“นายร้อยตำรวจ” เชื่อว่าเป็นอาชีพที่หลายคนใฝ่ฝัน เห็นได้จากการเปิดสอบในแต่ละปีจะมีผู้สมัครสอบเป็นจำนวนมาก ทั้งสายตรงที่รับสมัครจากผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมปลาย (ม.4-ม.5) เรียนอยู่ในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์เพื่อสอบเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร(นตท.) 2 ปีจากนั้น ศึกษาต่อโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (รร.นรต.)อีก 4 ปี และการเปิดรับจากบุคคลภายนอกสอบแข่งขันเข้ารับราชการนายร้อยตำรวจ เมื่อเรียบจบออกมาแล้ว ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรยังมีหลายสายงาน วันนี้ nine100.com จะพาไปรู้จัก นายร้อยตำรวจ สายพนักงานสืบสวน และบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ
นายร้อยตำรวจ สายพนักงานสืบสวน
หน่วยงานสืบสวน เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งหน่วยงานนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในคดีความต่าง ๆ เนื่องจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่หลักในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทั่วไป และปัญหาอาชญากรรมรุนแรงทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ เมื่อเกิดคดีขึ้นแล้วมีหลายคดีไม่สามารถจับกุมคนร้ายได้ งานสืบสวนจึงเป็นหน่วยงานเริ่มต้นของคดี หรือเป็นงานด่านแรกที่จะต้องทำการสืบสวนสอบสวน เพื่อจับกุมคนร้ายมาดำเนินคดีและลงโทษให้ได้
ความหมายของงานสืบสวน
งานสืบสวน หมายถึง การแสวงหาขเอเท็จจริงและหลักฐาน โดยพนักงานฝ่ายปกครองหรือจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งพนักงานสืบสวนได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด
หน่วยงานสืบสวน หมายถึง
หน่วยงานสืบสวน หมายถึง ข้าราชการตำรวจที่ทำหน้าที่หาข่าวการกระทำความผิดในคดีต่าง ๆ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการเข้าจับกุมผู้กระทำความผิดได้ทันที่ และส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสอบสวนต่อไป
อำนาจหน้าที่กองกำกับการสืบสวน
หลักการสืบสวน เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานของพนักงานสืบสวน เพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา นอกจากนั้นกองกำกับการสืบสวนยังมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
- อำนาจหน้าที่ในการถวายความปลอดภัย สำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ พระราชอาคันตุกะ
- อำนาจหน้าที่ในงานสืบสวนคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดอาญาทั้งหลาย
- อำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกัน และปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา
- งานการข่าว
- งานสืบสวนอาชญากรรมสำคัญ
- งานปฏิบัติการพิเศษ
- งานเก็บกู้วัตถุระเบิด
- งานสืบสวนคดียาเสพติดและสารเสพติดประเภทต่าง ๆ ในเขตอำนาจการรับผิดชอบของตำรวจภูธรจังหวัด โดยปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
- งานธุรการและงานสารบัญ รวมทั้งจัดทำสถิติงานเข้า ออก ของกองกำกับการสืบสวน
- งานประชาสัมพันธ์
- ดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริง กรณีข้าราชการตำรวจถูกร้องเรียน กล่าวโทษว่ากระทำความผิดวินัยหรืออาญา
- ดำเนินการสืบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา
- ดำเนินการและสนับสนุนช่วยเหลือสถานีตำรวจท้องที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดอาญา
- ดำเนินการและสนับสนุนช่วยเหลือสถานีตำรวจท้องที่ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม การก่อความไม่สงบ การจลาจล การก่อการร้ายในรูปแบบต่าง ๆ การควบคุมฝูงชนและการเจรจาต่อรอง
- สืบสวนคดีอาญาที่มีลักษณะกระทำเป็นองค์กร หรือขบวนการ คดีอาญาที่มีความรุนแรง ซับซ้อน และเกิดคาบเกี่ยวในหลายพื้นที่ของสถานีตำรวจภูธร ในเขตอำนาจการรับผิดชอบของตำรวจภูธรจังหวัด
