โครงสร้างการบริหารจัดการในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

555
โครงสร้างการบริหารจัดการในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
โครงสร้างการบริหารจัดการในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

โครงสร้างการบริหารจัดการในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

โครงสร้างการบริหารจัดการในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร จะสามารถแบ่งเป็น 4 ฝ่ายด้วยกัน ประกอบด้วย

  1. ฝ่ายบริหาร ได้แก่ ผู้บังคับบัญชาคอยรับผิดชอบดำเนินงานของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ซึ่งจะประกอบไปด้วย
    • ผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
    • รองผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
    • ผู้อำนวยการสำนักวิทยาการความมั่นคง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
    • รองผู้้อำนวยการสำนักวิทยาการความมั่นคง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (1)
    • รองผู้้อำนวยการสำนักวิทยาการความมั่นคง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (2)
  2. ฝ่ายนโยบายและแผน เป็นฝ่ายที่กำหนดนโยบายการศึกษาและแผนการศึกษา มีความรับผิดชอบของคณะกรรมการ 2 ชุด ได้แก่
    1. สภาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (สภา วปอ.) ตามระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรสถาบันป้องกันประเทศ (ฉบับ 2) พ.ศ. 2551 กำหนดหน้าที่ของสภาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เอาไว้ดังนี้
      • การกำหนดนโยบายในการประศาสน์วิทยาการ
      • การอนุมัติโครงการศึกษาและหลักสูตรการศึกษาต่าง ๆ ของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันป้องกันประเทศ
      • การกำหนดจำนวน คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าศึกษาในแต่ละหลักสูตรการศึกษา ตลอดจนการให้ความเห็นชอบในตัวบุคคลที่จะเข้าศึกษา
      • การอนุมัติปริญญา ปริญญากิตติมศักดิ์ และวุฒิการศึกษาของหลักสูตรการศึกษาต่าง ๆ ของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันป้องกันประเทศ
      • การเสนอแนะการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ
      • การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
      • การตั้งรวมและยุบเลิกสถาบัน ศูนย์หรือหน่วยขึ้นตรงวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
      • เรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับกิจการของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
    2. คณะกรรมการการศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องประเทศ จะมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
      • พิจารณาและจัดทำโครงการศึกษาและหลักสูตรการศึกษา รวมทั้งกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษาของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ให้เป็นไปตามนโยบายของสภาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
      • กำกับดูแลการบริหารการศึกษาของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ให้เป็นไปตามที่สภาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรได้มอบหมาย
      • พิจารณาจัดทำรายละเอียดคุณสมบัติของผู้เข้ารับการศึกษา การคัดเลือกผู้เข้ารับการศึกษา ระยะเวลาศึกษา ตลอดจนคุณวุฒิ ศักดิ์และสิทธิ์ และหลักสูตรการศึกษาของหลักสูตรอื่น ๆ เสนอสภาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เพื่ออนุมัติตามความเหมาะสมของหลักสูตรนั้น ๆ
      • เสนอแนะการแต่งตั้งและถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิ
  3. ฝ่ายอำนวยการหน่วยงานระดับกอง มีหน้าที่อำนวยการศึกษาและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ หรือนโยบายที่ถูกกำหนดไว้ โดยในฝ่ายนี้จะประกอบไปด้วย
    • กองอำนวยการ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานธุรการทั่วไป การธุรการเกี่ยวกับการศึกษา และอุปกรณ์การศึกษา การห้องสมุด การสารบรรณ การรักษาความปลอดภัย การกำลังพล การบริการ และการเงินของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรเป็นต้น
    • กองพัฒนาการศึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบและประสานในเรื่องของการวางแผน การจัดการ รวมไปถึงการบริหารในกิจการทั้งปวงที่เกี่ยวกับการศึกษา ตลอดจนการประสานงานกับนักศึกษา ทั้งนี้เพื่อช่วยให้การจัดการศึกษาของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้นั่นเอง
  4. ฝ่ายวิชาการหน่วยงานระดับกอง มีหน้าที่รับผิดชอบงานทางด้านวิชาการในสาขาต่างๆ โดยจะประกอบด้วยกองวิชาการที่จัดตั้งตามอัตรา 5 กอง ได้แก่
    1. กองยุทธศาสตร์ และความมั่นคง (กย.) มีหน้าที่คอยให้การศึกษาเกี่ยวกับศิลป์และศาสตร์ในการพัฒนา รวมไปถึงการใช้พลังของชาติทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา และกำลังทหาร ทั้งในยามปกติและในยามสงคราม รวมทั้งประมวลความคิดเห็นของนักศึกษาเพื่อพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติ นอกจากนี้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการเขียนเอกสารวิจัย ตรวจแก้ และประเมินผลเอกสารวิจัยด้านยุทธศาสตร์
    2. กองการเมืองและการทหาร (กมท.) มีหน้าที่ให้การศึกษาเกี่ยวกับสภาพทางการเมือง สนธิสัญญาต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตลอดไปจนถึงเรื่องนโยบายและพลังทางการเมืองของประเทศไทยและของต่างประเทศ รวมทั้งคอยประมวลความคิดเห็นของนักศึกษาเพื่อช่วยพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษาการเขียนเอกสารวิจัย ตรวจแก้ และประเมินผลเอกสารวิจัยด้านการเมือง และมีหน้าที่ให้การศึกษาเกี่ยวกับขีดความสามารถทางการทหาร นโยบายการทหาร ยุทธศาสตร์ และพลังทางทหารทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ รวมทั้งประมวลความคิดเห็นทางการทหารของนักศึกษาเพื่อพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติ นอกจากนี้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการเขียนเอกสารวิจัย ตรวจแก้ และประเมินผลเอกสารวิจัยด้านการทหาร
    3. กองการเศรษฐกิจและสังคมจิตวิทยา (กศส.) มีหน้าที่ให้การศึกษาเกี่ยวกับขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ และพลังทางเศรษฐกิจของประเทศไทยกับต่างประเทศ รวมทั้งประมวลความคิดเห็นทางการเศรษฐกิจของนักศึกษาเพื่อพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาตินอกจากนี้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการเขียนเอกสารวิจัย ตรวจแก้ และประเมินผลเอกสารวิจัยด้านเศรษฐกิจ และ มีหน้าที่ให้การศึกษาเกี่ยวกับภาวะทางสังคมและจิตวิทยา ความสัมพันธ์ และพลังทางสังคมจิตวิทยาของประเทศไทยกับต่างประเทศ รวมทั้งประมวลความคิดเห็นทางการสังคมจิตวิทยาของนักศึกษาเพื่อพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาตินอกจากนี้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการเขียนเอกสารวิจัย ตรวจแก้ และประเมินผลเอกสารวิจัยด้านสังคมจิตวิทยา
    4. กองวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (กวท.) มีหน้าที่ให้การศึกษาเกี่ยวกับภาวะทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์และพลังอำนาจทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การพลังงานและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและต่างประเทศ รวมทั้งประมวลความคิดเห็นทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การพลังงานและสิ่งแวดล้อมของนักศึกษา เพื่อพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี นอกจากนี้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการเขียนเอกสารวิจัย ตรวจแก้ และประเมินผลเอกสารวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีฯ
    5. กองเอกสารวิจัย และห้องสมุด (กอส.) มีหน้าที่ให้การศึกษาในเรื่องที่เกี่ยวกับการเขียนเอกสารวิจัยส่วนบุคคล กำหนดขั้นตอน รายละเอียด รูปแบบการอ้างอิง และหลักเกณฑ์การพิจารณาที่เกี่ยวกับการเขียนเอกสารวิจัยส่วนบุคคล ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการจัดทำชื่อเรื่อง เค้าโครงเรื่อง และในการดำเนินการวิจัย ประสานหน่วยงายภายนอกเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องเพื่อการวิจัย และข้อมูลการวิจัย ตรวจแก้ และแจกจ่ายเอกสารวิจัยฯ ประเมินการเขียนเอกสารวิจัยฯและให้บริการข้อมูลสารสนเทศ