเป็นประโยชน์แก่คดี ให้มาตามเวลาและสถานที่ในหมายเพื่อถามปากคำบุคคลนั้น
  • พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกบุคคลซึ่งครอบครองสิ่งของซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐาน ให้ส่งสิ่งของนั้นให้แก่พนักงานสอบสวนได้
  • พนักงานสอบสวนมีอำนาจค้นเพื่อพบสิ่งของซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยการกระทำผิดหรือได้ใช้หรือสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้
  • พนักงานสอบสวนมีอำนาจจับผู้ต้องได้ 2 กรณี คือ จับโดยมีหมายจับ ม.66 และจับโดยไม่มีหมายจับ ม.78
  • พนักงานสอบสวนมีอำนาจค้นได้ 2 กรณี คือ ค้นโดยมีหมายค้น ม.69 และค้นโดยไม่มีหมายค้น ม.92
  • พนักงานสอบสวนมีอำนาจควบคุมตัว ผู้ต้องหาในกรณี ควบคุมตัวผู้ถูกจับตามที่ผู้จับนำมาส่งควบคุมตัวผู้ถูกจับ ที่ถูกจับตามหมายจับของศาล และควบคุมตัวผู้ต้องหา ที่มิได้มีการจับ หรือออกหมายจับ ฯลฯ

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง

ระดับตำแหน่ง สารวัตร หรือเทียบเท่าสารวัตร มีคุณสมบัติ ดังนี้

1. มีคุณสมบัติข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้

1.1  สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
1.2  ได้รับปริญญาตรี หรือปริญญาโทหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางกฎหมาย ทางการปกครองหรือรัฐประศาสนศาสตร์
1.3  คุณวุฒิอื่นที่ ก.ตร.เห็นสมควร

2. สำเร็จการอบรมหลักสูตรระดับสารวัตร ในกลุ่มงานสายปราบปรามหรือเทียบเท่า

3. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งข้อหนึ่งข้อใด ดังต่อไปนี้

3.1 รองสารวัตรหรือเทียบรองสารวัตร รวมแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี กำหนดเวลา 4 ปี ให้ลดเป็น 2 ปี สำหรับผู้ได้รับปริญญาโทหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ในทางที่กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งข้อ 1.2 ทั้งนี้ในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวต้องดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งรองสารวัตรหรือเทียบรองสารวัตร ที่ทำหน้าที่ปฏิบัติการป้องกันปราบปราม สืบสวน สอบสวน หรือตรวจราชการ (ตรวจงานป้องกันปราบปราม สืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง) ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งหรือหลายตำแหน่งรวมกันไม่น้อยกว่า 2 ปี ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งจะต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ได้
3.2 สารวัตรหรือเทียบเท่าสารวัตร ที่ทำหน้าที่บริหารงานป้องกันปราบปราม ปฏิบัติการป้องกันปราบปราม สืบสวนหรือสอบสวน หรือตรวจราชการ (ตรวจงานป้องกันปราบปราม สืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง) มาก่อน

ระดับตำแหน่ง รองผู้กำกับการ หรือเทียบรองผู้กำกับการ มีคุณสมบัติ ดังนี้

1. มีคุณวุฒิเช่นเดียวกับสารวัตร

2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่ง ข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้

2.1  สารวัตรหรือเทียบเท่าสารวัตร รวมแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี
      2.1.1  ทั้งนี้ในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ต้องดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งสารวัตรหรือเทียบเท่าสารวัตร ที่ทำหน้าที่บริหารงานป้องกันปราบปราม ปฏิบัติการป้องกันปราบปราม สืบสวน สอบสวน หรือตรวจราชการ (ตรวจงานป้องกันปราบปราม สืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง) ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง หรือหลายตำแหน่ง รวมแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ได้
      2.1.2  ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งตั้งแต่รองสารวัตรหรือเทียบรองสารวัตรขึ้นไป ทำหน้าที่บริหารงานป้องกันปราบปราม ปฏิบัติการป้องกันปราบปราม สืบสวน สอบสวน หรือตรวจราชการ (ตรวจงานป้องกันปราบปราม สืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง) ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งหรือหลายตำแหน่ง รวมแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ได้
2.2  รองผู้กำกับการหรือเทียบรองผู้กำกับการ ที่ทำหน้าที่บริหารงานป้องกันปราบปรามปฏิบัติการป้องกันปราบกราม สืบสวน สอบสวน หรือตรวจราชการ (ตรวจงานป้องกันปราบปราม สืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง)  มาก่อน