- เก็บรวบรวมข้อมูลสถิติคดีอาญา สำเนาหมายจับตลอดจนให้ความร่วมมือในการสืบสวนจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับตามที่หน่วยอื่นประสานขอความร่วมมือ และจัดทำประวัติบุคคลผู้กระทำผิดอาญาและผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญา
- อำนวยการในการแสวงหาข่าวสารที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตำรวจ รวมทั้งการตรวจสอบข่าว
- ดำเนินการกรรมวิธีต่อข่าวสาร การผลิตข่าวสาร ข่าวกรอง และประเมินสถานการณ์ เสนอผู้บังคับบัญชาและหน่วยที่เกี่ยวข้อง
- ดำเนินการสืบสวนหาข่าว และปฏิบัติการอื่นใด เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม รวมทั้งงานด้านการข่าวที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ อันเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยต่าง ๆในเขตจังหวัดซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของตำรวจภูธรจังหวัด
9. งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
วิธีการ และบทบาทหน้าที่การสืบสวน
บทบาทหน้าที่และวิธีการสืบสวนของพนักงานสืบสวนหลังเกิดเหตุจะมีการอยู่ 2 วิธี ได้แก่ การสืบสวนโดยวิธีธรรมดา และการสืบสวนโดยใช้วิทยาการ ดังนี้
การสืบสวนโดยวิธีธรรมดา
- สืบสวนจากมูลเหตุและเจตนา
- สืบสวนจากการซักถาม
- สืบสวนจากพยานหลักฐานที่คนร้ายทำทิ้งไว้
- สืบสวนโดยใช้สายลับ
- สืบสวนโดยการเฝ้าจุด
- สืบสวนโดยการสะกดรอย
- สืบสวนโดยวิธีการนกต่อ
- สืบสวนโดยวิธีการเข้าเกลียว
- สืบสวนโดยใช้เทคนิคการอำพราง
- สืบสวนโดยการก่อให้เกิดการแตกแยกในหมู่คนร้าย
- สืบสวนโดยใช้อิทธิพลความเชื่อถือในตัวผู้สืบ
- สืบสวนโดยใช้บุคคลซึ่งเป็นที่เคารพนับถือในท้องถิ่น
- สืบสวนโดยการตรวจค้น
- สืบสวนโดยการตรวจสอบประวัติรูปถ่ายและตำหนิรูปพรรณ
การสืบสวนโดยใช้วิทยาการ
- สืบสวนจากร่องรอยวัตถุพยาน
- สืบสวนจากบันทึกแผนประทุษกรรม
คุณสมบัติเฉพาะของนายร้อยตำรวจสายงานสืบสวน
1. คุณสมบัติของพนักงานสืบสวนทางบุคลิกภาพและสติปัญญา
- ฉลาด มีไหวพริบและมีปฏิภาณดี
- เป็นผู้ช่างสังเกตและจดจำ
- มีมนุษย์สัมพันธ์ดี เข้ากับคนได้ทุกประเภท
- รูปร่างลักษณะปกติธรรมดาเหมือนคนปกติทั่วไป
- รู้จักนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในการสืบสวน
- มุ่งมั่น อดทน เสียสละ กล้า และสามารถควบคุมตัวเองได้
- ต้องมีความรู้ความเข้าใจในวิชาจิตวิทยา ตรรกวิทยา ปรัชญา
- มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม
- ดำเนินการสอบสวนตามประเด็นที่ตั้งไว้ได้อย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง เป็นขั้นตอนด้วยความมุ่งมั่นและอดทน
- พิจารณาแยกแยะ ดำเนินการระหว่างงานสำคัญและงานเร่งด่วนให้ได้
- รักงานสืบสวนอย่างแท้จริง
- มีองค์ความรู้เหนือมาตรฐาน
2. คุณสมบัติด้านการสังเกตและจดจำตำหนิรูปพรรณบุคคล สิ่งของ สถานที่และการจดจำเหตุการณ์
-
การจดจำลักษณะคน
- จดจำลักษณะหรือภาพรวมของตัวบุคคล
- แล้วค่อยจำลักษณะย่อยเป็นขั้นตอนตามลำดับ
- ใช้วิธีเปรียบเทียบจากลักษณะของตัวเรา หรือคนที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก
- หาตำหนิพิเศษ (เช่นลอยสัก)
- การเปรียบเทียบอายุ ส่วนสูง สีผิว
-
การจดจำสิ่งของหรือยานพาหนะ
- การจำสี การเปรียบเทียบสี
- การจดจำยี่ห้อรถ
- จดจำ ลักษณะ ขนาด จำนวน น้ำหนัก เช่น อาวุธ
- หาตำหนิพิเศษ
-
การจดจำสถานที่
- ระยะเวลาในการเดินทางไปที่ยังสถานที่แห่งนั้น
- หาจุดช่วยจำ
-
การจดจำเหตุการณ์
- หาเหตุช่วยจำ
- หลังเหตุการณ์จบลงแล้วให้รีบทบทวนในใจ
- จดบันทึกความจำ
คุณธรรม จริยธรรมของข้าราชการตำรวจ
