รวม 20 เรื่อง ที่ต้องรู้ก่อน เป็น ทหารอากาศหญิง

3972
รวม 20 เรื่อง ที่ต้องรู้ก่อน เป็น ทหารอากาศหญิง
รวม 20 เรื่อง ที่ต้องรู้ก่อน เป็น ทหารอากาศหญิง
เนื้อหา ซ่อน

1.กำเนิดนายทหารหญิงของไทย

ประวัติ ทหารหญิง มีจุดเริ่มต้นของการรับสตรีเข้ารับราชการในกองทัพนั้นมาจากในสมัย จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม ตอนที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับภัยพิบัติจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาติบ้านเมืองต้องการกำลังทหารมาช่วยในการป้องกันประเทศชาติ จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม จึงมีดำริว่า “การขยายกำลังทหารอยู่ที่ต้องให้ชาติไทยทั้งชาติเป็นทหาร หมายความว่า คนไทยทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชาย จักต้องได้รับการอบรมให้เป็นนักรบที่สามารถเฉลียวฉลาดในวิทยาการ และเข้มแข็งพอ พร้อมที่จะสละชีพเพื่อชาติเสมอ และเรื่องการอบรมให้คนไทยเป็นนักรบที่สามารถทั้งชายหญิงนี้ เป็นนิสัยที่อยู่ในจิตใจแต่บรรพบุรุษแล้ว จนไทยเราได้จารึกเกียรติประวัติของบรรดาท่านวีรชนทั้งชายหญิงไว้ในประวัติศาสตร์ของชาติ”

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นจึงทำให้ จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม ได้จัดตั้งกองทหารหญิงขึ้นมาเป็นครั้งแรก โดยได้มอบหน้าที่ในการฝึกสอนหลักสูตรและให้การศึกษาด้านต่างๆกับกรมยุทธศึกษาทหารบก ซึ่งมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการสมัครเข้าศึกษานั้นจะใช้หลักการเดียวกับนายร้อยสำรองทหารบก

2.คุณสมบัติที่จำเป็นเพื่อเข้าสมัครทหารอากาศ

คุณสมบัติที่จำเป็นเพื่อเข้าสมัครสอบทหารอากาศ แบ่งออกเป็น 2 ระดับชั้น

1.สัญญาบัตร (ติดยศ เรืออากาศตรี)

  • อายุ 18-35 ปี
  • วุฒิ ป.โท ในปี 2563 เปิดรับ 3 อัตรา
  • วุฒิ ป.ตรี ในปี 2563 เปิดรับ 87 อัตรา

2.ประทวน (ติดยศ จ่าอากาศตรี)

  • อายุ 18-30 ปี
  • วุฒิ ปวส. ในปี 2563 เปิดรับ 13 อัตรา
  • วุฒิ ปวช. ในปี 2563 เปิดรับ 438 อัตรา
  • วุฒิ ปวช./ม.6 ในปี 2563 เปิดรับ 367 อัตรา

3.ส่วนสูง น้ำหนัก และรอยสัก กับการสมัครทหารอากาศ

  • ส่วนสูงต้องไม่ต่ำกว่า 150 ซม. (ยกเว้นบางตำแหน่งที่มีข้อกำหนดเป็นอย่างอื่น)
  • ไม่จำกัดส่วนของน้ำหนักตัว แต่ค่าดัชนีมวลกายนั้นต้องไม่เกิน 35
  • ห้ามมีรอยสักนอกร่มผ้า หรือสามารถมีรอยสักที่อยู่ภายใต้ร่มผ้าได้ (เมื่อสวมใส่เสื้อยืดคอวีแขนสั้น และกางเกงขาสั้น)

4.วิธีการสมัครทหารอากาศ

วิธีการสมัครทหารอากาศนั้นเปิดรับสมัครสอบทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น สามารถสมัครได้ที่ rtaf-recruit.com ตลอด 24 ชั่วโมง (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)

