รวม 20 เรื่อง โรงเรียนจ่าอากาศ

1944
ทหารอากาศหญิงแห่งกองทัพอากาศ
ทหารอากาศหญิงแห่งกองทัพอากาศ
เนื้อหา ซ่อน

1.โรงเรียนจ่าอากาศ คือ

โรงเรียนจ่าอากาศ คือ สถาบันการศึกษาหลักขั้นต้นของ กองทัพอากาศ มีหน้าที่ผลิตนายทหารประทวนให้กับส่วนราชการต่างๆ ของกองทัพอากาศ และอาจะจะมีนอกกองทัพอากาศที่ฝากผลิตเป็นครั้งคราว ตลอดจนให้การศึกษาอบรมข้าราชการกลาโหมพลเรือนต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตรทั้งในและนอกกองทัพอากาศตามแต่กองทัพอากาศจะกำหนดไป

2.ประวัติการจัดตั้ง โรงเรียนจ่าอากาศ

โรงเรียนจ่าอากาศ แต่เดิมนั้นกองทัพอากาศนั้นไม่มีโรงเรียนผลิตนายทหารประทวน ส่วนใหญ่นายทหารประทวน จะได้มาจากทหารกองประจำการที่ทำการสมัครเข้ารับราชการต่อ แต่งตั้งยศเป็นจ่าอากาศ เมื่อปฏิบัติงานมีความรู้ มีความสามารถ ความชำนาญงานสูงขึ้น ก็จะได้รับการเลื่อนตำแหน่ง เลื่อนยศให้สูงขึ้นตามลำดับ จนขึ้นมาเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร

ในช่วงปี พ.ศ.2481 นั้นกองทัพอากาศได้กำหนดให้มี แผนกอาวุธ กองโรงเรียนการบิน และมีแผนกโรงเรียน โดยจะเป็นหน่วยขึ้นตรงกับกรมเสนาธิการทหารอากาศ แบ่งกิจการ และกำหนดหน้าที่แผนกโรงเรียน ดังนี้

  • กองศึกษาที่ 1 มีหน้าที่อบรมนายทหารสัญญาบัตร ทุกจำพวก
  • กองศึกษาที่ 2 มีหน้าที่อบรมนายทหารประทวน ทุกจำพวก
  • กองโรงเรียนจ่าอากาศทหารราบ มีหน้าที่อบรมผู้บังคับหมู่ทหารราบ

ต่อมาในปี พ.ศ.2483 เกิดกรณีพิพาทจาดอินโดจีน กองทัพอากาศได้ประสบเหตุการณ์รบอย่างแท้จริง จึงเล็งเห็นความสำคัญในด้านการศึกษาขึ้นมาว่า ทหารจำเป็นต้องมีความรู้ในหลักวิชาเพื่อสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง กองทัพอากาศจึงจะมีประสิทธิภาพด้านการรบมากขึ้น และหากจะใช้แต่ความกล้าหาญ ความชำนาญการรบ ย่อมไม่เป็นการเพียงพอ และอาจจะก่อให้เกิดเป็นฝ่ายเสียเปรียบในการปฏิบัติการรบได้จากแนวความคิดในด้านการศึกษาดังกล่าว กองทัพอากาศจึงได้เริ่มดำเนินการเพื่อวางรากฐานโครงการศึกษาของกองทัพอากาศขึ้น

หลังจากนั้นในปี พ .ศ.2491 ก็ได้กำหนดให้ใช้อัตรากองทัพอากาศ พ.ศ.2491 ตามคำสั่งกระทรวง กลาโหม (พิเศษ) ที่ 49/19127 แผนกโรงเรียน เปลี่ยนฐานะเป็น กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ โดยขึ้นตรงต่อกองทัพอากาศ เริ่มบริหารงานตามอัตราใหม่ขึ้น ตั้งแต่ 7 มกราคม 2492 ซึ่งถือเป็นวันเปิดประชุมสภากองทัพอากาศครั้งแรก ได้มีการรวมแผนกโรงเรียนต่างๆ ของกองทัพอากาศ เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ดังนี้

