รวม 20 เรื่อง โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ

1179
รวม 20 เรื่อง โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ
รวม 20 เรื่อง โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ
เนื้อหา ซ่อน

1.โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ คือ

โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ เป็นสถานที่ฝึกศึกษา และอบรมให้แก่นายทหารสัญญาบัตรของ กองทัพอากาศ โดยจะมีการเปิดรับสมัคเข้าโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ ในทุกๆปี เพื่ออบรมทั้งในทางด้านยุทธวิธีเสนาธิการกิจ และการบริหารอันจำเป็นสำหรับผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอำนวยการในระดับกองบิน โดยจะมีผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบ

2.ประวัติ โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ

ประวัติ โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2472 โดยตอนนั้นทางกองทัพอากาศยังมีฐานะเป็นเพียงกรมอากาศยานได้พิจารณาเห็นความจำเป็นว่าควรจะเปิดโรงเรียนสำหรับการศึกษาชั้นสูงของนายทหารนักบิน โดยมีนายทหารที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนการบินชั้นสูง (Air Tactical School) ของอเมริกัน 3 ท่าน กับนายทหารผู้ใหญ่อีกเป็นจำนวนหนึ่งดำเนินการด้วยเหตุนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 กองทัพอากาศจึงได้จัดตั้ง “โรงเรียนการบินชั้นสูง” ขึ้น โดยนายทหารที่เข้ารับการศึกษาจะถูกเรียกว่า “นายทหารฝึกหัดราชการ” จำนวน 10 คนขึ้น แต่ทางโรงเรียนการบินชั้นสูงนี้เปิดให้การศึกษาได้เพียง 1 ปี ก็ต้องยุติการดำเนินการลง เนื่องจากประสบกับปัญหาทางการเมือง และเศรษฐกิจในช่วงนั้นเอง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2479 พลอากาศโท หลวงเทวฤทธิ์ พันลึก ผู้บัญชาการทหารอากาศในขณะนั้น ได้มีการคัดเลือกนายทหารเพื่อส่งไปศึกษา ณ โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศต่างประเทศ โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกนั้นมีราชชื่อว่า นาวาอากาศโท ทวี จุลละทรัพย์, นาวาอากาศโท หะริน หงสกุล, นาวาอากาศตรี สวัสดิ์ โพธิ์วิหค, และนาวาอากาศตรี ละเอิบ ปิ่นสุวรรณ์ พร้อมกันนั้นก็ได้จัดส่งนายทหารไปเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการทหารบกเพื่อให้บุคลากรเหล่านี้กลับมาเป็นกำลังหลักในการก่อตั้งโรงเรียนเสนาธิการอากาศต่อไป

ระหว่างที่กองทัพอากาศยังไม่สามารถก่อตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ ได้นั้น ยังได้ให้การศึกษาแก่นายทหารของโรงเรียนการบินชั้นสูงต่อไป และในปี พ.ศ. 2481 กองทัพอากาศได้ปรับปรุงหลักสูตรของโรงเรียนการบินชั้นสูงเดิมให้เหมาะสมกับกาลสมัย แถมยังทำการเปิดการศึกษาขึ้นอีก เรียกว่า “โรงเรียนเพิ่มวิชานายทหารอากาศ” มีนายทหารเข้ารับการศึกษาจำนวน 15 คน แต่ก็ต้องประสบปัญหาทำให้ไม่อาจเปิดการสอนในปีที่ 2 ได้ เนื่องจากกองทัพอากาศก็ต้องปฏิบัติราชการสนามหลายครั้ง ไม่มีนายทหารพอที่จะมาดำเนินการในโรงเรียนการบินชั้นสูงอีกต่อไป

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2490 กองทัพอากาศได้เปิดหลักสูตร “โรงเรียนนายทหารนักบิน” ขึ้นมีระยะเวลาการศึกษา 1 ปี หลังจากที่โรงเรียนนายทหารนักบินเปิดดำเนินได้ 1 ปี กองทัพอากาศได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามีนายทหารที่สำเร็จการศึกษามาจากโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศฯ ต่างประเทศ และนายทหารที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเพียงพอที่จะตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศได้ จึงเป็นเหตุให้เริ่มก่อตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศขึ้น