ตำรวจ เป็นองค์กรแรกของระบบงานยุติธรรม มีหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนและจับกุมผู้ต้องหา รักษากฎหมายที่เกี่ยวแก่การกระทำผิดในทางอาญา ภารกิจหลักของข้าราชการตำรวจคือการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน และเพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประชาชนมีความศรัทธาเชื่อมั่น จึงต้องกำหนดประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ เป็นกรอบการประพฤติปฏิบัติ ให้มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณที่ดีเป็นมาตรฐาน ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 มาตรฐานคุณธรรมและอุดมคติของตำรวจ เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งให้ข้าราชการตำรวจอยู่ในกรอบของศีลธรรมและคุณธรรม ขณะเดียวกันก็เป็นแนวทางชี้นำให้ข้าราชการตำรวจบรรลุปณิธานของการเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์
1.1 ข้าราชการตำรวจ พึงยึดถือคุณธรรมสี่ประการตามพระบรมราโชวาท เพื่อเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งในการประพฤติปฏิบัติตน และปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
- การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
- การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดีเท่านั้น
- การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าด้วยเหตุประการใด
- การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
1.2 ข้าราชการตำรวจพึงยึดถืออุดมคติของตำรวจ 9 ประการ เพื่อเป็นแนวทางชี้นำการประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่เพื่อบรรลุถึงปณิธานของการเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ดังนี้
- เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่
- กรุณาปราณีต่อประชาชน
- อดทนต่อความเจ็บใจ
- ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก
- ไม่มักมากในลาภผล
- มุ่งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
- ดำรงตนในยุติธรรม
- กระทำการด้วยปัญญา
- รักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต
1.3 ข้าราชการตำรวจพึงหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา
การศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา ก็เพื่อพัฒนาตนเองให้ทันโลกทันเหตุการณ์ และมีความชำนาญการในงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ รวมทั้งต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ กฎหมาย ระเบียบ ธรรมเนียมการปฏิบัติของส่วนราชการในกระบวนการยุติธรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ และความรับผิดชอบของตน เพื่อสามารถประสานงานได้อย่างกลมกลืนแนบเนียน และเป็นประโยชน์ต่อ ราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ส่วนที่ 2 มาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ
- มาตรฐานทางจริยธรรมของตำรวจ
2.1 ข้าราชการตำรวจต้องเคารพ ศรัทธา และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
- จงรักภักดีและเทิดทูนพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระรัชทายาท และไม่ยอมให้ผู้ใดล่วงละเมิด
- สนับสนุนการเมืองประชาธิปไตยด้วยศรัทธา มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่เป็นผู้บริหารหรือกรรมการพรรคการเมือง และไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่พรรคการเมือง หรือผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น
2.2 ข้าราชการตำรวจต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และตามกฎหมายอื่นโดยเคร่งครัด โดยไม่เลือกปฏิบัติ
2.3 ข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการ ประชาชน ชุมชน และประเทศชาติเป็นสำคัญ ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
- ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรวดเร็ว กระตือรือร้น รอบคอบ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นธรรม
- ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะอุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร เสียสละ ใช้ปฏิภาณไหวพริบกล้าหาญและอดทน
- ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความเต็มใจ ไม่ละทิ้งหน้าที่ ไม่หลีกเลี่ยงหรือปัดความรับผิดชอบ
- ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัดคุ้มค่า โดยระมัดระวังมิให้เสียหายหรือสิ้นเปลืองเยี่ยงวิญญูชนจะพึงปฏิบัติต่อทรัพย์สินของตนเอง
- รักษาความลับของทางราชการ และความลับที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือจาก
- ประชาชนผู้มาติดต่อราชการ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในกระบวนการยุติธรรม หรือการตรวจสอบตามที่กฎหมาย กฎ ข้อบังคับ กำหนด
2.4 ข้าราชการตำรวจต้องมีจิตสำนึกของความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ เพื่อให้ประชาชนศรัทธาและเชื่อมั่น ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติดังนี้
- มีท่าทีเป็นมิตร มีมนุษยสัมพันธ์อันดี และมีความสุภาพอ่อนโยนต่อประชาชน ผู้รับบริการ รวมทั้งให้บริการประชาชนด้วยความเต็มใจ รวดเร็ว และไม่เลือกปฏิบัติ
- ปฏิบัติตนให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของประชาชน ไม่เบียดเบียน ไม่แสดงกริยาหรือท่าทางไม่สุภาพหรือไม่ให้เกียรติ รวมทั้งไม่ใช้ถ้อยคำ กริยา หรือท่าทาง ที่มีลักษณะหยาบคาย ดูหมิ่น หรือเหยียดหยามประชาชน
- เอื้อเฟื้อ สงเคราะห์ และช่วยเหลือประชาชนเมื่ออยู่ในฐานะที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ หรือประสบเคราะห์จากอุบัติเหตุ การละเมิดกฎหมาย หรือภัยอื่น ๆ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นผู้ต้องสงสัยหรือผู้กระทำผิดกฎหมายหรือไม่
- ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของทางราชการอย่างเคร่งครัด การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนที่ร้องขอ ต้องดำเนินการด้วยความรวดเร็ว ไม่ถ่วงเวลาให้เนิ่นช้าและไม่ให้ข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จแก่ประชาชน
2.5 ข้าราชการตำรวจต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตและยึดมั่นในศีลธรรม โดยยึดประโยชน์ส่วนรวมเหนือประโยชน์ส่วนตน ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
- ไม่ใช้ตำแหน่ง อำนาจหรือหน้าที่ หรือไม่ยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่ง อำนาจหรือหน้าที่ของตน แสวงหาประโยชน์สาหรับตนเองหรือผู้อื่น
- ไม่ใช้ตำแหน่ง อำนาจหรือหน้าที่ หรือไม่ยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่ง อำนาจหรือหน้าที่ของตนไปในทางจูงใจหรือมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ การใช้ดุลพินิจ หรือการกระทำของข้าราชการตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่น อันเป็นผลให้การตัดสินใจ การใช้ดุลพินิจ หรือการกระทำของผู้นั้นสูญเสียความเที่ยงธรรมและยุติธรรม
- ไม่รับของขวัญนอกเหนือจากโอกาสและกาลตามประเพณีนิยม และของขวัญนั้นต้องมีมูลค่าตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประกาศกำหนดเว้นแต่ญาติซึ่งให้โดยเสน่หาตามจำนวนที่เหมาะสมตามฐานานุรูปหรือการให้โดยธรรมจรรยา
- ไม่ใช้เวลาราชการหรือทรัพย์ของราชการเพื่อธุรกิจหรือประโยชน์ส่วนตน
- ไม่ประกอบอาชีพเสริมซึ่งมีลักษณะเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน หรือเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม
- ดำรงชีวิตส่วนตัวไม่ให้เกิดมลทินมัวหมองต่อตำแหน่งหน้าที่ ไม่ทำผิดกฎหมาย แม้เห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่หมกมุ่นในอบายมุขทั้งหลาย ไม่ฟุ้งเฟ้อหรูหรา และใช้จ่ายประหยัดตามฐานะแห่งตน
2.6 ข้าราชการตำรวจต้องภาคภูมิใจในวิชาชีพ กล้ายืนหยัดกระทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงามเพื่อเกียรติศักดิ์และศักดิ์ศรีของความเป็นตำรวจ ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี
- ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาตามครรลองของการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างเคร่งครัด
- ไม่สั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติการในสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อคุณธรรมและศีลธรรม
- ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ตนรู้หรือควรจะรู้ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในการนี้ให้ทักท้วง เป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้บังคับบัญชาผู้สั่ง
- ไม่เลี่ยงกฎหมาย ใช้หรือแนะนำให้ใช้ช่องโหว่ของกฎหมายเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือทำให้สูญเสียความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม
2.7 นายร้อยตำรวจสายพนักงานสืบสวน ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชการตำรวจต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
- ประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างที่ดี รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาและที่พึ่งของผู้ใต้บังคับบัญชา
- หมั่นอบรมให้ผู้ใต้บังคับบัญชายึดถือปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณ ว่ากล่าวตักเตือนด้วยจิตเมตตา และให้ความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่
- ปกครองบังคับบัญชาด้วยหลักการและเหตุผลที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ยอมรับฟังความคิดเห็น และไม่ผลักความรับผิดชอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชา
- ใช้หลักคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนอย่างเคร่งครัด และปราศจากความลำเอียง
2.8 นายร้อยตำรวจสายพนักงานสืบสวน ในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ข้าราชการตำรวจต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
- เคารพเชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่ชอบด้วยกฎหมาย
- รักษาวินัยและความสามัคคีในหมู่คณะ
- ปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานด้วยความสุภาพมีน้าใจ รักใคร่สมานฉันท์ และมีมนุษยสัมพันธ์ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน
- อุทิศตนเอง ไม่หลีกเลี่ยงหรือเกี่ยงงาน ร่วมมือร่วมใจปฏิบัติหน้าที่โดยยึดความสำเร็จของงานและชื่อเสียงของหน่วยเป็นที่ตั้ง
2.9 ข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติตามค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินกำหนด ดังนี้
- การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม
- การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ
- การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
- การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย
- การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ
- การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
- การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้
- การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์การ
จรรยาบรรณของตำรวจ
2.10 ข้าราชการตำรวจจะต้องสำนึกในการให้บริการประชาชนด้านอำนวยความยุติธรรม และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและสิทธิมนุษยชน เพื่อให้ประชาชนมีความเลื่อมใส เชื่อมั่นและศรัทธา ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
- อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการร้องทุกข์ กล่าวโทษ ขออนุญาต ขอข้อมูลข่าวสาร หรือติดต่อราชการอื่น ด้วยความเต็มใจ เป็นมิตร ไม่เลือกปฏิบัติ และรวดเร็ว เพื่อไม่ให้ประชาชนเสียสิทธิหรือเสรีภาพตามกฎหมาย
- สุภาพ อ่อนน้อม และให้เกียรติประชาชนเพื่อให้เกิดความน่าเคารพยำเกรง ไม่ใช้ถ้อยคำ กริยา หรือท่าทาง ที่มีลักษณะหยาบคาย ดูหมิ่น หรือเหยียดหยามประชาชน
- ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ต้องดำรงตนให้อยู่ในสภาพที่พร้อมและเหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความน่าเชื่อถือและน่าไว้วางใจ
- พกพาอาวุธตามระเบียบแบบแผน ไม่จับหรือถืออาวุธ หรือเล็งอาวุธไปยังบุคคลโดยปราศจากเหตุอันสมควร
- พกพาเอกสารหรือตราประจำตัว และแสดงเอกสารหรือตราประจำตัวเมื่อมีบุคคลร้องขอ