  • โรงเรียนฝึกการช่างอากาศ ของกองโรงงานกรมทหารอากาศ
  • โรงเรียนสื่อสาร ของแผนกสื่อสาร กรมเสนาธิการทหารอากาศ
  • กองโรงเรียนจ่าอากาศทหารราบ

3.วิสัยทัศน์ โรงเรียนจ่าอากาศ

วิสัยทัศน์ โรงเรียนจ่าอากาศ มีดังนี้

“เป็นสถาบันผลิตนายทหารประทวนหลักที่มีสมรรถนะเพื่อตอบสนองการเป็น กองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค”

4.ปรัชญา โรงเรียนจ่าอากาศ

ปรัชญา โรงเรียนจ่าอากาศ มีดังนี้

“ทักษะดี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม น้อมนำพระราชดำริ มีจิตอาสา”

5.คำขวัญ โรงเรียนจ่าอากาศ

คำขวัญ โรงเรียนจ่าอากาศ มีดังนี้

” จ่าอากาศ คือ หัวใจของกองทัพ “

6.ปณิธาน โรงเรียนจ่าอากาศ

ปณิธาน โรงเรียนจ่าอากาศ มีดังนี้

ผลิตจ่าอากาศที่มีวินัย รับผิดชอบต่อหน้าที่ สามารถปฏิบัติงานตอบสนองภารกิจของ กองทัพอากาศ

7.อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ โรงเรียนจ่าอากาศ

อัตลักษณ์ โรงเรียนจ่าอากาศ มีดังนี้

  • อัตลักษณ์
    • “มีความรู้สนับสนุนด้านการบิน เคร่งครัดวินัย เชิดชูคุณธรรม ก้าวทันเทคโนโลยี”
  • เอกลักษณ์
    • “แหล่งผลิตจ่าอากาศที่เป็นหัวใจของกองทัพอากาศ”

8.โครงสร้างหน่วยโรงเรียนจ่าอากาศ

  • กองบังคับการ
  • กองการศึกษา
  • กองการฝึก
  • กองนักเรียน
  • กองบริการ
  • แผนกการเงิน

9.หลักสูตรการเป็นจ่าอากาศ

หลักสูตรการเป็นจ่าอากาศนั้น จะมีหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับการสร้างกำลังทหารในระดับชั้นประทวนให้กับกองทัพอากาศ โดยผ่านการฝึกจาก โรงเรียนจ่าอากาศ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ผลิตนายทหารชั้นประทวนให้แก่กองทัพอากาศ โดยการศึกษานักเรียนจ่าอากาศ (นจอ.) จะมี 3 หลักสูตร ดังนี้

  • หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนจ่าอากาศ 3 ปีสำหรับนักเรียนที่สอบหลังจบม.3
  • หลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศ 2 ปี สำหรับนักเรียนที่สอบหลังจบม.6/ปวช.
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ระดับต้น 2 ปี สำหรับนักเรียนที่สอบหลังจบ ม.6