โดยทางกองทัพอากาศได้ก่อตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศขึ้น ณ ที่ตั้งดอนเมือง เมื่อ วันพฤหัสบดี ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2492 มีพลอากาศโท หลวงเทวฤทธิ์พันลึก ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารอากาศในขณะนั้นเป็นผู้ทำพิธีเปิด มีอาคารของกรมยุทธศึกษาทหารอากาศที่ใช้เป็นอาคารเรียน

3.คุณสมบัติของนายทหาร – นายตำรวจ ที่ต้องการเข้ารับการศึกษาโรงเรียนเสนาธิการ

คุณสมบัติของนายทหาร – นายตำรวจ ที่ต้องการเข้ารับการศึกษาโรงเรียนเสนาธิการ จะมีดังต่อไปนี้

  • สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าขึ้นไป และสำเร็จหลักสูตรประจำจาก โรงเรียนเสนาธิการทหารบก โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศหรือ โรงเรียนเสนาธิการทหารต่างประเทศ ที่มีหลักสูตรเทียบเท่า
  • มียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก หรือเทียบเท่า
  • อายุไม่เกิน 53 ปี ( นับตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร หรือนับถึงปีที่เปิดการศึกษา )
  • เป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ทนต่อการตรากตรำในการศึกษา และผ่านการตรวจร่างกาย โดยมีใบรับรองแพทย์ทหารว่าไม่มีโรคที่ขัดต่อการศึกษา
  • เป็นผู้ที่ทางราชการไว้วางใจให้เข้าถึงชั้นความลับของทางราชการขั้น “ลับที่สุด”
  • มีความรู้ภาษาอังกฤษดี สามารถค้นคว้าหลักฐานจากเอกสาร หรือตำราภาษาอังกฤษได้
  • ไม่ติดการปฏิบัติราชการอื่น ในขณะเข้ารับการศึกษา

4.คุณสมบัติของข้าราชการพลเรือนที่ต้องการเข้ารับการศึกษาโรงเรียนเสนาธิการ

คุณสมบัติของข้าราชการพลเรือนที่ต้องการเข้ารับการศึกษาโรงเรียนเสนาธิการ จะมีดังต่อไปนี้

  • สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถาบันอุดมศึกษาที่ทบวงมหาวิทยาลัยรับรอง หรือเทียบคุณวุฒิให้
  • เป็นข้าราชการพลเรือนระดับ 7
  • อายุไม่เกิน 48 ปี โดยนับถึงปีเข้ารับการศึกษา
  • มีร่างกายแข็งแรง สามารถตรากตรำในการศึกษาและปฏิบัติงานในการศึกษาได้ ผ่านการตรวจร่างกาย และมีใบรับรองแพทย์ว่าไม่มีโรคขัดต่อการศึกษา
  • ได้รับความไว้วางใจให้เข้าถึงชั้นความลับชั้น “ ลับที่สุด”
  • เป็นผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษดี สามารถค้นคว้าหลักฐานจากเอกสารหรือตำราภาษาอังกฤษได้
  • ไม่ติดการปฏิบัติราชการในขณะรับการศึกษา

5.ภารกิจ โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ

โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ จะมีภารกิจหน้าที่ให้การศึกษาและฝึกอบรมนายทหารสัญญาบัตรของกองทัพอากาศในระดับยุทธการ งานเสนาธิการกิจ และการบริหารจัดการ โดยมีผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

6.พันธกิจ โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ

พันธกิจ โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ จะมีดังต่อไปนี้

  • ให้การศึกษาและฝึกอบรมงานเสนาธิการกิจในระดับยุทธการแก่นายทหารสัญญาบัตรของกองทัพอากาศ
  • ควบคุมและกำกับดูแลให้ผู้เข้ารับการศึกษาสำเร็จการศึกษาเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่มีทั้งคุณภาพและคุณธรรม
  • ปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของกองทัพอากาศและความเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและ ภายนอก
  • สร้างเสริมและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาและส่วนสนับสนุนให้มีศักยภาพสอดคล้องกับการดำเนินการตามหลักสูตรการศึกษา
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาและฝึกอบรมร่วมกับสถาบันการศึกษาทางทหารอื่น