2.11 เมื่อเข้าจับกุมหรือระงับการกระทำผิด ข้าราชการตำรวจต้องยึดถือและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างเคร่งครัด ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติดังนี้
- แสดงถึงการอุทิศตนและจิตใจให้แก่การปฏิบัติหน้าที่อย่างกล้าหาญและมีสติปัญญา
- ยืนหยัดเจตนารมณ์ในการรักษากฎหมายให้ถึงที่สุด และดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้กระทำความผิด ทั้งนี้ให้ระลึกเสมอว่าการใช้กฎหมายจะต้องคำนึงถึงหลักมนุษยธรรมด้วย
- ไม่ใช้มาตรการรุนแรง เว้นแต่การใช้มาตรการปกติ แล้วไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งผู้กระทำความผิดหรือผู้ต้องสงสัยได้
2.12 ข้าราชการตำรวจต้องตระหนักว่า การใช้อาวุธ กาลัง หรือความรุนแรงเป็นมาตรการที่รุนแรงที่สุด ข้าราชการตำรวจอาจใช้อาวุธ กำลัง หรือความรุนแรง ได้ต่อเมื่อมีความจำเป็นภายใต้กรอบของกฎหมายและระเบียบแบบแผน หรือเมื่อผู้กระทำความผิดหรือผู้ต้องสงสัยใช้อาวุธต่อสู้ขัดขวางการจับกุม หรือเพื่อช่วยบุคคลอื่นที่อยู่ในอันตรายต่อชีวิต
2.13 ในการรวบรวมพยานหลักฐาน การสืบสวนสอบสวน การสอบปากคำ หรือการซักถามผู้กระทำความผิด ผู้ต้องหา ผู้ที่อยู่ในความควบคุมตามกฎหมาย ผู้เสียหาย ผู้รู้เห็นเหตุการณ์ หรือบุคคลอื่น ข้าราชการตำรวจต้องแสดงความเป็นมืออาชีพโดยใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการตำรวจ รวมทั้งใช้ปฏิภาณไหวพริบและสติปัญญา เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
- ไม่ทำการทารุณหรือทารุณกรรมต่อบุคคล หรือต่อบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคคลนั้น
- ไม่ใช้ จ้าง วาน หรือยุยงส่งเสริม หรือปล่อยปละละเลยให้มีการทารุณหรือทารุณกรรมต่อบุคคล หรือต่อบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคคลนั้น
- ไม่กระทำการข่มขู่หรือรังควาน หรือไม่ใช้อำนาจที่มิชอบ หรือแนะนำเสี้ยมสอนบุคคลให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จหรือปรักปรำผู้อื่น
- ไม่กักขังหรือหน่วงเหนี่ยวบุคคลที่ยังไม่ได้ถูกจับกุมตามกฎหมาย เพื่อการสอบปากคำ
- ไม่ใช้อำนาจที่มิชอบเพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐาน
2.14 ข้าราชการตำรวจต้องควบคุมดูแลบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของตนอย่างเคร่งครัด ตามกฎหมายและมีมนุษยธรรม ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
- ไม่ผ่อนปรนให้บุคคลนั้นมีสิทธิหรือได้ประโยชน์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผน
- ไม่รบกวนการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับทนายความตามสิทธิแห่งกฎหมาย
- จัดให้บุคคลได้รับการรักษาพยาบาลหรือการดูแลทางการแพทย์ตามสมควรแก่กรณี เมื่อบุคคลนั้นมีอาการเจ็บป่วยหรือร้องขอ
- ไม่ควบคุมเด็กและเยาวชนร่วมกับผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ใหญ่หรือไม่คุมขังผู้หญิงร่วมกับผู้ชาย เว้นแต่เป็นกรณีที่มีกฎหมายและระเบียบแบบแผนอนุญาต
2.15 ข้อมูลข่าวสารที่ข้าราชการตำรวจได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือจากการ ปฏิบัติหน้าที่อื่น ข้าราชการตำรวจจะต้องรักษาข้อมูลข่าวสารนั้นเป็นความลับอย่างเคร่งครัดเพราะอาจเป็นอันตรายต่อผลประโยชน์หรือชื่อเสียงของบุคคล หรืออาจเป็นคุณหรือเป็นโทษทั้งต่อผู้เสียหายหรือผู้กระทำความผิด ข้าราชการตำรวจจะเปิดเผยข้อมูลนั้นได้ต่อเมื่อมีความจาเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเพื่อ ประโยชน์ในราชการตำรวจที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเพื่อการดาเนินการตามกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น
ชั้นยศนายตำรวจสัญญาบัตร
- พลตำรวจเอก (พล.ต.อ.)
- พลตำรวจโท (พล.ต.ท.)
- พลตำรวจตรี (พล.ต.ต.)
- พันตำรวจเอก (พ.ต.อ.)
- พันตำรวจโท (พ.ต.ท.)
- พันตำรวจตรี (พ.ต.ต.)
- ร้อยตำรวจเอก (ร.ต.อ.)
- ร้อยตำรวจโท (ร.ต.ท.)
- ร้อยตำรวจตรี (ร.ต.ต.)