10. สิทธิประโยชน์ต่างๆ ขณะที่เป็นนักเรียนจ่าอากาศ

สิทธิประโยชน์ต่างๆ ขณะที่เป็นนักเรียนจ่าอากาศจะมีทั้งหมด ดังนี้

  • ได้รับจ่ายสิ่งของจากราชการตามอัตราจ่ายที่ทางราชการกำหนด
  • ได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ 75 บาท (เบี้ยเลี้ยงกรณีไปราชการนอกที่ตั้งปกติวันละ 94.- บาท)
  • ได้รับเงินเดือนตามพระราชกฤษฎีกา การปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการทหารกองประจำการและนักเรียนทหารในสังกัดกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2554 ดังนี้
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนจ่าอากาศ
  • ชั้นปีที่ 1 รับเงินเดือน พ.1/10 เดือนละ 2,610 บาท
  • ชั้นปีที่ 2 รับเงินเดือน พ.1/12 เดือนละ 2,890 บาท
  • ชั้นปีที่ 3 รับเงินเดือน พ.1/13 เดือนละ 3,070 บาท
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ ระดับต้น
  • ชั้นปีที่ 1 รับเงินเดือน พ.1/13 เดือนละ 3,070 บาท
  • ชั้นปีที่ 2 รับเงินเดือน พ.1/14 เดือนละ 3,270 บาท
  • หลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศ
  • ชั้นปีที่ 1 รับเงินเดือน พ.1/13 เดือนละ 3,070 บาท
  • ชั้นปีที่ 2 รับเงินเดือน พ.1/14 เดือนละ 3,270 บาท
  • โรงเรียนจ่าอากาศประกอบเลี้ยงอาหารทุกวัน วันละ 3มื้อ โดยใช้เงินเบี้ยเลี้ยงบางส่วนเป็นค่าอาหาร
  • ได้รับสิทธิ์ในการคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนทุน กองทัพอากาศ ศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร ในส่วนกองทัพอากาศ ตามหลักเกณฑ์ที่กองทัพอากาศกำหนด (อายุไม่เกิน 17 ปีบริบูรณ์ ในปีที่สมัครเป็นนักเรียนจ่าอากาศ = เฉพาะผู้สอบวุฒิม.3)

11.สิทธิประโยชน์เมื่อสำเร็จการศึกษา โรงเรียนจ่าอากาศ

โรงเรียนจ่าอากาศนักเรียนที่ทำการผลิตเหล่าทหารจ่าอากาศนั้น หลังจากสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรต่างๆของโรงเรียนก็จะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งยศเป็นจ่าอากาศตรี ทั้งยังได้รับเงินเดือนตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการทหารและการได้รับเงินเดือน พ.ศ.2549 ดังนี้

  • สำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนจ่าอากาศ (วุฒิ ม.3) ศึกษา 3 ปี รับเงินเดือนเดือนละ 6,140 บาท
  • สำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ ระดับต้น (วุฒิ ม.6) ศึกษา 2 ปี รับเงินเดือนเดือนละ 6,800 บาท
  • สำเร็จหลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศ (วุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่า) ศึกษา 2 ปี รับเงินเดือนเดือนละ 6,800 บาท
  • สำเร็จหลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศ (วุฒิ ปวช.หรือเทียบเท่า) ศึกษา 2 ปี รับเงินเดือนเดือนละ 7,460 บาท

อัตราเงินเดือนดังกล่าว จะเป็นไปตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการทหาร ทหารกองประจำการ และนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม ท้ายพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการฯ

12.ความก้าวหน้าในอาชีพของจ่าอากาศ

ความก้าวหน้าในอาชีพของจ่าอากาศจะมีมากมาย ดังนี้

  1. การศึกษา, ฝึกงาน หรือดูงานทั้งในและต่างประเทศผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนจ่าอากาศทุกเหล่าทหาร เมื่อรับราชการครบ 2 ปี จะมีสิทธิ์สมัครสอบคัดเลือกไปศึกษา ฝึกงาน หรือดูงานต่างๆเพิ่มเติมทั้งในและต่างประเทศ ด้วยเงื่อยไขจะเป็นไปตามที่ทางราชการกำหนด
  2. เลื่อนฐานะตัวผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนจ่าอากาศ เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ทางราชการกำหนดมีสิทธิ์สอบเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตร ตามความต้องการบรรจุกำลังพลในแต่ละปี (ครองยศพันจ่าอากาศเอก มีอายุ 36-39 ปี) แถมยังมีสิทธิเข้าสอบแข่งกับบุคคลพลเรือนในการสอบของบุคคลภายนอกประจำปีงบประมาณด้วย