7.วิสัยทัศน์ โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ

“เป็นสถาบันการศึกษาทางทหารหลักของกองทัพอากาศ ที่สร้างผู้บังคับบัญชา และฝ่ายเสนาธิการชั้นนำในภูมิภาค”

8.ปรัชญา โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ

โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ มีปรัชญา ดังต่อไปนี้

  • หลักการและวิธีการสำคัญกว่ารายละเอียด เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษารู้จักคิด มีความเข้าใจและรู้จักแก้ปัญหา
  • ยึดถือวัตถุประสงค์ของส่วนรวม โดยคำนึงถึงประโยชน์ด้านการป้องกันประเทศเป็นส่วนรวม ยิ่งกว่าที่จะรักษาผลประโยชน์เฉพาะเหล่าทัพของตน
  • มีเสรีในการแสดงความคิดเห็น

9.ปรัชญาหลักสูตรการศึกษา โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ

หลักสูตรเสนาธิการทหารอากาศ มุ่งเน้นการสร้างเสริมศักยภาพความพร้อมเป็นผู้บังคับ บัญชา และฝ่ายเสนาธิการ เพื่อปฏิบัติงานระดับยุทธการของกองทัพอากาศ ที่มีคุณภาพและคุณธรรม

10.ปณิธาน โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ

ปณิธาน โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ คือ “เรามุ่งมั่น สร้างคน สร้างปัญญา เพื่อพัฒนากองทัพ”

11.โครงสร้างหลักสูตรเสนาธิการทหาร

โครงสร้างหลักสูตรเสนาธิการทหาร จะมีจำนวนหน่วยกิตในการศึกษาตลอดหลักสูตร 35 หน่วยกิต สามารถแบ่งการศึกษาออกเป็น 6 หมวดวิชา ได้แก่

  • หมวดวิชาที่ 1 การบริหารทางการทหาร 5 หน่วยกิต
  • หมวดวิชาที่ 2 เอกสารวิจัย 3 หน่วยกิต
  • หมวดวิชาที่ 3 ยุทธศาสตร์ชาติ 3 หน่วยกิต
  • หมวดวิชาที่ 4 ยุทธศาสตร์ทหาร 6 หน่วยกิต
  • หมวดวิชาที่ 5 การปฏิบัติการร่วม/ผสม 15 หน่วยกิต
  • หมวดวิชาที่ 6 กิจกรรมการดูกิจการและศึกษาภูมิประเทศ 3 หน่วยกิต

12.เข็มนภาธิปัตย์ เครื่องหมายแสดงวิทยฐานะ

เข็มนภาธิปัตย์ คือสิ่งที่ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ จะได้รับพระราชทานโดยตัวเข็มจะแสดงถึงเครื่องหมายวิทยฐานะเรียกว่า มีชื่อเรียกว่า “เข็มนภาธิปัตย์” ทาด้วยโลหะสีทอง เป็นรูปดาว 5 แฉก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.5 เซนติเมตร มีครุฑพ่าห์ขนาดกว้าง 3 เซนติเมตร สูง 2 เซนติเมตร อยู่บนช่อชัยพฤกษ์สีทอง 2 ข้าง ข้างละ 9 ใบ ติดอยู่กึ่งกลางดาว ยอดมงกุฎของครุฑอยู่ทางแฉกยอดของดาว ด้านหลังของเข็มให้สลักยศ ชื่อ และชื่อสกุลของผู้มีสิทธิประดับไว้ด้วย

13.การแต่งกายในการเข้าเรียน

  • ขณะที่รับการศึกษา ณ วิทยาลัยให้แต่งเครื่องแบบชุดปฏิบัติราชการตามปกติ ยกเว้นจะมีคำสั่ง เป็นอย่างอื่น และขณะอยู่นอกชายคาให้สวมหมวกทุกครั้ง
  • การไปดูกิจการและศึกษาภูมิประเทศให้แต่งกายตามที่กำหนดไว้ในคำสั่ง
  • การฝึกร่วมกับ รร.สธ.เหล่าทัพ ให้แต่งกายตามที่กำหนดไว้ในคำสั่ง