สวัสดิการและความก้าวหน้าของข้าราชการตำรวจ สายพนักงานสืบสวน
ความก้าวหน้าในหน้าที่ของข้าราชการชั้นสัญญาบัตรทั้ง พนักงานสืบสวนและนายร้อยตำรวจทุกสายงาน นอกจากความมั่นคงในอาชีพยังมีสวัสดิการทั้งที่กำหนดให้เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน ดังนี้
1. สวัสดิการเกี่ยวกับการลา ระเบียบการลาของข้าราชการแบ่งออกเป็น 9 ประเภท คือ
- การลาป่วย ลาคลอดบุตร (90 วัน)
- ลากิจส่วนตัว (45 วัน)
- การลาพักผ่อน(สูงสุด 30 วัน)
- การลาอุปสมบท (120 วัน )หรือการลาไปประกอบพิธีฮัจญ์
- การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
- การลาไปศึกษาได้ถึง 4 ปี (โดยยังมีเงินเดือน)
- ลาเข้ารับการฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย การลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ
- และ การลาติดตามคู่สมรส
2. เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
พนักงานสืบสวนและนายร้อยตำรวจทุกสายงานสามารถเบิกได้ทั้งค่ารักษาพยาบาลพ่อแม่ คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เป็นคนไร้ความสามารถ
3. เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร
สวัสดิการของนายร้อยตำรวจ สามารถเบิกค่าเล่าเรียนบุตรได้สูงสุด 3 คน จนมีอายุครบ 25 ปี ทั้งที่เรียนในสถานศึกษาภาครัฐและสถานศึกษาภาคเอกชน
4. สวัสดิการเกี่ยวกับบ้านพักของทางราชการ
สำหรับพนักงานสืบสวนและนายร้อยตำรวจ กรณีไม่มีบ้านพักสามารถใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน ได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง
5. สวัสดิการเกี่ยวกับเบี้ยเลี้ยง
ข้าราชการตำรวจมีเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเบี้ยเลี้ยง กรณีเดินทางไปราชการทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าเช่า ที่พัก ค่าพาหนะ ค่าเช่าพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และอื่น ๆ
6. เงินเพิ่มพิเศษ ข้าราชการตำรวจมีเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มพิเศษ เช่น
- เงินเพิ่มพิเศษตามตำแหน่งงาน
- ค่าล่วงเวลา(OT) และอื่น ๆ ได้แก่ การทำงานนอกวันทำการ (วันจันทร์ถึงวันศุกร์) หรือนอกเวลาราชการ (เวลาระหว่าง 08.30 ถึง 16.30 น. ของวันทำการ)
7. ความก้าวหน้าในหน้าที่
พนักงานสืบสวนและนายร้อยตำรวจ มีโอกาสได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือน ปีละ 2 ครั้ง ในเดือนเมษายน และเดือนตุลาคม ของทุกปี รายละเอียดการพิจารณาขึ้นเงินเดือน มี ดังนี้
- ข้าราชการตำรวจ ที่ตั้งใจทำงาน มีผลการปฏิบัติดี หรือผู้บังคับบัญชาพิจารณาเห็นสมควร จะได้เลื่อนขั้นเงินเดือน 2 ขั้น อนึ่งการเลื่อนขั้นเงินเดือน 2 ขั้น (หลักเกณฑ์ห้ามเลื่อนติดต่อกันเกิน 2 ปี)
- ข้าราชการตำรวจ ที่ทำงานตามปกติหน้าที่ของตนเอง จะได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน 1.5 ขั้น
8. รับสวัสดิการค่าตัดเครื่องแบบ
ข้าราชการตำรวจ จะได้รับสวัสดิการค่าตัดเครื่องแบบปีละ 2,000 บาท
9. ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ข้าราชการตำรวจ จะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ คือ สิ่งที่เป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศ และบำเหน็จความชอบที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นเพื่อพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในพระองค์ ซึ่งถือเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล
10. สวัสดิการเงินกู้กองกลาง ตร.
ข้าราชการตำรวจ จะได้รับสินเชื่อสวัสดิการเงินกู้กองกลาง ตร. ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก ต่ำกว่าสินเชื่อธนาคาร
11. สวัสดิการสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ
ข้าราชการตำรวจ จะมีสวัสดิการสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ ที่ให้ดอกเบี้ยเงินฝากส
12. สวัสดิการเงินกู้
ข้าราชการตำรวจ จะได้รับสวัสดิการเงินกู้ เพื่อที่อยู่อาศัย หรือสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับเงินกู้ เพื่อที่อยู่อาศัยของข้าราชการ
13. เงินช่วยเหลือข้าราชการตำรวจ
ข้าราชการตำรวจจะได้รับเงินช่วยเหลือกรณีการตำรวจเสียชีวิต หรือได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่
14. มีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ข้าราชการตำรวจจะมีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเป็นสวัสดิการหลักเกษียณอายุราชการไว้ใช้ในยามแก่เฒ่า
15. มีรถประจำตำแหน่ง
พนักงานสืบสวนหรือข้าราชการตำรวจ จะมีรถราชการหรือรถประจำตำแหน่งให้ใช้ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ
เส้นทางสู่นายร้อยตำรวจ
1. การสอบสายตรงเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ แบ่งคุณสมบัติผู้สมัครสอบออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 รับสมัครจากบุคคลที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมปลาย (ม.4-ม.5)ม. 4 และต้องเรียนอยู่ในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ เท่านั้น โดยมีอายุระหว่าง อายุ 16-18 ปี เข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร(นตท.) 2 ปีจากนั้น ศึกษาต่อโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (รร.นรต.) 4 ปี จบมารับพระราชทานกระบี่ ได้รับการแต่งตั้งยศเป็นร้อยตำรวจตรี (ร.ต.ต.)