13.การหมดสิทธิ์

ผู้หมดสิทธิ์ในการสมัครสอบเป็นนักเรียนจ่าอากาศ จะมีดังนี้

  • ผู้ซึ่งขาดคุณสมบัติด้านขนาดพิกัดความสมบูรณ์ของร่างกายไม่ได้ตามเกณฑ์
  • หลักฐานเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งไม่สมบูรณ์ หรือเป็นเท็จ

ผู้หมดสิทธิ์ในการสอบวิชาการ จะมีดังนี้

  • ผู้ที่ทุจริต หรือ ส่อเจตนาทุจริตในเวลาสอบ
  • ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อห้ามต่าง ๆ ดังนี้
    • เข้าสอบช้ากว่ากำหนดเวลาที่เริ่มต้นสอบเกิน 20 นาที หมดสิทธิ์เข้าห้องสอบ
    • ห้ามนำเอกสาร เครื่องเขียน อุปกรณ์การคำนวณ และเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดเข้าห้องสอบ
    • ห้ามเปิดปัญหาสอบจนกว่าจะได้รับคำสั่ง
    • ห้ามพูดคุย หรือปรึกษา หากสงสัยให้ยกมือถามกรรมการเท่านั้น
    • ห้ามออกจากห้องสอบก่อนเวลาที่คณะกรรมการคุมสอบกำหนด
    • ห้ามนำปัญหาสอบและใบคำตอบออกนอกห้องสอบ

ผู้หมดสิทธิ์ในการทำสัญญาเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ จะมีดังนี้

  • ผู้ปกครอง หรือผู้ค้ำประกันผู้ปกครอง ขาดคุณสมบัติ
  • ผู้ที่ไม่ไปทำสัญญาตามวัน เวลา ที่กำหนด

ผู้ที่ไม่ไปรายงานตัวเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ ในวันที่ระบุเอาไว้

14.สัญลักษณ์ โรงเรียนจ่าอากาศ

โรงเรียนจ่าอากาศ มีธงประจำโรงเรียนจ่าอากาศอยู่ โดยเดิมเป็นสีเทา มีตราโรงเรียนจ่าอากาศอยู่ตรงกลาง แตในปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นพื้นสีเขียวขลิบด้วยสีแสด มีตราโรงเรียนจ่าอากาศอยู่ตรงกลาง

สีประจำโรงเรียนจ่าอากาศจะมีอยู่ 2 สี ดังนี้

  • สีเขียว หมายถึง วันสถาปนาเป็นโรงเรียนจ่าอากาศ ซึ่งตรงกับวันพุธที่ 24 ธันวาคม 2495 (วันพุธ แทนด้วย สีเขียว)
  • สีแสด หมายถึง หน่วยการศึกษา ซึ่งจำเป็นจะต้องมีครูเป็นผู้ถ่ายทอดและประสาทวิชาให้แก่ผู้เข้ารับการศึกษา (วันครู ตรงกับวัน พฤหัสบดี แทนด้วยสีแสด)

15.ตราสัญลักษณ์ โรงเรียนจ่าอากาศ

ตราสัญลักษณ์ โรงเรียนจ่าอากาศ จะเป็นรูปอาร์มมีเส้นขอบเป็นสีน้ำเงินเข้ม พื้นของอาร์มสีฟ้าอ่อน ภายในอาร์มมีรูปวงกลมสีน้ำเงินภายในวงกลมมีช่อชัยพฤกษ์สีทอง เหนือช่อชัยพฤกษ์ และมีรูปดาวสีทองทับอยู่บนวงกลม 3 วงสีขาว ค่อนมาทางปลายคบเพลิง ซ้ายขวามีรูปปีกสีทอง ใต้วงกลมมีแถบสีเหลืองเส้นขอบสีน้ำเงิน ทั้งยังมีตัวอักษรสีดำเขียนคำว่า “โรงเรียนจ่าอากาศ” อยู่ตรงกลาง โดยมีความหมายของภาพและสี ดังนี้