14.การฝึกทางทหารใน โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ

นักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ จะได้รับการฝึกศึกษาบรมตาม บฝ. การฝึกฯ ดังนี้

  • บฝ. “คชสีห์” การวางแผนทางทหาร (การวางแผนประณีต และการวางแผนเผชิญสถานการณ์วิกฤต)
  • บฝ. การฝึกจำลองยุทธทางอากาศ
  • บฝ. การฝึกร่วม วสท. และ โรงเรียนเสนาธิการเหล่าทัพ

15.ความมุ่งหมายของหลักสูตร

ความมุ่งหมายของหลักสูตร สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

  • เพื่อพัฒนาคุณลักษณะของนักศึกษา ให้เข้าใจสภาพสังคมไทย
  • เพื่อให้มีความเข้าใจในเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์ทหาร
  • เพื่อให้มีความรู้ความสามารถปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายเสนาธิการร่วม และผู้บังคับบัญชาในหน่วยระดับสูง ของกองทัพ โดยสามารถวางแผนยุทธศาสตร์ แผนการทัพ แผนการยุทธร่วมและการยุทธผสม รวมทั้งการจัดหน่วยบัญชาการรวม/ผสม และการจัดกองกำลังเฉพาะกิจร่วม
  • เพื่อผลิตเอกสารวิจัยที่มีคุณค่าได้มาตรฐาน ในเรื่องเกี่ยวกับกิจการทางทหาร สังคม เทคโนโลยี ให้กองทัพไทยอย่างต่อเนื่อง สำหรับใช้ประกอบการพิจารณาในการพัฒนากองทัพ และสามารถใช้เป็นข้อมูลทางวิชาการสำหรับพัฒนาในขั้นต่อไป
  • เพื่อส่งเสริมให้มีความร่วมมือประสานงานกันอย่างใกล้ชิด และพัฒนาความเข้าใจอันดี ระหว่างหน่วยงานระดับสูงของเหล่าทัพทั้งสามกับส่วนราชการอื่นๆ อันจะอำนวยประโยชน์ในการประสานงาน และการพัฒนาระบบการป้องกันประเทศร่วมกันให้กว้างขวางและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

16.การประเมินผลการศึกษา

การศึกษาหลักสูตรของเสนาธิการทหารนั้น ไม่ได้วัดผลการศึกษาจากการสอบภาควิชาการ แต่จะใช้การวัดผลจากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างศึกษา โดยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมและผลงานของนักศึกษา ตามระเบียบวิทยาลัย เสนาธิการทหาร ว่าด้วยการวัดผลและประเมินผลการศึกษา

17.เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

ผู้ที่จะสำเร็จการศึกษาหลักสูตรเสนาธิการทหารได้ จะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

  • มีผลการประเมินความรู้ ความสามารถ ระดับตั้งแต่พอใช้หรือสูงกว่า
  • ส่งผลงานเอกสารวิจัยและมีผลการประเมินระดับพอใช้หรือสูงกว่า
  • มีเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  • มีผลการประเมินค่าคุณลักษณะผู้นำทางทหารระดับพอใช้หรือสูงกว่า
  • หากขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งในข้อ ถือว่าไม่สำเร็จการศึกษาแต่เป็นผู้ผ่านการศึกษา ไม่มีสิทธิประดับเข็มยุทธนาธิปัตย์ เว้นแต่สภาการศึกษาวิทยาลัยเสนาธิการทหารจะเห็นเป็นอย่างอื่น

18.ระยะเวลาในการศึกษา

ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรจะใช้เวลา 11 เดือน

19.สิทธิของผู้สำเร็จการศึกษา

  • ได้รับพระราชทานประกาศนียบัตรและเข็มยุทธนาธิปัตย์
  • มีสิทธิประดับเข็มยุทธนาธิปัตย์

20.ติดต่อ โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ

โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ ตั้งอยู่เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

เว็บไซต์ https://acsc.rtaf.mi.th/