ระดับตำแหน่ง ผู้กำกับการ หรือเทียบผู้กำกับการ มีคุณสมบัติ ดังนี้

1. มีคุณวุฒิเช่นเดียวกับสารวัตร

2. สำเร็จการอบรมหลักสูตรผู้กำกับการหรือเทียบเท่า

3. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้

3.1  รองผู้กำกับการหรือเทียบรองผุ้กำกับการ ที่ทำหน้าที่บริหารงานป้องกันปราบปรามปฏิบัติการป้องกันปราบกราม สืบสวน สอบสวน หรือตรวจราชการ (ตรวจงานป้องกันปราบปราม สืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง) ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งหรือหลายตำแหน่ง รวมแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งจะต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ได้
3.2  รองผู้กำกับการหรือเทียบรองผู้กำกับการ รวมแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งตั้งแต่รองสารวัตรหรือเทียบรองสารวัตรขึ้นไป ที่ทำหน้าที่บริหารงานป้องกันปราบปราม ปฏิบัติการป้องกันปราบกราม สืบสวน สอบสวน หรือตรวจราชการ (ตรวจงานป้องกันปราบปราม สืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง) ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งหรือหลายตำแหน่ง รวมแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งจะต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ได้
3.3  ผู้กำกับการหรือเทียบผู้กำกับการ ที่ทำหน้าที่บริหารงานป้องกันปราบปราม ปฏิบัติการป้องกันปราบกราม สืบสวน สอบสวน หรือตรวจราชการ (ตรวจงานป้องกันปราบปราม สืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง) มาก่อน

ระดับตำแหน่ง รองผู้กำกับการ หรือเทียบรองผู้กำกับการ มีคุณสมบัติ ดังนี้

1. มีคุณวุฒิเช่นเดียวกับสารวัตร

2. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่ง ข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้

2.1  ผู้กำกับการหรือเทียบผู้กำกับการ ที่ทำหน้าที่บริหารงานป้องกันปราบปรามปฏิบัติการป้องกันปราบกราม สืบสวน สอบสวน หรือตรวจราชการ (ตรวจงานป้องกันปราบปราม สืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง) ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งหรือหลายตำแหน่ง รวมแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งจะต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ได้
2.2  ผู้กำกับการหรือเทียบผู้กำกับการ รวมแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งตั้งแต่รองสารวัตรหรือเทียบรองสารวัตรขึ้นไป ที่ทำหน้าที่บริหารงานป้องกันปราบปราม ปฏิบัติการป้องกันปราบกราม สืบสวน สอบสวน หรือตรวจราชการ (ตรวจงานป้องกันปราบปราม สืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง) ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งหรือหลายตำแหน่ง รวมแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งจะต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ได้
2.3  รองผู้กำกับการหรือเทียบรองผู้กำกับการ ที่ทำหน้าที่บริหารงานป้องกันปราบปราม ปฏิบัติการป้องกันปราบกราม สืบสวน สอบสวน หรือตรวจราชการ (ตรวจงานป้องกันปราบปราม สืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง) มาก่อน

ระดับตำแหน่ง ผู้บังคับการ หรือเทียบผู้บังคับการ มีคุณสมบัติ ดังนี้

1. มีคุณวุฒิเช่นเดียวกับสารวัตร

2. สำเร็จการอบรมหลักสูตรการบริหารงานตำรวจชั้นสูง หรือเทียบเท่า

3. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้

3.1  รองผู้บังคับการหรือเทียบรองผู้บังคับการ ที่ทำหน้าที่บริหารงานป้องกันปราบปราม ปฏิบัติการป้องกันปราบกราม สืบสวน สอบสวน หรือตรวจราชการ (ตรวจงานป้องกันปราบปราม สืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง) ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งหรือหลายตำแหน่ง รวมแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งจะต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ได้
3.2  รองผู้บังคับการหรือเทียบรองผู้บังคับการ รวยมแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งตั้งแต่รองสารวัตรหรือเทียบรองสารวัตรขึ้นไป ที่ทำหน้าที่บริหารงานป้องกันปราบปราม ปฏิบัติการป้องกันปราบกราม สืบสวน สอบสวน หรือตรวจราชการ (ตรวจงานป้องกันปราบปราม สืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง) ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งหรือหลายตำแหน่ง รวมแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งจะต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ได้
3.3  ผู้บังคับการหรือเทียบผู้บังคับการ ทำหน้าที่บริหารงานป้องกันปราบปรามปฏิบัติการป้องกันปราบกราม สืบสวน สอบสวน หรือตรวจราชการ (ตรวจงานป้องกันปราบปราม สืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง) มาก่อน