  • รูปอาร์ม ปฏิบัติตามระเบียบ ทอ.ว่าด้วยสัญลักษณ์หน่วย พ.ศ.2541
  • พื้นสีฟ้าอ่อน หมายถึง กองทัพอากาศ (ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธง พ.ศ.2522)
  • วงกลมพื้นสีน้ำเงิน หมายถึง ความเป็นทหารอากาศ
  • ปีกและช่อชัยพฤกษ์สีทอง หมายถึง เครื่องหมายราชการกองทัพอากาศ
  • ดาวสีทอง หมายถึง สถานศึกษาหน่วยหนึ่งของ ยศ.ทอ.
  • คบเพลิงสีทอง หมายถึง การศึกษาทำให้เกิดปัญญาเปรียบเสมือนแสงสว่าง
  • วงกลมสีขาว หมายถึง การศึกษาที่ไม่หยุดนิ่ง
  • แถบสีเหลืองมีข้อความ “โรงเรียนจ่าอากาศ” แสดงชื่อหน่วย

16.คุณสมบัติของผู้สมัครที่ต้องการเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ

คุณสมบัติของต้องการสมัครสอบเข้านักเรียนจ่าอากาศ จะมีดังนี้

  1. เป็นชายโสด อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และไม่เกิน 20 ปี ในปีที่จะเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ (นับตามปี พ.ศ.)
  2. คุณวุฒิของผู้สมัคร
    1. มัธยมศึกษาตอนปลาย ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า สำเร็จการศึกษาก่อนปีการศึกษา 2556 มีผลการเรียนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรไม่ต่ากว่า 2.00
    2. กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนสุดท้ายของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยรวม (สัดส่วนผลการเรียนและผลการเรียนระดับชาติ) ไม่ต่ำกว่า 2.00
    3. ประกาศนียบัตรวิชาชีพ มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ากว่า 2.00 หรือ ผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ ในภาคเรียนที่ 6 ของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ต้องมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ากว่า 2.00
  3. มีสัญชาติไทย และบิดามารดามีสัญชาติไทยโดยการเกิด (เกิดในประเทศไทย) ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตรหรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิดแล้ว มารดาจะมิใช่ผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดก็ได้
  4. มีอวัยวะรูปร่าง ลักษณะท่าทาง ขนาดร่างกาย เหมาะสมแก่การเป็นทหาร ไม่เป็นโรค และความพิการของร่างกาย

สามารถติดตาม ประกาศรับสมัครนักเรียนจ่าอากาศ ทางอินเทอร์เน็ต ที่เว็บไซต์ www.atts.ac.th

17. กลุ่มสมัครสอบ โรงเรียนจ่าอากาศ

กลุ่มสมัครสอบ โรงเรียนจ่าอากาศ เป็นสิ่งจำเป็นโดยตัวผู้สมัครสอบเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศนั้น จะต้องเลือกกลุ่มสมัครสอบ (ตามคุณวุฒิ) ตามจำานวนนักเรียนจ่าอากาศที่เข้ารับการศึกษา และเหล่าทหาร ที่เปิดรับสมัครในแต่ละปี เช่น

  • จบ ม.6 สายวิทย์-คณิต สามารถเลือกเหล่า ต้นหนและอุตุ
  • จบ ปวช. กศน. สามารถเลือกเหล่า อากาศโยธินและสารวัตร

18.การทดสอบของ โรงเรียนจ่าอากาศ

การทดสอบของ โรงเรียนจ่าอากาศ จะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้

  1. ขั้นตอนแรก การสอบภาควิชาการ (700 คะแนน ) จะประกอบไปด้วย
    • คณิตศาสตร์ 200 คะแนน
    • วิทยาศาสตร์ 200 คะแนน
    • ภาษาอังกฤษ 175 คะแนน
    • ภาษาไทยและสังคม 125 คะแนน
  2. ขั้นตอนที่สอง สำหรับผู้ที่ผ่านรอบวิชาการ
    • สอบความถนัดและวิภาววิสัย 100 คะแนน
    • สอบสัมภาษณ์ 100 คะแนน
    • สอบพละศึกษา 100 คะแนน
    • วิ่ง 1,000 เมตร ว่ายน้ำ 50 เมตร ดึงข้อ ลุกนั่ง ยืนกระโดดไกล เป็นต้น