5.รายชื่อสถานบันของกองทัพอากาศไทย

  • โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
  • โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ
  • โรงเรียนจ่าอากาศ
  • วิทยาลัยการทัพอากาศ
  • โรงเรียนนายทหารอากาศอาวุโส
  • โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง
  • โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับหมวด
  • โรงเรียนนายทหารชั้นประทวน
  • โรงเรียนครูทหาร
  • โรงเรียนการบิน กำแพงแสน
  • วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ

6.ข้อสอบเสมือนจริงทหารอากาศ iTest

7.การทดสอบภาควิชาการ ที่ใช้ในการสอบเข้าเป็น นักเรียนทหารหญิง

  • ภาควิชาการ (ในแต่ละตำแหน่งที่ทำการเปิดสอบอาจไม่เหมือนกัน)
    • วิชาความรู้ทั่วไป
    • วิชาสามัญ
    • วิชาแบบธรรมเนียมทหาร
    • วิชาความรู้เฉพาะตำแหน่ง (ตามสาขาที่เปิดรับ)

8.การทดสอบ ภาคการสอบสัมภาษณ์และทดสอบร่างกาย ที่ใช้ในการสอบเข้าเป็น นักเรียนทหารหญิง

  • ภาคการสอบสัมภาษณ์และทดสอบร่างกาย
    • จะต้องมีการสอบสัมภาษณ์ ดูลักษณะท่าทาง การพูดการจา ไหวพริบ
    • ทดสอบร่างกาย วิ่ง ว่ายน้ำ ซิทอัพ ตามแต่ตำแหน่ง

9.การเปิดสอบเพื่อบรรจุเข้ารับราชการในกองทัพอากาศ ที่รับผู้หญิง ในปี 2563

ประกาศจาก กองทัพอากาศ ซึ่งมีความประสงค์จะรับสมัครบุคคลพลเรือน นายทหารประทวน ทหารกองหนุน พลอาสาสมัคร ลูกจ้างและพนักงานราชการ เพื่อสอบคัดเลือกเข้ารับราชการในกองทัพอากาศเป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตร และเป็นข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตรประจำปี 2563 จำนวน 908 อัตรา

ตำแหน่งที่เปิดรับสมัครสอบ ในปี 2563

บรรจุเป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตร (แต่งตั้งยศเป็นว่าที่เรืออากาศตรี) จำนวน 90 อัตรา

  • ระดับปริญญาโท 3 อัตรา
  • ระดับปริญญาตรี 87 อัตรา

บรรจุเป็นข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร (แต่งตั้งยศเป็นจ่าอากาศตรี) จำนวน 818 อัตรา

  • ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 13 อัตรา
  • ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 438 อัตรา
  • ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 367 อัตรา

โดยสามารถสมัครสอบได้ทางอินเทอร์เน็ต (ตลอด 24 ชั่วโมง) ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม – 24 กุมภาพันธ์ 2563 ที่เว็บไซต์ http://www.rtaf-recruit.com

กองทัพอากาศเปิดรับสมัครสอบทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น โดยสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม – 24 กุมภาพันธ์ 2563 ที่เว็บไซต์ http://www.rtaf-recruit.com/ ตลอด 24 ชั่วโมง (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)

รายละเอียดเพิ่มเติม

10.รายละเอียด สนามสอบของกองทัพอากาศ

(ห้วง ม.ค.) สนามสอบของกองทัพอากาศ จะทำการเปิดรับสมัครคัดเลือกบุคคลพลเรือน เข้ารับราชการเพียง ปีละ 1 ครั้ง โดยสนามสอบบุคคลพลเรือน เข้ารับราชการในกองทัพอากาศ นั้นจะอยู่ในช่วงเดือน มกราคม

11.การแต่งกายเข้าสอบ ทหารหญิง

ผู้หญิงที่จะทำการเข้าสอบทหารหญิง ต้องสวมกระโปรงหรือกางเกงขายาวทรงสุภาพเท่านั้น

12.จำนวนอัตราที่เปิดรับในแต่ละปี

จำนวนอัตราที่เปิดรับในแต่ละปี ไม่เท่ากันโดยมีการคาดเดาไว้ ดังนี้

  • นายทหารสัญญาบัตร อัตราการเปิดรับไม่เท่ากันในแต่ละปี ประมาณ 50-200 ตำแหน่ง
  • นายทหารชั้นประทวน อัตราการเปิดรับไม่เท่ากันในแต่ละปี ประมาณ 200-800 ตำแหน่ง