เงินประจำตำแหน่งและค่าตอบแทน สำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านสอบสวน

            เงินประจำตำแหน่ง

            ตาม กฎ ก.ตร.ว่าด้วยเงินเพิ่มเป็นกรณีพิเศษสำหรับตำแหน่งผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านสอบสวน พ.ศ.2559  กำหนดให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านสอบสวนมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มเป็นกรณีพิเศษสำหรับตำแหน่งผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านสอบสวน ดังนี้

  • ระดับ รองสารวัตร หรือเทียบเท่า                เดือนละ 12,000 บาท
  • ระดับ สารวัตร หรือเทียบเท่า                     เดือนละ 14,400 บาท
  • ระดับ รองผู้กำกับการ หรือเทียบเท่า          เดือนละ 17,300 บาท

สำหรับข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่งานสอบสวน ระดับผู้กำกับการและรองผู้บังคับการ ให้นำ กฎ ก.ตร.ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตำแหน่งผู้ทำหน้าที่สอบสวนคดี พ.ศ.2559 กำหนดให้คุณสมบัติในการรับเงินเช่นเดียวกับผู้ปฏิบัติหน้าที่งานสอบสวนระดับรองสารวัตรถึงรองผู้กำกับการ โดยจะได้รับเงินดังนี้

  • ระดับ ผู้กำกับการ หรือเทียบเท่า                 เดือนละ 20,800 บาท
  • ระดับ รองผู้บังคับการ หรือเทียบเท่า เ          ดือนละ 25,000 บาท

ค่าตอบแทนการสอบสวนคดีอาญา

ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนการสอบสวนคดีอาญา พ.ศ.2534 ลง 31 มกราคม 2534 กำหนดให้เมื่อการสอบสวนคดีเสร็จแล้ว โดยมีผู้ต้องหาและส่งสำนวนให้พนักงานอัยการแล้ว ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนการสอบสวนคดีอาญา ดังนี้

คดีอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี    ไม่เกินคดีละ 500 บาท

คดีอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกเกินกว่าสามปีขึ้นไป แต่ไม่เกินสิบปี ไม่เกินคดีละ 1,000 บาท

คดีอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกเกินกว่าสิบปีขึ้นไป ไม่เกินคดีละ 1,500 บาท

ความก้าวหน้าในสายงานสอบสวน

            สำหรับตำแหน่งพนักงานสอบสวน ปัจจุบันสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้กำหนดกรอบอัตราตำแหน่ง สำหรับข้าราชการตำรวจที่ทำหน้าที่ด้านงานสอบสวนไว้ตั้งแต่ระดับตำแหน่งรองสารวัตร(สอบสวน) จนถึงระดับตำแหน่งผู้กำกับการ(สอบสวน) กำหนดให้มีจำนวนตำแหน่งระดับเท่ากับจำนวนคนที่ครองอยู่ในปัจจุบัน ส่วนตำแหน่งว่างให้ปรับลดลงเป็นตำแหน่งระดับรองสารวัตร ทำให้ข้าราชการตำรวจที่ทำหน้าที่งานสอบสวน ไม่สามารถที่จะเลื่อนตำแหน่งแบบเลื่อนไหลซึ่งเป็นตำแหน่งควบปรับระดับเพิ่มลดในตัวเองได้อีกต่อไป โดยการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจในสายงานสอบสวนจะเป็นไปตามกฎ ก.ตร.ว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2561 เหมือนข้าราชการตำรวจสายงานปกติ

            สรุป พนักงานสอบสวน หมายถึง เจ้าพนักงานที่กฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน ซึ่งเป็นสายงานที่มีความสำคัญต่อกระบวนการยุติธรรม เพราะมีบทบาทหน้าที่ในการสอบสวนผู้เสียหาย สอบพยาน และผู้ต้องหาในคดี ส่งเอกสารประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ รวมไปถึงการรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดีตามที่กฎหมายให้อำนาจ สาระสำคัญของการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานสอบสวน เช่น การพิจารณาความผิดของผู้ต้องหาว่าเป็นความผิดฐานใด ตามมาตราใด และกฎหมายใด การบันทึกปากคำผู้เสียหายและพยาน การบันทึกปากคำผู้ต้องหา การรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการมา ได้แก่ พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานผู้ชานาญการ และจากบันทึกคำให้การของผู้ต้องหา เพื่อที่จะเอาตัวผู้กระทำผิดมาส่งฟ้อง