19.หน้าที่ของทหารเหล่าต่างๆ ในกองทัพอากาศ

หน้าที่ของทหารเหล่าต่างๆ ในกองทัพอากาศ จะมีทั้งหมด 23 เหล่า ดังนี้

  1. เหล่าทหารนักบิน มีหน้าที่เป็นนักบินประเภทต่างๆ เช่นนักบินขับไล่ นักบินโจมตี นักบินตรวจการณ์และนักบินทิ้งระเบิด การขนส่งทางอากาศ การลาดตะเวนทางอากาศ หรือ ภาระกิจทางอากาศอื่นๆ เพื่อช่วยเหลือหรือสนับสนุนหน่วยทหารพื้นดิน
  2. เหล่าทหารต้นหน มีหน้าที่เกี่ยวกับการเดินอากาศ แนะนำนักบินในเรื่องทิศทางการบิน ประสานกับหอบังคับการบินในขณะที่บินอยู่ในอากาศ
  3. เหล่าทหารตรวจการณ์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจการณ์ทั้งทางอากาศ และ ทางพื้นดิน การลาดตะเวนทางอากาศเพื่อแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบถึงสถานการณ์
  4. เหล่าทิ้งระเบิด ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทิ้งระเบิด เพื่อทำลายเป้าหมายทางพื้นดิน ตามภารกิจที่ผู้บังคับบัญชากำหนด
  5. เหล่าทหารสื่อสาร ทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหา เก็บรักษา เบิกจ่าย ค้นคว้า สร้างซ่อมตรวจ และ ทดลองให้คำแนะนำเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสาร เครื่องมือเครื่องใช้ในการสื่อสาร ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ในการสื่อสาร
  6. เหล่าทหารสรรพาวุธ ทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหา เก็บรักษา เบิกจ่าย ค้นคว้า สร้าง ซ่อมตรวจ และ ทดลอง กับให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสรรพาวุธ เครื่องมือเครื่องใช้การสรรพาวุธ ตลอดจนถึงสงครามเคมี ชีวะ เชื้อโรคและปรมาณู
  7. เหล่าทหารอากาศโยธิน ทำหน้าที่รบเพื่อป้องกันสนามบิน สถานที่สำคัญของกองทัพอากาศจากการรุกรานทางพื้นดิน ทางอากาศโดยร่วมกำลังทางอากาศและทางอื่น ๆ
  8. เหล่าทหารขนส่ง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการขนส่ง รับผิดชอบในการจัดหา เก็บรักษาเบิกจ่าย เครื่องอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการขนส่งให้แก่หน่วยต่าง ๆ ในกองทัพอากาศอยู่เสมอ
  9. เหล่าทหารสารวัตร ทำหน้าที่ตรวจตรา ควบคุม ข้าราชการกองทัพอากาศ ให้อยู่ในระเบียบวินัยของทหารกับมีหน้าที่รักษาความสงบ รักษาความปลอดภัยให้แก่บุคคลและสถานที่ราชการกองทัพอากาศ
  10. เหล่าทหารช่างอากาศ ทำหน้าที่ในการจัดหา เก็บรักษา เบิกจ่ายและซ่อมเครื่องมือ เครื่องยนต์อุปกรณ์การบินต่าง ๆ ของกองทัพอากาศ
  11. เหล่าทหารพลาธิการ ทำหน้าที่ในการจัดหา เก็บรักษา เบิกจ่าย เครื่องอุปโภคบริโภค กับการสัมภาระทั้งปวง ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ให้แก่หน่วยต่าง ๆ ตามนโยบายกองทัพอากาศ
  12. เหล่าทหารช่างโยธา ทำหน้าที่ในการซ่อมสร้างสนามบิน ถนน อาคาร การไฟฟ้า ประปา ให้ใช้ได้ดีอยู่เสมอ ตลอดจนการจัดหา เก็บรักษา เบิกจ่าย เครื่องมือเครื่องใช้ในการนี้ให้แก่หน่วยต่าง ๆ และให้เป็นไปตามนโยบายกองทัพอากาศ