กลุ่มที่ 2 รับสมัครจากบุคคลที่เรียนจบระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ อายุไม่เกิน 18 ปี สอบเข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อย โดยไม่ต้องเรียนเตรียมทหาร 2 ปี
กลุ่มที่ 3 รับจากผู้ที่สอบเข้าเรียนนายสิบตำรวจ เรียน 1 ปี จะมีสิทธิ์สอบนายร้อยตำรวจ อายุต้องไม่เกิน 25 ปี
2. นายร้อยตำรวจรับจากบุคคลภายนอก
สำหรับเส้นทางของบุคคลภายนอกที่จะก้าวสู่เส้นทางนายร้อยตำรวจ ในแต่ละปีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะเปิดรับสมัครบุคคลที่มีวุฒิปริญญาตรีในสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อสอบบรรจุเป็นนายร้อยตำรวจในตำแหน่งต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี
การเตรียมตัวสอบนายร้อยตำรวจ
การเปิดสอบนักเรียนนายร้อยตำรวจในแต่ละปี จะมีผู้ที่สนใจสมัครสอบเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้ที่ต้องการสมัครสอบแข่งขันต้องตัวหรือเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบนายร้อยตำรวจ ดังนี้
- ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเกณฑ์การสมัครสอบ วิชาที่ใช้สอบ และคุณสมบัติต่าง ๆ ของผู้สมัครสอบ
- จัดเตรียมเอกสารวุฒิการศึกษา โดยจัดเตรียมเอกสารสำเนาเอกสาร วุฒิการศึกษาต่าง ๆ ให้พร้อม และต้องจัดเตรียมให้ตรงตามคุณสมบัติที่ประกาศรับสมัคร
- เตรียมร่างกายให้พร้อม การเตรียมความพร้อมด้านร่างกายด้วยการดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย และศึกษาข้อห้ามและคุณสมบัติต่าง ๆ อย่างเข้าใจ เมื่อมีโอกาสสอบผ่านข้อเขียนก็จะไม่เกิดปัญหาทำให้เสียโอกาสในการสอบไป
- จัดหาหนังสือและแนวข้อสอบตามให้ตรงตามที่ระบุไว้ในประกาศ การหาซื้อหนังสือและแนวข้อสอบสามารถจัดหาไว้ได้ตั้งแต่ยังไม่ประกาศรับสมัคร เพราะนอกจากจะทำให้มีเวลาอ่านหนังสือและฝึกทำแบบทดสอบแล้ว หนังสืออาจหาซื้อได้ไม่ยากราคาไม่แพงมากนัก
- จัดหาสถาบันติวสอบหรือคอร์สติวสอบออนไลน์ เพราะการติวสอบถือเป็นเส้นทางลัดที่ทำผู้ที่สมัครสอบนายร้อยตำรวจ เตรียมความพร้อมในด้านทักษะความรู้ความสามารถและการเตรียมความพร้อมด้านร่างกายได้ง่ายมากขึ้น เพราะสถาบันที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับจะมีติวเตอร์ที่มีประสบการณ์และมีความรู้ความสามารถโดยตรง นอจากนั้นการติวสอบนายร้อยตำรวจยังจัดหาคู่มือและแนวข้อสอบได้ตอบโจทย์ได้มากกว่าการหาซื้อหนังสือหรือแนวข้อสอบด้วยตัวเอง
สำหรับคนที่มีความมุ่งมั่น ขยันอ่านหนังสือ ขยันติว มีวินัยในการเตรียมความพร้อมของตนเอง การสอบนายร้อยตำรวจหรือสอบเพื่อบรรจุรับราชการตำรวจ ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะประสบความสำเร็จ และการอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวสอบ นอกจากตามความรู้ตามที่ระบุในคุณสมบัติของผู้สมัครสอบแล้ว การเรียนรู้หรือศึกษาความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่ รวมทั้งสวัสดิการความก้าวหน้าในสายพนักงานสืบสวน หรือสายงานอื่น ๆ ถือเป็นความรู้รอบตัวที่มีประโยชน์ต่อการสอบทั้งสิ้น