13.ประโยชน์จากการเข้ารับราชการทหาร

ประโยชน์จากการเข้ารับราชการทหาร มีดังนี้

  • อาชีพมีความมั่นคง
  • เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
  • เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร
  • เงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์
  • บำเหน็จบำนาญ
  • ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
  • เงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
  • สวัสดิการอื่นๆอีกมาก

14.เงินเดือนตามวุฒิที่ได้รับจากทหารอากาศ

  • เงินเดือน
    • วุฒิ ม.6 รวมค่าครองชีพ 10,110 บาท
    • วุฒิ ปวช. รวมค่าครองขีพ 10,830 บาท
    • วุฒิ ปวส. รวมค่าครองชีพ 12,285 บาท
    • วุฒิ ป.ตรี เงินเดือน 15,000 บาท
    • วุฒิ ป.โท เงินเดือน 17,550 บาท

15.คำปฏิญาณของ นายทหารหญิง

คำปฏิญาณของ นายทหารหญิง มีดังนี้

ฉันจะพลีชีพให้สมกับเกียรติของทหาร คือ ตายในสนามรบ
ฉันจะเทิดทูนไว้ซึ่งเกียรติของชาติ คือ สงวนความเป็นดอกไม้งามของไทย
ฉันจะทูนเหนือหัวซึ่งเกียรติของทหารหญิง คือ แม่พิมพ์ที่ดี
คุณงามความดีที่จะยึดมั่นไว้ ให้หนักแน่นกว่าขุนเขา
ส่วนความเสียสละเพื่อชาติ จะให้เบากว่าปุยนุ่น

16.ภารกิจตามกฎหมาย ของ กองทัพอากาศไทย

ภารกิจตามกฎหมาย ของ กองทัพอากาศไทย คือ การที่กองทัพอากาศมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพอากาศ และป้องกันราชอาณาจักร พร้อมการพัฒนาประเทศและแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดความขัดแย้งในระดับต่างๆ โดยดำรงระดับความพร้อมของขีดความสามารถอยู่ตลอดเวลา ด้วยการเสริมสร้างศักยภาพกำลังทางอากาศให้มีคุณภาพ และครอบครองเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับมิตรประเทศและดำรงความเข้มข้นในความรับผิดชอบต่อภารกิจตามกฎหมายโดยเฉพาะในการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ และการพัฒนาประเทศตามแนวคิดทางยุทธศาสตร์

17.ภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย ของ กองทัพอากาศไทย

ภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย ของ กองทัพอากาศไทยนั้นจะให้มีความพร้อมปฏิบัติการทั้งในส่วนของยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย สามารถไปปฏิบัติงานร่วมกับต่างประเทศได้ พร้อมกำลังพลในรูปของหน่วยบิน/หน่วย-ชุดปฏิบัติการ/เจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญประเภทต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายร่วมกับกำลังของต่างประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างเป็นลำดับ ได้แก่ การรักษาสันติภาพ การช่วยเหลือมนุษยธรรม และการบรรเทาภัยพิบัติ

18.วิสัยทัศน์ ของ กองทัพอากาศไทย

กองทัพอากาศไทยต้องการพัฒนาสู่ “กองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค” หรือ “O​ne of the Best Air Forces in ASEAN” ซึ่งอีกนัยหนึ่ง คือ เป็นกองทัพอากาศที่มีขีดความสามารถในทุกมิติอยู่ในระดับ 1 ใน 3 ของภูมิภาคอาเซียน บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าการก้าวไปสู่วิสัยทัศน์กองทัพอากาศอย่างเป็นระบบเป็นรูปธรรม และมีความยั่งยืนกองทัพอากาศจึงได้กำหนดจุดเน้นของทิศทางการพัฒนาในแต่ละระยะไว้ 3 ระยะ ดังนี้