  13. เหล่าทหารแผนที่ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำแผนที่ การสำรวจเส้นทาง การแก้ไข เพิ่มเติมรายละเอียดของตำบลต่าง ๆ ในแผนที่ให้ถูกต้องตามกาลสมัยอยู่เสมอ
  14. เหล่าทหารอุตุนิยมวิทยา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการอุตุนิยมวิทยา การพยากรณ์อากาศเกี่ยวกับการบิน
  15. เหล่าถ่ายรูป ทำหน้าที่เกี่ยวกับการถ่ายรูปทั้งทางพื้นดินและทางอากาศ
  16. เหล่าทหารการเงิน ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การตรวจเงิน ตลอดจนการตรวจสอบ ควบคุมการจ่ายเงินให้เป็นไปตามแบบธรรมเนียมของทางราชการ
  17. เหล่าพระธรรมนูญ ทำหน้าที่ทางกฎหมายและศาลทหาร
  18. เหล่าทหารดุริยางค์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดุริยางค์ การบรรเลงเพื่อกล่อมขวัญทหารของ กองทัพอากาศ
  19. เหล่าทหารสารบรรณ ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและงานธุรการทั่วไปในกองทัพอากาศ
  20. เหล่าทหารแพทย์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ค้นคว้าในด้านการแพทย์ วางนโยบายการสุขาภิบาล รับผิดชอบในการจัดหา เก็บรักษา เบิกจ่ายเครื่องเวชภัณฑ์ต่าง ๆ
  21. เหล่าทหารพลร่ม ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรบพิเศษ การรบแบบกองโจร การช่วยเหลือค้นหาเมื่อมี บ. อุบัติเหตุ
  22. เหล่าทหารพัสดุ ทำหน้าที่เกี่ยวกับพัสดุ การจัดหา เก็บรักษา แจกจ่ายพัสดุต่าง ๆ ให้กับหน่วยในกองทัพอากาศ เช่น อะไหล่ บ.
  23. เหล่าทหารวิทยาศาสตร์ มีหน้าที่วางแผนอำนวยการ ประสานงาน ให้การศึกษาวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการสร้างอาวุธยุทธภัณฑ์ที่สำคัญ ซึ่งต้องใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี่สูงดำเนินการเกี่ยวกับ เคมี ชีวะ รังสี และกิจการวิทยาศาสตร์ การใช้เครื่องจักรคำนวณสนับสนุนในการวิจัยระบบอาวุธยุทธภัณฑ์ การส่งกำลังบำรุงและการบริหารงานของกองทัพอากาศให้การสนับสนุนแก่สถานวิจัยของส่วนราชการ และหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อนำผลมาใช้ในการสร้างอาวุธยุทธภัณฑ์ ประสานงานกับโรงงานอุตสาหกรรมของส่วนราชการ และหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ในการสร้างอาวุธยุทธภัณฑ์ กับมีหน้าที่ในการศึกษาและควบคุมตรวจตรากิจการในสายวิทยาการเหล่าทหารวิทยาศาสตร์

20.สโมสรโรงเรียนจ่าอากาศ

สโมสรโรงเรียนจ่าอากาศ เป็น สโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เรียกได้ว่าเป็นตัวแทนทีมฟุตบอลของโรงเรียนจ่าอากาศ ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก โดยสโมสรเคยเข้าร่วมการแข่งขัน ไทยลีกดิวิชัน 1 ในปี 2550 ก่อนที่จะตกชั้นมาเล่นใน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน

ขอบคุณภาพจาก : กองทัพอากาศไทย