  • ระยะที่ 1 พ.ศ.2551-2554 กองทัพอากาศดิจิตอล (Digital Air Force : DAF) มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการรบและการปฏิบัติการที่มิใช่การรบเพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามในทุกรูปแบบ โดยกองทัพอากาศต้องสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเป็นหลัก และบูรณาการเทคโนโลยีกำลังทางอากาศ เทคโนโลยีเครือข่าย และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจของกองทัพอากาศเป็นไปอย่างรวดเร็ว เหมาะสม ทันตามความต้องการในทุกสถานการณ์ อันจะเป็นพื้นฐานการพัฒนาสู่การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลา
  • ระยะที่ 2 พ.ศ.๒2555-2558 กองทัพอากาศที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Air Force : NCAF) มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการรบและการปฏิบัติการที่ไม่ใช่การรบ เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามในทุกรูปแบบรวมถึงภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในยุคสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง โดยกองทัพอากาศต้องสามารถประยุกต์แนวคิดการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCO) ได้อย่างสมบูรณ์ และต้องสามารถใช้เทคโนโลยีเครือข่ายและระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีได้บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง
  • ระยะที่ 3 พ.ศ.2559-2562 กองทัพอากาศจะขับเคลื่อนไปสู่ การเป็น “กองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค” โดยสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิตอลและแนวคิดการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCO) ในการปฏิบัติการรบและการปฏิบัติการที่มิใช่การรบ เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามในทุกรูปแบบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด

19.พันธกิจ ของ กองทัพอากาศไทย

พันธกิจ ของ กองทัพอากาศไทย จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้

การเตรียมความพร้อม

กองทัพอากาศต้องเตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติภารกิจภายใต้ การจัดโครงสร้างกำลังรบและส่วนสนับสนุนที่เหมาะสมภายใต้การบริหารจัดการ การฝึกอบรม การพัฒนากำลังพล และการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ ให้สามารถที่จะวางกำลังหน่วยปฏิบัติการในระดับต่างๆ ได้อย่างเต็มความสามารถ โดยในยามปกติจัดฐานที่ตั้งเป็นฐานบินปฏิบัติการหลัก ฐานบินปฏิบัติการหน้า ฐานบินปฏิบัติการพิเศษ ฐานบินปฏิบัติการสำรอง และสนามบินเฉพาะกิจ รวมถึงการประกอบกำลังที่มีหน่วยตัดสินตกลงใจ โดยมีศูนย์ปฏิบัติการในแต่ละระดับ สามารถบัญชาการและควบคุมตามที่ได้รับมอบอำนาจ เพื่ออำนวยการปฏิบัติการใช้กำลังทางอากาศทั้งในประเทศและนอกประเทศ

การใช้กำลัง

กองทัพอากาศจะมีพันธกิจในการใช้กำลังทางอากาศในยามปกติคือ การเฝ้าตรวจระวังภัยทางอากาศ ซึ่งรวมถึงการควบคุมเส้นทางสัญจรเข้าออกรอบประเทศ ในยามสงครามก็พร้อมที่จะใช้กำลังทางอากาศในการดำเนินกลยุทธ์ร่วมกับหน่วยกำลังอื่นๆ ทั้งการปฏิบัติสงครามอันเป็นการใช้กำลังในการป้องกันประเทศ การพิทักษ์ผลประโยชน์แห่งชาติ และการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในทุกระดับ ขณะเดียวกันกองทัพอากาศก็พร้อมที่จะใช้กำลังกองทัพอากาศเพื่อการพัฒนาประเทศและการช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสำคัญของชาติในยามวิกฤติต่าง ๆ เช่น การบรรเทาสาธารณภัยอันเกิดจากอุบัติภัยหรือภัยพิบัติจากธรรมชาติ การต่อต้านอาชญากรรม การปราบปรามยาเสพติด การสำรวจและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการฟื้นฟูภัยพิบัติสาธารณะต่าง ๆ

​​​​​​​​​​20.ติดต่อสอบถามหรือแสดงความคิดเห็น​​กองทัพทหารอากาศ

  • โทร. 0-2534-6000​
  • โทรสาร 0-2534-1930​​
  • Website rtaf.mi.th